SYNQA ชื่อเดิม Omise Holdings ได้เงินทุน Series C จาก SCB 10Xและ SPARX Group มูลค่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ | Techsauce

SYNQA ชื่อเดิม Omise Holdings ได้เงินทุน Series C จาก SCB 10Xและ SPARX Group มูลค่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

SYNQA บริษัทฟินเทคในประเทศไทย (ชื่อเดิมคือ Omise Holdings) ประกาศรับเงินลงทุน Series C มูลค่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากผู้ลงทุนหลัก SCB 10X Co., Ltd. (SCB 10X) และ SPARX Group Co., Ltd. (ผ่านกองทุน Mirai Creation Fund II) ร่วมด้วยToyota Financial Services Corporation (TFS), Sumitomo Mitsui Banking Corporation (SMBC), SMBC Venture Capital (SMBCVC) และ Aioi Nissay Dowa Insurance Corporation (ADI) และผู้ลงทุนรายอื่น ๆ

เงินลงทุนที่ได้รับมานี้มีแผนที่จะนำไปใช้พัฒนาโซลูชันสำหรับองค์กร (enterprise solution) รวมถึงต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ได้ (digital transformation) โดย SYNQA ตั้งใจที่จะเพิ่มบทบาทในกลุ่มประเทศที่เป็นสังคมไร้เงินสดในเอเชีย ในช่วงที่การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเรื่องสำคัญเช่นทุกวันนี้โครงสร้างเทคโนโลยีทางการเงิน (fintech infrastructure) อย่างระบบรับชำระเงินออนไลน์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้คนยังสามารถทำธุรกรรมทางการเงินด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบายอยู่อย่างต่อเนื่อง

“ผมมีความยินดีที่จะประกาศข่าวการระดมทุนรอบนี้และความร่วมมือใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นให้ทุกท่านทราบ แม้เราจะอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทาย ผมมองว่านี่เป็นโอกาสดีในการเร่งปรับเอาระบบรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรใหญ่ ๆ (digital transformation) เงินลงทุนในรอบนี้จะนำไปสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทย่อยของเรา เพื่อให้คน ธุรกิจ และสังคม สามารถเชื่อมถึงกันได้ดีมากขึ้น ผมมีความเชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ คือ ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างทางการเงินที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น” คุณจุน ฮาเซกาวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SYNQA กล่าว

SYNQA มองว่าโลกภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของคน โดยความนิยมในการใช้จ่ายด้วยเงินสดลดลง และเปลี่ยนเป็นช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ผลสำรวจโดย Nielsen พบว่าในประเทศสิงคโปร์ยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค (Fast Moving Consumer Goods หรือ FMCG) ผ่านทางออนไลน์เติบโตขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (2563) SYNQA อยู่ในจุดที่มีศักยภาพโดดเด่น สามารถที่จะนำพาเอเชียเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมไร้เงินสดได้ Omise เป็นบริษัทย่อยที่อยู่ภายใต้การดูแลของ SYNQA เป็นผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินชั้นนำก่อตั้งขึ้นในปี 2556 ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการร้านค้านับพันรายทั่วเอเชียโดยให้บริการเทคโนโลยีและฟังก์ชันต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการค้าขายออนไลน์ ช่วยทั้งด้านการรับชำระเงิน และเชื่อมร้านค้าเข้ากับผู้บริโภคนับล้านทั่วโลก เงินลงทุนครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ของ Omise เพื่อเพิ่มคุณค่าที่ส่งมอบให้กับร้านค้าและธุรกิจทั่วเอเชีย

การระดมทุนในครั้งนี้ยังช่วยเสริมสร้างความร่วมมือที่มั่นคงระหว่าง SYNQA และผู้ร่วมลงทุน คือ SCB 10X, SPARX, TFS, SMBC, SMBCVC และ ADI ในการนำเทคโนโลยีจากบริษัทย่อยภายใต้ SYNQA ไปปรับใช้กับแต่ละองค์กร และยังตอกย้ำการมีส่วนร่วมในการนำพาเอเชียไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดของ SYNQA อีกด้วย เงินลงทุน Series C นี้ยังจะถูกนำไปใช้จัดตั้งบริษัทย่อยอีกหนึ่งแห่งภายใต้การดูแลของ SYNQA ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโซลูชันเพื่อองค์กรที่ต้องการนำเทคโนโลยีด้านการเงินไปปรับใช้ (fintech transformation) โดยเฉพาะ

“SCB 10X มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมลงทุนและจับมือเป็นพันธมิตรกับ SYNQA ซึ่งการร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถร่วมกันนำเสนอนวัตกรรมและบริการใหม่ ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนให้องค์กรหรือผู้ประกอบการต่าง ๆ สามารถปรับรูปแบบและทำธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต” ดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCB 10X กล่าว

บริษัทย่อยภายใต้ SYNQA มีความยินดีที่จะได้นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้ง API และ OMG Network ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนมูลค่าสร้างอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ไปต่อยอดเป็นโซลูชันใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าของพาร์ทเนอร์ได้ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ SYNQA เช่น แอปพลิเคชัน Toyota Wallet เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่มีต่อการลดอุปสรรครูปแบบเดิม ๆ ในการทำธุรกรรมออกไป ความร่วมมือใหม่ ๆ รวมถึงเงินลงทุนที่ได้รับมานี้จะช่วยสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) ของ SYNQA ให้แข็งแรงขึ้นเพื่อพาองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายที่วางไว้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...