เกาหลีใต้ปฏิรูป ‘ระบบท่องจำ’ ใช้ AI Textbooks กับเด็กประถม ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ | Techsauce

เกาหลีใต้ปฏิรูป ‘ระบบท่องจำ’ ใช้ AI Textbooks กับเด็กประถม ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ

AI จะเป็นจุดเปลี่ยนหรือจุดจบระบบการศึกษา? เมื่อรัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมนำ AI Textbooks ที่ใช้งานบนแท็บเล็ตเข้ามาใช้ในห้องเรียนเด็กประถมตามแผนปฏิรูปการศึกษา หวังเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้แบบท่องจำ ท่ามกลางเสียงต่อต้านจากผู้ปกครองและนักวิชาการ

ครั้งแรกของ AI ในระบบการศึกษา

เกาหลีใต้มีแผนนำหนังสือเรียนดิจิทัลบนแท็บเล็ตที่เสริมด้วยฟีเจอร์ AI หรือ AI Textbooks เข้ามาใช้ในห้องเรียนเด็กประถมในปี 2025 ซึ่งถือเป็นแกนหลักในการปฏิรูปการศึกษาของเกาหลีใต้ให้ออกจากแนวทางเดิมซึ่งก็คือการท่องจำเพื่อไปสอบเท่านั้น 

เพราะถึงแม้เกาหลีใต้จะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติของ OECD อย่างสม่ำเสมอ แต่รัฐบาลกังวลว่าการเรียนรู้แบบท่องจำกำลังขัดขวางการสร้างนวัตกรรม ในขณะที่ประเทศกำลังพยายามลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตแบบดั้งเดิม 

“เราเห็นพ้องต้องกันว่าเราต้องเปลี่ยนจากห้องเรียนแบบท่องจำเป็นห้องเรียนที่นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ และในปี 2025 จะเป็นปีที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราจำเป็นต้องดึง AI Textbooks เพื่อช่วยให้ครูสามารถปรับเปลี่ยนบทเรียนได้” อีจูโฮ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้กล่าว

กระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ระบุว่า ระบบ AI จะสามารถประเมิน “นักเรียนที่เรียนรู้เร็ว” และ “นักเรียนที่เรียนรู้ช้า” และจะสร้างภาระงานที่ออกแบบตามระดับการเรียนรู้และยังช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนผ่านข้อมูลที่ได้รับ ยิ่งไปกว่านั้นหนังสือเรียน AI สามารถสร้างเนื้อหาได้หลากหลาย ซึ่งจะกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความคิดนอกกรอบและสร้างสรรค์ได้

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ AI อื่นๆ ที่จะถูกนำมาใช้เช่น โปรแกรมถอดเสียงพูดลงบนไวท์บอร์ดดิจิทัล รวมถึงนำร่องใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตอบคำถามของนักเรียนด้วย AI โดยกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้วางแผนไว้ว่า ภายในปี 2028 จะมีการนำแอปพลิเคชัน AI มาใช้ในทุกวิชา ยกเว้นในวิชาดนตรี ศิลปะ พลศึกษา และจริยธรรม 

เสียงต่อต้านจากทั้งผู้ปกครองและนักวิชาการ

อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า AI Textbooks และเครื่องมืออื่นๆ มีักษณะการทำงานหรือมีวิธีป้องกันอาการ AI หลอนอย่างไร ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้ปกครองและนักวิชาการจำนวนมาก

ผู้ปกครองกว่า 50,000 คน ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลใส่ใจกับความเป็นอยู่ของนักเรียนและย้ำถึงความกังวลที่ลูกๆ ของตนต้องสัมผัสอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปแทนที่จะได้รับการเรียนการสอนจากครูจริงๆ 

รวมไปถึงชินกวังยอง ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยชุงอัง ประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้แสดงความไม่มั่นใจในนโยบายนี้ โดยกล่าวว่า รัฐบาลกำลังนำ AI Textbooks อย่างรีบร้อนเกินไปและไม่ได้ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน เพียงเพราะว่า AI เป็นกระแสหลักในปัจจุบัน การจะแก้ปัญหาระบบการศึกษาที่เน้นการท่องจำ จะต้องเป็นปฏิรูปการศึกษาที่ทำอย่างถูกต้องและควบคู่ไปกับการปฏิรูปการสอบ

และถึงแม้ว่าการดำเนินการของเกาหลีใต้จะขัดกับแนวโน้มในประเทศพัฒนาอื่นๆ ที่รัฐบาลพยายามจำกัดการเข้าถึงสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของเด็กๆ ในโรงเรียน แต่นโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์สมาคมครูเกาหลี หรือ KFTA ซึ่งกว่า 54% สนับสนุนให้มีการใช้ AI Textbooks มาใช้ในโรงเรียน

ในอนาคต AI ก็ต้องเข้ามาบทบาทในระบบการศึกษามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเอกชนบางแห่งในประเทศอังกฤษได้มีกลุ่มนำร่องใช้ AI มาปรับใช้ในฐานะ ‘Learning Coach’ สำหรับวิชาแกนหลักสำหรับการสอบ GCSE หรือการสอบเทียบวุฒิระบบอังกฤษ อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ในห้องเรียนต้องอาศัยการปรับตัวอย่างระมัดระวังจากทุกฝ่าย เพื่อให้เทคโนโลยีนี้สามารถปรับปรุงการเรียนรู้โดยไม่กระทบต่อมาตรฐานการศึกษาที่มีอยู่เดิม

อ้างอิง: ft (1), (2)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สะเทือนวงการดนตรี Nvidia เปิดตัว Fugatto AI สร้างเสียงครบวงจรแค่เขียน Prompt

Nvidia ลงสนามเครื่องมือสร้างเสียงด้วย AI เปิดตัว Fugatto โมเดล AI ที่สามารถสร้างสรรค์และปรับแต่งเสียงได้อย่างเหนือชั้น เพียงแค่เขียน prompt พร้อมปฏิวัติอุตสาหกรรมหลากหลาย ตั้งแต่วง...

Responsive image

คืนชีพการบินไทย แผนฟื้นฟูการบินไทยสำเร็จ เตรียมเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 2 ปี 68

การบินไทยประกาศความสำเร็จในการปรับโครงสร้างทุน พร้อมแผนเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมและพนักงาน มุ่งคืนสู่ตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 2 ปี 2568...

Responsive image

SCB EIC เผยผลกระทบจาก Trump 2.0 ฉุดเศรษฐกิจไทยปี 2568 เผชิญความท้าทายด้านการค้า การผลิต และการลงทุน

ในปี 2568 โลกจะเริ่มเผชิญกับความท้าทายจากผลของนโยบายเศรษฐกิจภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งถือเป็นการกลับมาใหม่ในเวอร์ชันที่มีอำนาจบริหารที่แข...