NIA เผยผลสำเร็จและ Next Step ในบทบาท ‘ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม’ | Techsauce

NIA เผยผลสำเร็จและ Next Step ในบทบาท ‘ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม’

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดกลยุทธ์ Groom - Grant - Growth - Global’ ขับเคลื่อนไทยสู่ชาตินวัตกรรม พร้อมเผยหนึ่งปีกับผลสำเร็จภายใต้บทบาท ‘ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม’ หรือ Focal Conductor’ และ กลไกใหม่ทางการเงิน เพื่อหนุนส่งออกผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดต่างประเทศ พร้อมเปิดตัวทีมบริหารผู้ร่วมผลักดันระบบนวัตกรรมประเทศไทยให้เข้มแข็ง ทั้งมิติการสนับสนุนเงินทุน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเต็มรูปแบบ

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA เดินหน้าในบทบาท 'ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)' ที่เชื่อมการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมในทุกมิติ โดยมี 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 

  • 1. สร้างและเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนา IBEs 
  • 2. สร้างนวัตกร และ IBEs ผ่าน NIA Academy 
  • 3. สร้างระบบนวัตกรรมไทยและระบบนิเวศนวัตกรรมให้เข็มแข็ง 
  • 4. ยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก 
  • 5. ปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 

โดยมุ่งเน้นใน 5 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ กลุ่มเกษตร อาหาร และสมุนไพรมูลค่าสูง กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่มซอฟต์พาวเวอร์

การดำเนินงานช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมาภายใต้แนวความคิด Groom - Grant - Growth NIA ได้พัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพทางนวัตกรรมโดยผ่าน NIA Academy ที่มีหลักสูตรร่วมกับพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมไทย-จีน เอ็กแลป ดิจิทัล จำกัด องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ฯลฯ การสร้างนวัตกรภูมิภาคและนักพัฒนาเมืองนวัตกรรม การส่งเสริมความสามารถเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการ ทั้งการพัฒนาแผนธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาค และแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง InnoMall การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นผ่านกิจกรรมสตาร์ทอัพลีค ศูนย์กลางสตาร์ทอัพระดับโลกที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสตาร์ทอัพทั้งการให้คำปรึกษา เครือข่ายนักลงทุน และสมาร์ทวีซ่า ซึ่งเมื่อต้นปี ยูนิฟาร์ส (UniFAHS) โปรตีนจากเฟจ (phage) ธรรมชาติเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรค หนึ่งในสตาร์ทอัพด้านเกษตรที่ผ่านการบ่มเพาะองค์ความรู้และได้รับเงินทุนเริ่มต้นจาก NIA สามารถขยายผลจนได้รับการร่วมลงทุนจากเอดีบี เวนเจอร์ส และอินโนสเปซ (ประเทศไทย) กว่า 53 ล้านบาท

การยกระดับกลไกการสนับสนุนทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการนวัตกรรม เช่น กลไกการขยายผลนวัตกรรมในระดับภูมิภาคสู่ตลาด กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม และกลไก Corporate CO - Funding ทั้งนี้ NIA ได้สนับสนุนโครงการนวัตกรรมรายภูมิภาคจำนวน 319 โครงการ วงเงินสนับสนุน 566.88 ล้านบาท และได้ลงทุนร่วมกับแหล่งเงินทุน (Listed investor) ภายใต้กลไก Corporate co-funding 141.43 ล้านบาท และคาดการณ์มูลค่าธุรกิจมากกว่า 1,750 ล้านบาท

รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จทางนวัตกรรมผ่าน 'โครงการนิลมังกร' ซึ่งปีนี้ต่อยอดเป็น 'นิลมังกร 10X' ที่เน้นสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมคุณภาพสูงให้เข้าสู่ตลาดทุนโดยตั้งเป้ายอดขายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทใน 3 ปี และการจัดทำโปรแกรมเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพใน 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีเกษตร เทคโนโลยีด้านสุขภาพ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังนำผู้ประกอบการนวัตกรรมที่มีศักยภาพเข้าร่วมงานนิทรรศการในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสการขยายตลาดระดับสากล เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น นอกจากนี้ NIA ยังให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมด้วยข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มบริการข้อมูลนวัตกรรม Thailand Innovation Portal ที่มีข้อมูลนวัตกรรมกว่า 90,000 รายการ และมีผู้ใช้งานกว่า 3,600 คน

“สำหรับก้าวต่อไปภายใต้บทบาท ‘ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)’ NIA จะขยายผลจากแนวคิด Groom - Grant - Growth โดยเพิ่ม Global เพื่อมุ่งต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านโครงการและความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อขยายกลุ่มผู้ประกอบการนวัตกรรมที่มีศักยภาพให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เร่งผลักดัน พ.ร.บ. สตาร์ทอัพ ส่งเสริมให้เกิดร่วมลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ จากแหล่งเงินทุนทั้งภาครัฐและเอกชน จัดทำโปรแกรมเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น การแพทย์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โปรแกรมส่งเสริมการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทยให้เข้มแข็งและพร้อมร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมไปกับ NIA โดยตั้งเป้าหมายในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นชาตินวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก”

ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ที่ผ่านมา NIA สร้างบริษัทนวัตกรรมให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และผลักดันให้โครงสร้างธุรกิจมีความแข็งแกร่ง โดยมี 'แหล่งเงินทุน' เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กลุ่มเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ วิสาหกิจเพื่อสังคม และวิสาหกิจชุมชนเข้าถึงได้ง่ายและได้รับการจัดสรรอย่างทั่วถึง โดยในปีนี้ NIA พัฒนากลไกการสนับสนุนเงินทุนรูปแบบใหม่ เพื่อเติมเต็มและตอบโจทย์การขยายผลธุรกิจนวัตกรรมให้เติบโตและไปสู่ตลาดได้อย่างยั่งยืนมากขึ้นผ่าน 7 กลไกหลัก ได้แก่ 

  • 1. กลไกการขยายผลนวัตกรรมในระดับภูมิภาคสู่ตลาดสำหรับการทดสอบตลาด การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม ให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์และฐานลูกค้าใหม่ 
  • 2. กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า สำหรับทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายมากขึ้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน 
  • 3. กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม สำหรับจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
  • 4. กลไกการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง สำหรับจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร การวิเคราะห์ทดสอบ การทวนสอบและประเมินผล เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ 
  • 5. กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม เพื่อทดสอบนวัตกรรมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สำหรับขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายพร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการดำเนินธุรกิจ 
  • 6. กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง สำหรับเพิ่มสภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม
  • 7. กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน หรือ Corporate CO - Funding สำหรับสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายทีม และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และมีกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์

คุณปริวรรต วงษ์สำราญ รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวว่า นอกจากการสนับสนุนด้านเงินทุนแล้ว NIA ยังมุ่งสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดสากล ภายใต้แนวคิด ‘Local to Global’ โดยมี 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 

  • 1. การสร้างความเข้มแข็งระบบนวัตกรรมระดับภูมิภาค โดยส่งเสริมการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมทั้งด้านองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา โรงงานต้นแบบ การเงิน การลงทุน และการตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่านความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การสร้างย่านนวัตกกรรม และเมืองนวัตกรรม 
  • 2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนด้านทรัพยากรและการเชื่อมโยงกับตลาด โดยมุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพในการเติบโต ได้แก่ กลุ่มเกษตร อาหาร และสมุนไพร กลุ่มสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม ยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่มการท่องเที่ยว และกลุ่มซอร์ฟพาวเวอร์ ตลอดจนพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และเซมิคอนดักเตอร์ 
  • 3. การส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสู่ตลาดสากล สร้างโอกาสการขยายธุรกิจ และโอกาสการระดมทุน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางนวัตกรรมและการแข่งขันของประเทศ ผ่านการเชื่อมตลาดระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง

คุณสุพิชญา หลิมตระกูล รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation เป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพการบริการผู้ประกอบการนวัตกรรมผ่านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง NIA มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์การรับบริการและการทำงานของบุคลากรที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจสมัยใหม่และวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการปรับตัวทางดิจิทัลใน 5 ด้าน ได้แก่ 

  • 1. Digital Service - เน้นสร้าง Digital Service Journey ควบคู่ Innovation Journey ผ่านโปรแกรม Groom - Grant - Growth ซึ่งจะแบ่งเป็นทั้งภายในองค์กร และผู้รับบริการภายนอก 
  • 2. Digital People - พัฒนาบุคลากรให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงจาก Digital Literacy ให้เป็น Digital Competency โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวสู่ AI Competency 
  • 3. Digital Connectivity - เชื่อมโยงการทำงานและการเข้าถึงบริการทุกที่ทุกเวลาเพื่อตอบโจทย์สังคมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ 
  • 4. Digital Compliance - ยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัยให้ทันสมัยตามแนวทางรัฐบาลดิจิทัล
  • 5. Digital Data - แพลตฟอร์มกลางข้อมูลด้านนวัตกรรมที่ยกระดับการใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อธุรกิจนวัตกรรม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สินค้าจีนบุกสิงคโปร์ ฐานที่มั่นใหม่ทดลองตลาดโลก มุ่งหาแหล่งรายได้ใหม่ เหตุเศรษฐกิจจีนซบเซา

สมรภูมิใหม่ของการค้าโลกกำลังระอุ เมื่อแบรนด์จีนเลือก สิงคโปร์ เป็นบันไดสู่ความสำเร็จ สิงคโปร์กำลังจะเป็นฐานทดลองเพื่อขยายธุรกิจจีนสู่ตลาดโลก เนื่องจากผสมผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวั...

Responsive image

เปิด 7 ข้อเสนอ สมาคมสตาร์ทอัพไทย เร่งรัฐบาลใหม่หนุน Startup Ecosystem

สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ประกาศวิสัยทัศน์และข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลชุดใหม่ หวังผลักดันให้ประเทศไทยใช้จุดแข็งด้านสุขภาพ อาหาร และการท่องเที่ยว สร้างความได้เปรียบในต...

Responsive image

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) เปิดตัวนายกฯ คนใหม่ ตั้งเป้าดันไทยศูนย์กลางผลิต-ส่งออก EV อันดับต้นใน SEA

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เปิดตัวนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และคณะกรรมการชุดใหม่นาทัพโดยนาย สุโรจน์ เเสงสนิท พร้อมประกาศเดินหน้าผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกยานยนต...