นักวิทยาศาสตร์พัฒนา Artificial skin ผิวหนังเทียม ที่ทำให้หุ่นยนต์รู้สึกได้และเจ็บปวดเป็น | Techsauce

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา Artificial skin ผิวหนังเทียม ที่ทำให้หุ่นยนต์รู้สึกได้และเจ็บปวดเป็น

ลองนึกถึงเมื่อมือของเราสัมผัสกับความร้อนที่มาจากแก้วน้ำ เราจะสามารถรับรู้ได้ว่าน้ำที่อยู่ในแก้วจะต้องร้อนมาก ๆ และจะไม่เอานิ้วลงไปจุ่มหรือยกขึ้นมาดื่มโดยแน่นอน ซึ่งนี่คือว่าสามารถเฉพาะของมนุษย์ในใช้ความรู้สึกรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าหากว่าหุ่นยนต์ก็มีความสามารถนี้ได้จาก Artificial skin 

ความรู้สึกเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ในใช้ความรู้สึกรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าหากว่าหุ่นยนต์ก็มีความสามารถนี้ได้จาก Artificial skin

กว่าหลายศตวรรษที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะทำให้หุ่นยนต์นั้นมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก การพูด หรือการเคลื่อนไหว แต่สิ่งที่เป็นเครื่องแบ่งแยกหุ่นยนต์ออกจากมนุษย์นั่นคือ ความรู้สึก และมันก็ปัญหาใหญ่ในวิทยาการหุ่นยนต์เช่นกัน

Electric Skin ได้ความนิยมอย่างมากในการพัฒนาหุ่นยนต์หลาย ๆ รุ่นให้สามารถรับรู้และตอบสนองกับสิ่งที่มันสัมผัสได้ ด้วยการกระจายข้อมูลของ sensor สัมผัสบนพื้นผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนจะส่งข้อมูลจาก sensor ไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลและตีความเป็นผลลัพธ์ต่อไป ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่เทคโนโลยีดังกล่าวถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ด้วยสิ่งที่เรียกว่าผิวหนังเทียม หรือ Artificial skin 

ผิวหนังเทียมนั้นมีหลักการการทำงานด้วยระบบที่ได้พัฒนามาจาก Synaptic Transistors ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเลียนแบบส่วนปลายประสาทของสมอง ผ่านการทำงานของ Transistor ที่เชื่อมต่อกับ sensor ใต้ผิวหนังเทียม หรือ  Artificial Synapse ที่สามารถที่จะสอนให้ผิวหนังรู้ถึงวิธีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดและสิ่งที่สัมผัสได้ได้โดยไม่ต้องผ่านการประมวลใด ๆ จากคอมพิวเตอร์

ซึ่งการทำงานของ Artificial skin จะถูกดัดแปลงไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดก็ได้ขึ้นอยู่กับชุกคำสั่งที่ถูกป้อนเข้าสู่แผงวงจร เช่น กรณีของ Artificial skin จากทีมวิศวกรของ University of Glasgow นำโดยศาสตราจารย์ Ravinder Dahiya ที่ได้พัฒนาผิวหนังเทียมเพื่อเป็นตัวช่วยให้หุ่นยนต์สามารถรับรู้และตอบสนองต่อกิจกรรมในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ได้

ขณะที่ Artificial skin จาก California Institute of Technology นั้นมีเป้าหมายจะทำให้หุ่นยนต์สามารถรับรู้อุณหภูมิ ความดัน หรือแม้แต่สารเคมีที่เป็นพิษผ่านการสัมผัสด้วยระบบ Machine Learning ที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ผู้ใช้งานและหุ่นยนต์ และส่งสัญญาณเตือนกลับมาเป็นคลื่นสั่น

Wei Gao ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมการแพทย์ของ Caltech กล่าวว่า หุ่นยนต์สมัยใหม่นั้นมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านความมั่นคง เกษตรกรรม และการผลิต จะดีแค่ไหนกันหากว่าเราสามารถให้หุ่นยนต์เหล่านี้สัมผัสได้ถึงอุณหภูมิ สารเคมี เช่น วัตถุระเบิด สารทำลายประสาท หรืออันตรายทางชีวภาพ เป็นต้น

ถึงแม้ว้า Artificial skin จะน่าเป็นเทคโนโลยีสนใจสำหรับวงการหุ่นยนต์ แต่มันก็ยังคงอยู่ในขั้นที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตนั้น “หุ่นยนต์” จะสามารถเทียบเคียงกับมนุษย์ได้สมบูรณ์หรือไม่ อย่างไร?


อ้างอิง 

Techcrunch  

Ravinder Dahiya Science Robotics June 2022  

EEJournal  

CalTech


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...