Startup White Paper คืออะไร และ Startup ไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างไรบ้าง | Techsauce

Startup White Paper คืออะไร และ Startup ไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างไรบ้าง

Startup White Paper คืออะไร?

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุน Startup ไทย ประเด็นคำถามน่ารู้ที่ตามมาก็คือ แล้ว Startup ไทยมีปัญหาอะไรบ้าง ที่ต้องการรัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหา?

White Paper หรือสมุดปกขาว จึงเป็นคำตอบ เป็นเอกสารที่รวบรวมสถานการณ์ปัจจุบันที่ Startup ไทยพบเจอ และสรุปเป็นเรื่องๆ ว่ามีอะไรที่อยากได้รับการสนับสนุนบ้าง

เป็นเวลาหลายเดือนทีเดียว ที่ Startup เชื้อสายไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้รวมกลุ่มกันจัดทำสมุดปกขาวนี้ เพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการสตาร์ทอัพแห่งชาติ หรือ National Startup Committee ขึ้น เพื่อที่คณะชุดนี้จะนำเสนอต่อ ครม. ซึ่งข่าวล่าสุดระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วยกับ White Paper ฉบับนี้

เนื้อหาใน White Paper ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ แต่สามารถสรุปใจความสำคัญบางส่วน เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะในเบื้องต้น พร้อมกับยังเปิดรับแนวคิดเพิ่มเติมตลอดเวลา โดยจุดประสงค์สำคัญของ White Paper มี 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

  1. ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างทัดเทียม โดยเฉพาะ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่นำหน้าประเทศไทยอยู่หลายก้าว
  2. ดึงดูดนักลงทุนคุณภาพมาประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ และขยายตลาดของ Startup ไทย
  3. หา Exit Strategy ให้กับ Startup ไทย เมื่อมีนักลงทุน หรือเจ้าของธุรกิจ สนใจซื้อกิจการไปบริหารต่อ

13035582_10156798585050557_194308379_o

สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อ Startup ไทย มีอะไรบ้าง แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรดี

สภาพแวดล้อม และกฏระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจรูปแบบใหม่

ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค และกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย กลายเป็นข้อจำกัด ทำให้ Startup ที่มีฝีมือ หลายรายตัดสินใจไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้

เพื่อแก้ไขสภาพเดิม รวมถึงสร้าง Ecosystem ที่ดีสำหรับ Startup ต่อไป นำมาสู่ข้อเสนอ 3 ประการในเบื้องต้นที่ปรากฏใน White Paper

1. การแก้ไขกฏหมายที่ไม่เอื้ออำนวย

โดยกฏหมายที่ควรแก้เป็นอันดับแรก ได้แก่

  • ESOP/Vesting หรือการออกหุ้นให้กับพนักงาน ซึ่งบริษัทจำกัด ไม่สามารถทำได้
  • Capital Gain Tax หรือ การยกเว้นภาษีกำไร ซึ่งปัจจุบันหาก Startup ขายกิจการได้กำไร อาจโดนภาษีอัตราสูงสุด 35%
  • Dividend Tax หรือ การยกเว้นภาษีเงินปันผล
  • Foreign Talent Visas หรือ การแก้ไขกฎหมาย พรบ. ต่างด้าว เพื่อดึงดูดให้ Tech Talent จากทั่วโลก สนใจมาทำงานที่ไทย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น โดยทางทีมงานผู้จัดทำ ได้มีการวิเคราะห์แผนการแก้ไข โดยดูว่ามีปัญหาไหนบ้างที่ด่วน และไม่ด่วนมาก และปัญหาไหนบ้างที่แก้ไขง่าย และแก้ไขยาก ซึ่งนำมาสรุปได้เป็นแผนภาพดังนี้

thai startup problem with matrix

2. ภาครัฐควรกำหนดโจทย์ความต้องการของรัฐ และนำผลงานของ Startup ไปใช้งานจริง พร้อมกับให้ Reference

พวกเราเองเคยได้เข้าร่วมฟังไอเดีย Startup อยู่บ่อยครั้ง มีหลายไอเดียที่ต้องการแก้ปัญหาระดับสังคม เช่น ปัญหารถเมล์ ปัญหาเกษตรกร เป็นต้น แต่บางครั้งการสนับสนุนให้เกิดการนำไปใช้จริงยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง

