NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการดาราศาสตร์ เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน
กาแล็กซี Centaurus A คือที่ตั้งของหลุมดำมวลมหาศาลที่ส่งลำแสงพลังงานสูง (Black Hole Jet) ออกมาจากสนามแม่เหล็กและแรงโน้มถ่วงรอบๆ หลุมดำ ลำแสงนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง และขยายออกไปในทุกทิศทางอย่างกว้างขวาง
ล่าสุด นักวิจัยพบร่องรอยที่มีลักษณะเป็นรูปตัว "V" ซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อนในกาแล็กซีนี้ ร่องรอยนี้เชื่อมกับแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่ถูกตั้งชื่อว่า C4 ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางของลำแสงจากหลุมดำ โดยมีความยาวของแขนตัว "V" ถึง 700 ปีแสง
การค้นพบนี้มีความน่าสนใจ เพราะแม้ว่าจะไม่สามารถระบุว่าวัตถุลึกลับที่ถูกชนคืออะไร แต่คาดว่าอาจเป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ หรือกลุ่มก๊าซขนาดมหึมา
ปริศนาที่ยังคงอยู่คือรูปร่างของร่องรอยตัว "V" ซึ่งแตกต่างจากร่องรอยที่เคยพบในกาแล็กซี Cen A โดยปกติแล้วการชนของลำแสงจากหลุมดำกับวัตถุจะทำให้เกิดร่องรอยเป็นรูปวงรี แต่ร่องรอยในครั้งนี้กลับมีลักษณะเป็นตัว "V" ซึ่งยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน
การค้นพบนี้ไม่เพียงแต่เสริมความเข้าใจในเรื่องกาแล็กซี แต่ยังนำมาซึ่งคำถามใหม่เกี่ยวกับวัตถุลึกลับใน และลักษณะของร่องรอยการชนที่แตกต่างออกไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามหาคำตอบอยู่
อ้างอิง: nasa
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด