WEF, BOT และ SEA จับมือเผยผลสำรวจ Entrepreneurship กับคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Techsauce

WEF, BOT และ SEA จับมือเผยผลสำรวจ Entrepreneurship กับคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • World Economic Forum, ธนาคารแห่งประเทศไทย และ SEA จับมือเผยผลสำรวจผู้ประกอบการและคนรุ่นใหม่ใน Southeast Asia ต่อยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม 4.0
  • การสำรวจทำบน Platform ของ SEA ซึ่งเข้าถึงคนรุ่นใหม่ทั้งผ่าน Gaming Platform, E-Commerce Platform และ Payment Platform
  • ผลสำรวจเผยคนไทยและคนสิงคโปร์มองว่าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานลดลงมากที่สุดในภูมิภาค
  • คนไทยให้ความสนใจกับการเป็นเจ้าของกิจการมากที่สุดในภูมิภาค

SEA บริษัทไอทีผู้ให้บริการ Platform ด้าน E-Commerce, Gaming และ Payment ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือกับ World Economic Forum และธนาคารแห่งประเทศไทย เผยรายงานผลสำรวจความเป็นผู้ประกอบการของรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน 6 ประเทศ จำนวน 42,000 คน ซึ่ง Techsauce ได้สรุปเนื้อหารายงานให้ทุกท่านได้รับทราบกัน

คุณจัสติน วู้ด หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก และสมาชิกสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) และคุณสันติธาร เสถียรไทย, Group Chief Economist, SEA

เริ่มที่มุมมองต่ออาชีพผู้ประกอบการของคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนความพึงพอใจต่ออาชีพผู้ประกอบการในระดับสูง อีกทั้งหลายคนที่ประกอบอาชีพอื่น ยังสนใจอยากเป็นผู้ประกอบการในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งเมื่อเจาะดูที่ระดับการศึกษา พบว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้ความสนใจกับการเป็นเจ้าของธุรกิจมากที่สุดถึง 42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีให้ความสนใจเป็นเจ้าของกิจการใกล้เคียงกับการทำให้กับหน่วยงานรัฐ

แม้มุมมองต่ออาชีพผู้ประกอบการในไทยจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพราะผู้ที่อยากหันมาทำกิจการของตัวเองมากที่สุดคือ กลุ่มคนที่ทำงานกับ Startup และ SME ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของธุรกิจขนาดเล็ก

ในส่วนของความคิดเห็นต่อ Work-Life Balance และ Impact ในการทำงานนั้น แม้ว่าคนไทยจะอยากเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด แต่คนไทยยังคงต้องการรายได้ที่มั่นคงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยมองหาจากการทำงาน ส่วน Impact จากการทำงานนั้น คนไทยให้ความสนใจต่อการทำงานเพื่อสังคมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่กระนั้นก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคนไทยไม่ให้ความสนใจต่อสังคม ดังจะเห็นได้จากท่าทีของคนไทยเมื่อเกิดเหตุที่ต้องการน้ำใจ เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่หรือทีมฟุตบอลหมูป่าติดถ้ำ

ข้ามมาที่มุมมองต่อเทคโนโลยี คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยโดยรวมมีมุมมองค่อนข้างหวั่นวิตก แต่หากแยกด้วยระดับการศึกษาแล้ว จะพบว่ากลุ่ม Undergraduate มีมุมมองที่ดีต่อเทคโนโลยี ส่วนกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมองเทคโนดลยีในทางหวั่นวิตก

ด้านการศึกษาออนไลน์ ประเทศไทยมีการใช้งานด้านนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งกลุ่มที่มองว่าตัวเองได้ประโยชน์ที่สุดคือกลุ่ม Undergraduate ส่วนกลุ่มระดับปริญญาตรีขึ้นไปมองว่ามีประโยชน์ไม่ต่างจากการศึกษาช่องทางอื่นๆ

โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะมีมุมมองอย่างไร เทคโนโลยีก็ยังเข้ามาประชิดตัวคนทำงานในทุกระดับ ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ต้องการ ส่วนพนักงานประจำไม่ว่าจะสนใจเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ จำเป็นต้อง Reskill เพื่อเปิดรับเทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในอนาคต

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner คาดการณ์ความท้าทายองค์กรยุค AI พนักงานอาจเจอปัญหาเสพติดดิจิทัล โครงสร้างองค์กรอาจเปลี่ยนไป

Gartner บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เผยการคาดการณ์กลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2025 โดยชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงา...

Responsive image

จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android หมายความว่าอย่างไร ?

รู้หรือไม่? จุดสีส้มบน iPhone และจุดสีเขียวบน Android บ่งบอกว่ากล้องหรือไมโครโฟนกำลังทำงาน ควบคุมความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่ต้องรู้!...

Responsive image

สรุปอนาคตงานปี 2025-2030 จาก World Economic Forum งานไหนมาแรง ทักษะใดสำคัญ

World Economic Forum ออกรายงานประจำปีในหัวข้อ Future of Jobs Report 2025 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคตโดยอ้างอิงข้อมูลจากนายจ้างกว่า 1,000 รายทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวแทนของพ...