รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมพัฒนาทักษะ Design Thinking เป็นสิ่งที่เด็กสิงคโปร์ต้องมี | Techsauce

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมพัฒนาทักษะ Design Thinking เป็นสิ่งที่เด็กสิงคโปร์ต้องมี

"Design Thinking" กระบวนการคิดที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยเน้นการทำความเข้าใจในปัญหา เอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ผนวกเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองของหลายๆ คนมาช่วยกันแก้ไข ค้นหาโซลูชั่น นำไปทดสอบ เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งส่วนงานที่ดูแลด้าน Product & Service, Operation และ Business Model เป็นต้น เรื่องราวเหล่านี้เรามารู้จักกันก็ตอนออกมาทำงานแล้วใช่ไหม? แต่จะดีกว่าไหม ถ้าปลูกฝังเข้าไปตั้งแต่วัยเด็กเลยทีเดียว และนี่คือสิ่งที่สิงคโปร์ กำลังมุ่งไป

Thinkroom บริษัทในสิงคโปร์นำเอา Design Thinking มาช่วยฝึกสอนเด็กๆ ในการหัดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ให้คิดแบบ Designer ตั้งแต่ช่วงไอเดีย Stage จับให้เด็กๆ มาทำงานร่วมกันค้นหาโชลูชั่นใหม่ๆ ให้ออกไปสัมภาษณ์ผู้คนเพื่อเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีเทคนิคสอนการตั้งคำถามเพื่อค้นหา Insights ที่ต้องการ ซึ่งถอดแบบจากกระบวนการที่สอนใน Standford University หลังจากนั้นนำ Littlebits มาพัฒนาเป็น Prototypes ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ Lego ผลิตเป็นสิ่งของขึ้นมาโดยไม่ต้องมีความรู้เรื่องการ Coding หรือการพัฒนา Hardware ทั้งหมดนี้เป็นหลักสูตรสำหรับเด็กอายุ 10-14 ปี!

และไม่ใช่เพียงแค่ Thinkroom เท่านั้นย้งมีอีกหลายสถาบันที่นำแนวคิดด้าน Design มาปลูกฝังแต่เด็ก อาทิ Many Minds และ Happiness Makers 

ตัวแทนจาก The National Design Centre ของสิงคโปร์ Angnes Kwek กล่าวว่า

การแก้ปัญหานั้นประกอบด้วย ความสามารถในการเข้าใจผู้ใช้ นวัตกรรมและการมีส่วนร่วม ต่อไป Design Thinking จะไม่ใช่แค่กิจกรรมเสริม แต่จะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตไปเสียแล้ว

ในขณะที่ Sindu Sreebhavan ผู้ก่อตั้ง Many Minds กล่าวว่า

ในอดีตยุคที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยอุตสหกรรม คนที่ทำงานรูทีนในโรงงานเป็นที่ต้องการมาก แต่ยุคนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว หลายงานถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ ตำแหน่งงานจริงๆ เริ่มถูกจำกัด เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญกันอยู่ เราต้องการคนที่คิดนอกกรอบ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม และสามารถลงมือทำพร้อมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้

Ryan Han เจ้าของ Happiness Makers กล่าวว่า

การเรียนรู้รูปแบบเดิมในโรงเรียนฝึกให้เค้ามีคำตอบที่ถูกเพียงหนึ่งคำตอบ แต่สำหรับ Design Thinking จะช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วยังมีหลายวิธีที่จะใช้แก้ปัญหา

ภาพจาก ThinkRoom

Charu Mehrotra Director ของบริษัท Startup แห่งหนึ่งส่งลูกของเธอไปเข้าแคมป์ที่ Science Centre Singapore ซึ่งเด็กได้โจทย์มาให้หาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางน้ำ และพวกเขาก็สร้างหุ่นยนต์ Prototype ที่ใช้เก็บขยะนั่นเอง ปัจจุบันลูกของเธอด้วยวัยเพียงแค่ 12 ปี มีทักษะรู้จักและกล้าคิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น เขาสร้างเว็บไซต์เพื่อเปิดให้คนเข้ามาแชร์ไอเดียสำหรับโครงการต่างๆ ซึ่งเธอเองทีแรกก็ไม่รู้ว่า Design Thinking คืออะไร เธอคิดว่าแค่ต้องการส่งลูกไปเข้าแคมป์เรียนรู้โครงการวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ แล้วแคมป์นี้ได้สอนให้ลูกของเธอคิดและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั่นเอง

ต้องบอกว่ารัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับกระบวนการด้าน Design Thinking เป็นอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งของแผนใหญ่ด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศในปี 2025 มุ่งขับเคลื่อนสู่ประเทศนวัตกรรมโดยนำการออกแบบ (Design) มาประยุกต์ใช้ มีการระบุว่าจะพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีทักษะการแก้ปัญหาด้วย Design Thinking เน้นการเรียนรู้ผ่านทางการเล่นที่ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมและสภาพแวดล้อมดังกล่าว และนี่ไม่ใช่ประเทศแรกที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้ โดยก่อนหน้านี้ที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวียอย่าง ฟินแลนด์และสวีเดน ที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ได้มุ่งไปในทิศทางนี้เช่นกัน

อ้างอิงจาก Straitstimes

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

เชื่อว่าอีกไม่นานบ้านเราน่าจะมีคนเอาเข้ามาสอนในระดับประถม แต่เป็นเชิงการเรียนพิเศษเสียมากกว่า อาจเกิดจากโมเดลแฟรนไชส์ หรือมีบุคลากรที่ไปเรียนรู้หลักสูตรนี้มา แล้วปรับให้เข้ากับบ้านเรา แต่ถ้าใช้จ่ายก็คงไม่ใช่ถูกๆ และคงต้องดูเรื่องของคุณภาพด้วย แต่ถ้าให้เข้าไปฝังในหลักสูตรของโรงเรียนกันแล้วหล่ะก็ อันนี้ก็อยากฝากไปถึงผู้ใหญ่ด้านการศึกษา ถ้าอยากให้เด็กไทยรู้จักกล้าคิดนอกกรอบ คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง คือ แก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การเรียนแบบท่องจำตายตัวในตำรา รู้แต่ทฤษฎี...ก็อยากฝากพิจารณาถึงการปรับหลักสูตรที่มีอยู่

อ่านเพิ่มเติม

Design Thinking กับ 5 วิธีทำให้องค์กรออกสินค้าที่เด็ดและโดนใจผู้ใช้ในตลาด มาฟังแนวคิดที่ผู้บริหาร IBM, GE, IDEO ใช้ผลักดันให้เกิด ‘กระบวนการคิดเชิงออกแบบ’ ในองค์กรกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...