ประกาศแล้วกฎหมายภาษี e-payment ทำธุรกรรมการเงินบ่อยเตรียมโดนเรียก

ประกาศแล้วกฎหมายภาษี e-payment ทำธุรกรรมการเงินบ่อยเตรียมโดนเรียก

กฎหมายภาษี e-payment (ภาษีอีเพย์เมนต์) หรือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค 2019 เป็นต้นไป โดยกฎหมายนี้จะกระทบกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีการรับเงินโอนวันละจำนวนมากๆ ซึ่งไม่นานนี้เพิ่งมีผ่านร่างกฎหมายไป

มีประกาศราชกิจจานุเบกษากฎหมาย e-payment โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค 2019 เป็นต้นไป  กฎหมายนี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยกำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษี

โดยมีการระบุว่าจากลักษณะการทำธุรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของภาคเอกชน ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากร ได้รับข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษีบางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไวในประมวลรัษฎากรได้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) ระบุว่าสถาบันการเงินต้องทำการรายงาน “ธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ” หากฝ่าฝืนมีการปรับจำนวนหนึ่งแสนบาท อีกทั้งยังกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้บริการทางการเงิน ทำหน้าที่รายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โดยธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะประกอบด้วย

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือ รับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตาม อธิบดีกรมสรรพากรสามารถปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดช่วงเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดูฉบับเต็ม คลิกที่นี่ 

อ้างอิง: Prachachat

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Xi Jinping พบ Jack Ma รัฐบาลจีนเปลี่ยนท่าที? AI กลายเป็นตัวพลิกเกมเศรษฐกิจ

สี จิ้นผิง เปิดโต๊ะประชุมกับ แจ็ค หม่า และผู้นำธุรกิจจีน ส่งสัญญาณสนับสนุนภาคเอกชนอีกครั้ง หลัง AI กลายเป็นตัวเปลี่ยนเกม Alibaba และหุ้นจีนพุ่งทะยาน...

Responsive image

เตรียมพัฒนา Meta หุ่นยนต์ AI ตัวใหม่ความก้าวหน้าล่าสุดของ Reality Labs

Meta หุ่นยนต์ กำลังเป็นที่จับตามอง! บริษัทจัดตั้งทีมใหม่ใน Reality Labs พัฒนาหุ่นยนต์ AI และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ช่วยงานบ้านและรองรับตลาดหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์...

Responsive image

DOGE คืออะไร Elon Musk ทำอะไรในหน่วยงานนี้ ? เปิดหน่วยงาน (ไม่) ลับของ Musk ในทำเนียบขาว

Elon Musk ในตอนนี้ไม่ใช่ CEO บริษัทเทคฯ ที่มีมูลค่าติดท็อปโลกธรรมดา เพราะภายใต้คณะที่ปรึกษาชุดใหม่ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ Musk คือ ‘พนักงานพิเศษของรั...