Karma Healthcare สตาร์ทอัปเพื่อสังคมในอินเดีย กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล | Techsauce

Karma Healthcare สตาร์ทอัปเพื่อสังคมในอินเดีย กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล

ในช่วง 25 ปีมานี้ แล้วอุตสาหกรรมด้าน Healthcare ในอินเดีย (และทั่วโลก) ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ปัญหาอย่างการเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์สำหรับชาวชนบท ยังคงเป็นความท้าทายที่สตาร์ทอัปรายนี้พยายามจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

ตามสถิติแล้ว ผู้คนในอินเดียราวๆ 45% ต้องเดินทางมากกว่า 100 กิโลเมตรเพื่อจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อีกมาก และผู้ป่วยเหล่านี้ก็มักจะเป็นคนจน

Karma Healthcare สตาร์ทอัปที่ให้บริการทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ห่างไกลในรัฐ Rajasthan ประเทศอินเดีย ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 1 ปีเต็ม รูปแบบของธุรกิจคือการทำให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางผ่านระบบการสื่อสารทางไกลได้แบบ face-to-face ซึ่งผู้ป่วยก็จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคเฉพาะทางเหล่านั้น

DSC_7264

จะมีการตั้งโมบายล์คลินิกเป็นศูนย์กลางระหว่างแพทย์ในเมืองกับผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล อุปกรณ์การสื่อสารสำคัญของคลินิกในชนบทนี้คือแท็บเลตและเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่จะช่วยส่งข้อมูลของคนไข้ไปให้กับหมอได้แบบเรียลไทม์ โดยมีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนประจำคลินิกนั้น ทำหน้าที่พูดคุยต้อนรับผู้ป่วย และแจกยาตามที่หมอ (ทางไกล) สั่งไว้ให้

ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในระดับที่เข้มข้นมากขึ้น เช่น ต้องใช้เครื่องมือสำหรับวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้น หรือต้องแอดมิท ผู้ป่วยก็จะได้รับบริการส่งตัวไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้ที่สุด

DSC_7304

เป้าหมายหลักๆ ของการก่อตั้งสตาร์ทอัป Karma Healthcare คือ เพื่อให้ผู้ป่วยให้พื้นที่ห่างไกลได้รับโอกาสในการรักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในด้านสุขภาพ โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลเป็นตัวขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ต้องการ

สำหรับการคิดค่าบริการ สตาร์ทอัปรายนี้ก็จะเก็บจากผู้ป่วยที่มาใช้บริการโมบายล์คลินิก ซึ่งก็จะมีราคาที่ถูกลงเมื่อเทียบกับการเดินทางไกลไปรักษาที่โรงพยาบาล และยังไม่ต้องเสียค่าเดินทางอีกด้วย นอกจานี้ ชาวบ้านในพื้นที่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรง

ที่น่าสนใจคือโมเดลนี้ก็น่าเอามาปรับใช้กับประเทศที่กำลังพัฒนาทุกประเทศ บ้านเราเองก็เช่นกัน ยังมีคนอีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ทั้งระยะทางและการเงิน เทคโนโลยีและไอเดียแบบนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้

[embed]https://www.youtube.com/watch?v=AQNNwvI_OFc[/embed]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...