ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา ม 40 และ ม 33 ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 13,500 ล้านบาท เพื่อเยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบ COVID-19 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรงบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
กลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ลงทะเบียนได้ ที่นี่
หากไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 40 ก่อนวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ให้สมัครภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
สัญชาติไทยหรือมีเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 หรือ 6 หรือ 7
ประกอบอาชีพอิสระ
ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39
โดยแบ่งสิทธิการคุ้มครองออกเป็น 3 ทางเลือก ได้แก่
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 ต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 3 กรณี คือ ทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และค่าทำศพ
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 ต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 4 กรณี คือ ทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ค่าทำศพ และบำเหน็จชราภาพ
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 ต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ ทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ค่าทำศพ บำเหน็จชราภาพ และสงเคราะห์บุตร
สามารถสมัครได้ 5 ช่องทาง ดังนี้
สายด่วนประกันสังคม 1506
ธนาคาร ธกส. ทุกสาขา
เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th
ห้างสรรพสินค้า Big C
ร้าน 7-Eleven ทุกสาขา
หมายเหตุ
การเป็นผุ้ประกันตนมาตรา 40 สามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง และสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ ที่เคยได้รับ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกันสังคมมาตรา 40
หากถูกเลิกจ้าง หรือต้องหยุดงานจากคำสั่งปิดหยุดกิจการ จะได้รับเงินเยียวยา 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 7,500 บาท ลงทะเบียนได้ ที่นี่
ผู้ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับเงินเยียวยาเพิ่มอีกคนละ 2,500 บาท ได้รับผ่านพร้อมเพย์หมายเลขบัตรประชาชน ตรวจสอบสิทธิ์ได้ ที่นี่
นายจ้างจะได้รับการเยียวยาตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดาจะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชน ส่วนนายจ้างสถานะนิติบุคคลจะโอนเข้าบัญชีธนาคาร ตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด