SCGP ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล | Techsauce

SCGP ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล

เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการต่อจิ๊กซอว์เพียงตัวเดียว หากแต่เกิดจากจิ๊กซอว์นับสิบนับร้อย บางเรื่องที่ต้องอดทนและใช้เวลา อาจต้องต่อจิ๊กซอว์นับพันนับหมื่นชิ้น เพื่อประกอบภาพร่างให้สมบูรณ์แบบ

วันนี้ ผู้ดูแลงานพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร "คุณสุรศักดิ์ อัมมวรรธน์" Technology and Digital Platform Director ของบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้เล่าถึงการดำเนินงานของ SCGP ที่มุ่งเน้นด้านรีไซเคิล เพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในงาน ASEAN Paper เมื่อเร็ว ๆ นี้

น่าสนใจว่าเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลนอกจากจะช่วยสร้างการแข่งขันทางธุรกิจได้ ยังเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่หนุนหลังให้พันธกิจองค์กรในด้าน ESG กับ Net Zero ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลกับการดำเนินธุรกิจ

SCGP มีการดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีการพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในด้านต่าง ๆ

ทั้งในด้านการผลิตที่มุ่งเน้น Operational Excellence ทำให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบออโตเมชันต่าง ๆ มาใช้เพิ่มผลผลิต SCGP ได้นำเดต้าต่าง ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรเพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์ อาทิ ระบบการติดต่อ การสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการสั่งซื้อได้ด้วยตัวเอง หลังจากมีการนำเดต้ามาใช้ในองค์กรทั่วถึง พนักงานขายสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสนใจ และตอบข้อมูลให้ลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลบนออนไลน์แบบทั่วถึง ทำให้ระบบการทำงานภายในองค์กรไหลลื่น ทำให้สามารถบริหารจัดการวัตถุดิบ ข้อมูลคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยทำให้ต้นทุนการผลิต ทำให้เกิดการบริหารจัดการต้นทุนอย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์กับทั้งซัพพลายเชน

“หลักการคือเราต้องการให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็น single source of truth แปลว่าทุกคนในซัพพลายเชน เห็นตัวเลขบนข้อมูลเดียวกัน ทำให้ไม่เกิดความซับซ้อน ไม่เป็นช่องว่างในการบริหารจัดการทั้งกระบวนการ ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่งเป็นแค่จุดเริ่มต้น เมื่อเราได้มีการนำมาใช้แล้ว สามารถต่อยอดเป็นประโยชน์อย่างอื่นได้อีก”

เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน

จากแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจของ SCGP ตามกรอบแนวคิด ESG ซึ่งมีแผนงานชัดเจนที่จะเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2025 ที่จะไปสู่เป้าหมายใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและย่อยสลายได้ 100% และในปี 2050 ประกาศเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ SCGP ได้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมายความยั่งยืน

“การเพิ่มอัตราบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล”

SCGP เดินหน้าสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็นการเพิ่มพันธมิตรรีไซเคิล จาก 8 รายเป็น 22 ราย การเพิ่มเครือข่ายระบบการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือ recycling station เพื่อนำบรรจุภัณฑ์เหลือใช้กลับคืนมาที่โรงงาน ซึ่งมีการเพิ่มจากจำนวน 90 แห่งในปี 2563 เพิ่มเป็น 133 แห่งในปี 2566

SCGP ได้ลงทุนทำให้กระดาษรีไซเคิลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Operational Excellence) มีการติดตั้งจุดตรวจวัดประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยคุณภาพของกระดาษที่ได้กลับมานั้น เพิ่มจากเดิมในอัตรา 80% เป็น 88-92% เทียบกับการประหยัดทรัพยากรได้ 20,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ SCGP ได้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรม “เส้นใยนาโนเซลลูโลส” จากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อน้ำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้มีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“ต่อยอด Waste ให้เป็นเม็ดพลาสติก”

เมื่อนึกถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มักจะมีเศษวัสดุอื่น ๆ ปนมาด้วย เช่น เทปกาว หรือฟิล์ม ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ และจะถูกเผาเพื่อเป็นพลังงาน SCGP จึงพัฒนาคิดต่อยอดจาก waste เหล่านี้ ซึ่งเราเรียกว่า waste of waste ให้มีมูลค่ามากขึ้น ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีนำ waste เหล่านี้มาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก และได้ขยายโรงงาน waste of waste แล้วถึง 3 โรงงาน ในประเทศไทย 1 แห่ง และโรงงานในอินโดนีเซียอีก 2 แห่ง

“พอเป็นเม็ดพลาสติก เราสามารถนำไปผสมกับเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคใช้ทั่วไปได้ เช่นกระบะพลาสติกใช้ในการขนส่งสินค้า ถังต่าง ๆ เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่ได้ให้ผลตอบแทนการลงทุน แต่ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ waste อย่างคุ้มค่าจริง ๆ ”

การพัฒนาทั้งหมดนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ เพิ่มการรีไซเคิลทรัพยากรเดิมให้มีประสิทธิภาพ ล้วนช่วยเสริมสร้าง Infinite Recycling ให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย Upcycling ซึ่งตอบโจทย์การดำเนินงานบนฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นาทีประวัติศาสต์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ไทยร่วมลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA)...

Responsive image

สรุปภาพรวมงาน WEF 2025 ปีนี้มีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง ?

อ่านสรุปประเด็นสำคัญจากงานประชุม World Economic Forum 2025 (Davos) รวมถึงการหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงระดับโลก อนาคตของงาน ปัญญาประดิษฐ์ การลดคาร์บอน และบทบาทของประเทศไทยบนเวทีโลก...

Responsive image

ทรัมป์สั่งพักงานเจ้าหน้าที่ DEI ในรัฐบาลสหรัฐ เดินหน้ายุบหน่วยงานถาวร

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI) หยุดปฏิบัติงานชั่วคราวโดยยังได้รับเงิน...