เมื่อ Telco ในยุโรปหันมาทำ Mobile Banking สู้กับธนาคาร | Techsauce

เมื่อ Telco ในยุโรปหันมาทำ Mobile Banking สู้กับธนาคาร

เคยลองคิดดูไหมว่า ในเมื่อการทำธุรกรรมต่างๆ ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มักจะดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันบนมือถืออยู่แล้ว วันหนึ่ง...ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเองก็อาจกลายมาเป็นธนาคารให้คุณได้  บอกเลยว่านี่ไม่ใช่เพียงไอเดียอีกต่อไป เพราะผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในยุโรปอย่าง Orange Telenor และ O2 กำลังทำให้มันเกิดขึ้นจริงแล้ว

mobile-banking

ในประเทศอังกฤษ มีผู้ใช้แอปพลิเคชัน Mobile Banking ถึง 7,610 ครั้งต่อนาที หรือ 4 พันล้านครั้งต่อปี  และยังมีผู้ดาวน์โหลดแอป Banking กว่า 13.8 ล้านคนในปี 2015 โดยเพิ่มขึ้น 25% จากปี 2014 จากการรายงานของสมาคมธนาคารอังกฤษ ส่วนทั่วโลกก็กำลังเปลี่ยนจากธนาคารตามสาขาต่างๆ หรือแม้แต่ Internet banking บนคอมพิวเตอร์ แล้วหันมาจัดการธุรกรรมทางการเงินผ่านทางแอปบนมือถือแทน

พูดถึงความสะดวกสบายแล้ว แอป Mobile Banking ทำให้คุณสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ไหนเลย แถมยังมี User Interface ที่สวยงามยิ่งกว่าบนคอมพิวเตอร์ PC แล้วล่าสุดยังมีการเพิ่มฟังก์ชั่นโดยใช้ Biometrics หรือลักษณะทางกายภาพต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ลายนิ้วมือ เพื่อแทนการเซ็นชื่อบนเอกสารต่างๆ ซึ่งทำให้การดำเนินการทั้งหมดง่ายดายและปลอดภัยมากขึ้นกว่าการใช้พาสเวิร์ดแบบเดิม ซึ่งคนที่ทำแอปออกมาก็คือธนาคารนั่นแหละ

จากที่เคยเป็นเพียงผู้ให้บริการ Data package ที่ทำให้แอปเหล่านี้ใช้งานได้  ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือขนาดเล็กในยุโรปเลยตัดสินใจว่า มาทำเองแอป Moblie Banking เองเลยดีกว่า!

ต้องยอมรับว่าผู้ให้บริการมือถือส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยกับการให้บริการด้านการเงินอยู่แล้ว  เริ่มจากบริษัท Orange ที่กำลังดำเนินการเข้าซื้อบริษัทด้านการเงินของฝรั่งเศส Groupama Banque เพื่อจัดการเรื่องใบอนุญาตเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินต่างๆ จึงสามารถเข้ามาทำด้านธุรกรรมเองได้ และยังได้ลูกค้าจากเครือข่ายเดิมด้วย ซึ่งตอนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฝรั่งเศสและในยุโรปก็ออกมารับรองแล้ว โดยหากดีลนี้เสร็จสิ้น บริษัท Orange จะครอบครองบริษัทนี้ถึง 65% และสามารถเปิด Orange Bank ในฝรั่งเศสได้ในต้นปี 2017 ตามด้วยสเปนและเบลเยียม

นอกจาก Orange ยังมี O2 ผู้ให้บริการเครือข่ายในเยอรมันที่เปิดธนาคารขึ้นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ร่วมกับ Fidor ส่วน Telenor ก็เปิดธนาคาร Banka Serbia เมื่อ 2 ปีก่อนเช่นกัน

ส่วนเจ้าอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงทดลองก็ได้แก้ Telefonica Spain ที่ประกาศร่วมทุนกับ CaixaBank และ Santander  

ทำไมพวกเขาจึงเชื่อว่าตัวเองจะสร้างสรรค์บริการ Mobile Banking ใหม่ๆ เองได้

คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะพวกเขาเป็น Mobile-first หรือการสร้างโปรดักต์โดยให้ความสำคัญกับมือถือก่อนนั่นเอง  ทฤษฎีนี้เกิดจากการที่ธนาคารต้องทุ่มเทอย่างมากในการเข้าถึงบริการมือถือใหม่ๆ ในโลกของระบบไอที  แต่กลับกันคือ ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือต่างมี Know-how อยู่แล้ว จึงสามารถสร้างประสบการณ์การใช้งานบนมือถือที่ดีกว่าในแง่ของผู้บริโภค

ยกตัวอย่างลูกค้าของ O2 ที่สามารถ Sign up ผ่านการ Video Chat กับพนักงาน เปิดบัญชี MasterCard ฟรีภายใน 5 นาที หรือได้รางวัลตอบแทนเป็น Mobile data แทนดอกเบี้ยเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น โดย Orange ตั้งเป้าไว้ทำเงินจากบริการด้านการเงินไว้ที่ 400 ล้านยูโรภายในปี 2018 เทียบจากรายได้โดยรวม 10.3 พันล้านยูโรของ Orange เฉพาะใน Q3 ของปี 2015

ส่วนแอปของ Telenor Banka ก็สร้างมาเพื่อกำจัด Pain point ด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราโดยเฉพาะ เนื่องจากในประเทศ Serbia ผู้คนนิยมแลกเปลี่ยนสกุลเงินจาก Dinars เป็นเงินยูโร ทำให้พวกเขาต้องรอคิวนานๆ เพื่อแลกเงินตามจุดให้บริการมาตลอด ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้สามารถทำได้บนแอปด้วยการกดมือถือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น รวมถึงยังสามารถเปิด-ปิดการใช้งานบัตรจากแอปได้ด้วย ทำให้คนที่ขโมยบัตรไปไม่สามารถเอาไปทำธุรกรรมระหว่างที่เจ้าตัวปิดการใช้งานอยู่

ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดโปรดักต์ใหม่ๆ มาแข่งขันกับบริการรูปแบบเดิมๆ แต่กฏหมายเองก็ช่วยสนับสนุนด้วยการบังคับให้ธนาคารเปิด APIs ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ก่อน

แอป Banking นอกจากจะให้บริการเกี่ยวกับบัญชีแล้ว ยังทำหน้าที่ตลาดขนาดย่อม ที่ผู้ใช้สามารถซื้อประกัน ขอสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตราและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำให้ Banking กลายมาเป็น Marketplace นั่นเอง

สำหรับบริษัท Telco หรือบริษัทโทรคมนาคมต่างๆ นี่คือโอกาสที่จะทดลองโมเดลธุรกิจสำหรับลูกค้าใหม่ๆ พร้อมกับสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วย CRM (Customer Relationship Management) และการรักษาฐานลูกค้า (Churn Reduction) ส่วนในแง่ของธนาคารและคู๋แข่งอื่นๆ ในบริการด้านการเงิน คงถึงเวลาที่จะต้องใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีเพื่อสร้างคุณค่าให้บรรดาลูกค้าแห่งยุคสมาร์ทโฟน

ที่มา: VentureBeat

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...