หน้าจอโทรศัพท์ซ่อมตัวเองได้ CCS Insight คาดวางขายได้ ปี 2028 | Techsauce

หน้าจอโทรศัพท์ซ่อมตัวเองได้ CCS Insight คาดวางขายได้ ปี 2028

เตรียมบอกลาฟิล์มกันรอยได้เลย นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สมาร์ตโฟนจะมีหน้าจอที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อเกิดรอยขีดข่วน !

หน้าจอแห่งโลกอนาคต ‘ซ่อมตัวเองได้’

รายงานการคาดการณ์เทคโนโลยีมาใหม่ในอนาคตของบริษัท CCS Insight ผู้วิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำด้านเทคโนโลยี รายงานว่าบริษัทที่ผลิตสมาร์ตโฟนจะเริ่มผลิตโทรศัพท์ที่มีหน้าจอ ‘ซ่อมแซมตัวเองได้’ ออกมาขาย ซึ่งคาดว่าจะปล่อยออกสู่ตลาดภายในปี 2028 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า 

วิธีการทำงานของหน้าจอแห่งโลกอนาคต คือ การเคลือบนาโนไว้บนพื้นผิวของหน้าจอโทรศัพท์ ซึ่งหากหน้าจอเกิดรอยขีดข่วน สารเคลือบก็จะทำปฏิกิริยากับอากาศและสร้างส่วนเติมเต็มหน้าจอขึ้นมาแทน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเติมรอยขีดข่วนให้เต็มจนเรียบเสมอกันเหมือนหน้าจอใหม่

ความจริงแล้วแนวคิดนี้มีบริษัทเทคโนโลยีมากมายให้ความสนใจมาสักระยะหนึ่งแล้ว เช่น LG บริษัทด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้ ที่ในปี 2013 เคยออกโทรศัพท์รุ่น G Flex ที่โฆษณาว่าฝาหลังของโทรศัพท์สามารถซ่อมรอยขีดข่วนด้วยตัวเองได้

นอกจากนี้ทั้ง Motorola และ Apple ก็เคยพูดถึงเทคโนโลยีนี้เช่นกัน อย่างในปี 2017 Motorola ได้จดสิทธิบัตรหน้าจอที่ทำจากวัสดุพิเศษที่สามารถรักษาตัวเองได้ หรือสิทธิบัตรสำหรับ iPhone แบบพับได้ที่มาพร้อมจอแบบใหม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ หากได้รับความเสียหายของ Apple

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้มีอยู่จริง แต่ก็ยังไม่ถูกนำออกมาใช้ให้เห็นอย่างแพร่หลาย และไม่มีบริษัทที่ทำแล้วประสบความสำเร็จเลย เนื่องจากปัจจัยทางด้านเงินทุน ที่หากจะผลิตออกมาจริง ๆ จะต้องใช้เงินสูงมาก รวมถึงผู้คนยังไม่เข้าใจแนวคิดนี้ ทำให้มันโตต่อได้ยาก

ถ้าหากในอนาคตข้างหน้าเรามีหน้าจอแบบนี้ก็คงจะดีมาก ๆ แต่ขอเน้นย้ำว่า หน้าจอซ่อมแซมตัวเองได้อันนี้ สามารถใช้ได้กับแค่รอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น หากหน้าจอตกแตกละเอียดหน้าจอซ่อมตัวเองได้คงจะช่วยไม่ได้

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

วาฬหัวทุย คุยอะไรกัน? นักวิจัยใช้ AI ถอดภาษาวาฬ พบโครงสร้างเสียงซับซ้อนคล้ายภาษามนุษย์ ปรับเสียงได้ตามเรื่องที่คุย

วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม นอกจากจะมีลักษณะพิเศษในเรื่องของสมองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ วิธีการสื่อสารระหว่างกันเองโดยใช้ ‘เสียงคลิก’ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ให้ควา...

Responsive image

รู้หรือไม่? Netflix ไม่เคยทำจาน แต่เคยทำกล่อง ที่ยกเลิกการขายในนาทีสุดท้าย

Netflix เคยพัฒนา Set-top box ใน Project Griffin ซึ่งเป็นกล่องรับสัญญาณที่ Netflix สร้างขึ้นเพื่อสตรีมภาพยนตร์และรายการทีวีต่างๆ...

Responsive image

Krungsri Finnovate หนุนการสร้างบุคลากรสายเทค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค

กรุงศรี ฟินโนเวต นำกองทุน ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ เข้าลงทุนใน Doppio Tech เพื่อสนับสนุนการสร้างบุคลากรสายเทคให้เติบโต เร่งสปีดดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน...