ก.ล.ต. เตรียมปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของบริษัทที่ขอเสนอขายหุ้น IPO ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น | Techsauce

ก.ล.ต. เตรียมปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของบริษัทที่ขอเสนอขายหุ้น IPO ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน (IPO) เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทให้ชัดเจนเรื่องการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้หลักเกณฑ์เป็นไปตามเจตนารมณ์ และบริษัทสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ก.ล.ต. เตรียมปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของบริษัทที่ขอเสนอขายหุ้น IPO ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้น IPO กำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะได้รับอนุญาตว่า ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ค่อนข้างกว้างและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ที่ไม่ต้องการจะรวมถึงกรณีการกระทำผิดกฎหมายที่ไม่มีนัยสำคัญ หรือไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจหลักของบริษัท ทำให้บริษัทต้องดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตและอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการระดมทุนและเสียโอกาสทางธุรกิจ

ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดจะปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทในเรื่องการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้มีความชัดเจน และให้สอดคล้องกับเกณฑ์การเสนอขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีมติเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564

โดยสรุป ดังนี้

(1) ปรับปรุงถ้อยคำเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO ในเรื่องการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ชัดเจน โดยไม่รวมถึงความผิดในเรื่องที่ไม่มีนัยสำคัญ หรือความผิดที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจหลักของบริษัท ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจของบริษัทผู้ขออนุญาตต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง เช่น การค้ามนุษย์ การผลิตหรือจำหน่ายยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เป็นต้น และต้องไม่มีการดำเนินงานที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจเป็นเหตุให้ธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงและมีนัยสำคัญ

(2) ให้อำนาจ ก.ล.ต. ในการกำหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณากรณีที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง หรือมีผลกระทบอย่างร้ายแรงและมีนัยสำคัญได้

นอกจากนี้ การปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะมีขอบเขตการบังคับใช้กับทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายแบบ primary listing* ซึ่งหมายถึง การเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศที่ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และ secondary listing** ซึ่งหมายถึง การเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ 

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=812  ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail : [email protected] จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2565

อ้างอิง ก.ล.ต.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...