KBank เชื่อมระบบจ่ายเงินเข้ากับ Facebook Messenger เป็นธนาคารแรกในไทย | Techsauce

KBank เชื่อมระบบจ่ายเงินเข้ากับ Facebook Messenger เป็นธนาคารแรกในไทย

ธนาคารกสิกรไทย (KBank) เปิดตัวบริการ “Pay with K PLUS” ถือเป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่เปิดตัวบริการชำระเงิน (Payment) บน Facebook Messenger สร้างประสบการณ์ชำระเงินแบบไร้รอยต่อให้กับนักช้อปออนไลน์ ตั้งเป้ามูลค่าการทำธุรกรรมผ่าน Pay with K PLUS รวมกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เปิดเผยว่า บริการ “Pay with K PLUS” ตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารในการพัฒนานวัตกรรมชำระเงิน Digital Payment ทำให้การชำระเงินง่าย สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งบริการนี้ยังช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจซื้อขายออนไลน์ให้กับลูกค้ารายย่อย และเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กที่นิยมใช้ช่องทาง Social Media เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารตั้งแต่การแนะนำสินค้าไปจนถึงการชำระเงิน

โดยระบุต่อว่า ธนาคารกสิกรไทยถือเป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่เปิดตัวบริการชำระเงิน Pay with K PLUS บน Facebook Messenger สร้างประสบการณ์ชำระเงินแบบไร้รอยต่อให้กับนักช้อปออนไลน์ ผู้ซื้อจ่ายเงินได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย และไม่ต้องวุ่นวายสลับหน้าจอเพื่อเปิดแอปในการชำระเงิน

ข้อมูลที่เปิดเผยจาก KBank มีดังนี้

  • ปัจจุบัน KBank มีลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ซื้อและใช้แอป K PLUS รวมกว่า 8,400,000 ราย
  • มีจำนวนธุรกรรมการโอนเงินเพิ่มขึ้นสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม
  • มีจำนวนร้านค้าที่ใช้แอป K PLUS SHOP อยู่ที่ 1,400,000 ร้านค้า ซึ่งมีมูลค่าธุรกรรมการรับชำระเงินด้วย QR Code รวมกว่า 4,000 ล้านบาท

“ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการขยายช่องทางการขายบน Facebook จากฐานลูกค้าและนวัตกรรมการให้บริการชำระเงินล่าสุดนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริการชำระเงิน Pay with K PLUS” คุณพัชร กล่าวเสริม พร้อมตั้งเป้าหมายมีมูลค่าธุรกรรมผ่านบริการ Pay with K PLUS รวมกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี

ส่วนคุณณัฐภาศ์ พฤฒิสราญพงศ์ Product Marketing Manager, APAC Business Platform and Messaging ของ Facebook กล่าวว่า ​“SME ในประเทศไทยจำนวนมากที่ทำธุรกิจในรูปแบบ Conversational Commerce เน้นการพูดคุยและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่าน Facebook และ Messenger”

ประเทศไทยเองเป็นประเทศที่มีคนส่งข้อความถึงธุรกิจต่างๆ ผ่านทาง Messenger เยอะที่สุดในเอเชียแปซิฟิค และเป็น 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของโลก

“Facebook จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจ SME ประสบความสำเร็จในการขายออนไลน์ สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตและเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น และในวันนี้ ฟีเจอร์การโอนเงินผ่านธนาคารกับธนาคารกสิกรไทย ก็จะช่วยให้ธุรกิจ SME ปิดการขายได้เร็วขึ้น และให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นผ่าน Facebook” คุณณัฐภาศ์ กล่าว

ในช่วงการเปิดตัวบริการชำระเงิน Pay with K PLUS ได้มีการจัดโปรโมชันสำหรับลูกค้าที่ชำระเงินผ่าน Pay with K PLUS เป็นครั้งแรก และมีมูลค่าครบ 300 บาทต่อรายการ รับเงินคืน 100 บาท ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 กันยายน 2561 สำหรับร้านค้าที่ผูกบัญชีธนาคารกสิกรไทยเพื่อรับชำระเงินผ่านบริการ Pay with K PLUS สามารถรับโบนัสสูงสุด 5,000 บาท เมื่อมีจำนวนรายการรับชำระสำเร็จตามที่กำหนด ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2561

จากรายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ระบุว่า Social Commerce (ตลาดที่พ่อค้า-แม่ค้าคุยกับลูกค้าผ่านการแชท) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 137,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทย ได้นำเสนอสินเชื่อ SME ให้กับลูกค้าผ่านแอป K PLUS เมื่อลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนบนเมนู Life PLUS ลูกค้าสามารถกดเข้าไปเลือกวงเงินที่ต้องการกู้ ระบบจะแสดงวงเงินกู้สูงสุดที่ลูกค้าสามารถกู้ได้ เมื่อผ่านการพิจารณาและลูกค้ากดรับสินเชื่อ เงินกู้จะเข้าบัญชีทันทีได้อีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้าได้ หมดกังวลเรื่องหลงลืม

หมดกังวลเรื่องหลงลืม! OpenAI เปิดตัว “Tasks” ฟีเจอร์เตือนความจำ-สั่งงานล่วงหน้า บน ChatGPT...

Responsive image

BOI ปรับเกณฑ์ LTR Visa ใหม่ หวังดึง Talent ต่างชาติ-นักลงทุนเข้าไทย

ล่าสุด ครม. อนุมัติบีโอไอ (BOI) ปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษ LTR Visa (Long-Term Resident Visa) หวังดึงบุคคลากรชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่ไทย หวังผลักดันไทยเป็น...

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...