รัฐบาลควรสนับสนุนโดยการนำผลงานของ Startup ไปใช้จริง โดยกำหนดโจทย์ความต้องการที่อยากให้ Startup เข้ามาช่วย Disrupt หรือแก้ไข และให้ Reference เพื่อสร้าง Credit ให้ Startup ไปต่างประทศได้ง่ายขึ้น สิงคโปร์เองก็มีนโยบายเช่นนี้ เป็นผลให้สามารถส่งออก Startup ได้หลายราย

ล่าสุดทางสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) กำลังดำเนินการในรูปแบบของการประกวด MEGA โดยผู้ผ่านการเข้ารอบการประกวด จะได้ไปรับงานภาครัฐ โดยสามารถพัฒนาต่อเป็น Software as a Service สำหรับภาครัฐ

3. การให้เงินลงทุนแบบ Matching Fund

Matching Fund คือ Fund ที่รวม VC หลายๆ เจ้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของแต่ละเจ้า เพื่อเพิ่มความมั่นใจของ VC ในการลงทุนกับ Startup เนื่องจากปัจจุบันมีเงินทุนที่พร้อมเสี่ยงกับ Startup ในระดับที่ต่ำอยู่ อีกทั้งยังมีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนอยู่พอสมควร

ความท้าทาย: Startup ไหนควรได้รับการสนับสนุน

คำว่า Startup นั้น เรียกได้ว่ายังไม่มีนิยามที่ชัดเจน มีผู้มีประสบการณ์หลายท่านออกมาให้คำนิยามในแบบของตัวเอง Techsauce เองก็เคยอธิบายเกี่ยวกับแนวคิด Startup คืออะไร โดยนำเสนอในมุมกลางๆ

นิยาม Startup นี้ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญ ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้คำศัพท์ทั้ง SME และ Startup ปะปนรวมกันไป โดยยังไม่ได้มีนิยามที่ทั่วทั้งประเทศสามารถยึดถือได้แบบชัดๆ เพราะหากไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็น SME ใครเป็น Startup การช่วยเหลือก็อาจจะไม่ตรงจุดประสงค์ รวมถึงเราควรจะมี KPI ที่ใช้ดูว่า Startup รายไหนเป็น Startup ที่มีคุณภาพ ทำผลงานจริงๆ ไม่ใช่นักล่ารางวัล

White Paper จึงได้นำเสนอ นิยาม Startup ที่มีคุณภาพ ว่าเป็น Startup ที่มี VC ที่มีคุณภาพเข้าไปลงทุนแล้ว เพราะการคัดกรอง Startup ทำได้ยาก จึงคัดกรองที่ VC โดย VC ที่มีคุณภาพย่อมลงทุนใน Startup ที่มีคุณภาพเช่นกัน ซึ่ง National Startup Committee จะเป็นผู้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติ VC ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีข้อโต้แย้งในนิยามนี้อยู่บ้าง เพราะจะไม่ครอบคลุมรายเล็กๆ อย่างไรก็ตามวิธีการที่ว่านี้เป็นวิธีการเดียวกันกับในประเทศสิงคโปร์ รวมถึงยังช่วยเรื่องความสะดวกในการตรวจสอบ เพราะ VC จะเป็นผู้ Monitor แทนภาครัฐ

13052523_10208562790334762_1263489834_o

ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอเบื้องต้นใน White Paper ทีมงานทำงานอย่างหนัก มีการทำการบ้าน วิเคราะห์ และจัดทำกันออกมาดีมาก มาร่วมกันรอดูข้อมูลจาก White Paper ฉบับสมบูรณ์ที่จะมีการประกาศตามมาในเร็วๆ นี้ รวมถึงรอดูผลจากข้อเสนอที่รัฐบาลจะรับไปพิจารณาปรับปรุง เพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Thailand Tech Startup Association และ Marketingoops ค่ะ

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...

Responsive image

Tencent จับมือ Visa เปิดตัวระบบชำระเงินด้วยฝ่ามือ (Palm Payment) ในสิงคโปร์

Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อเปิดตัวระบบจ่ายเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำฝ่ามือ โดยเริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก...