หอการค้า ร่วมกับ 40 CEO ระดมกำลังช่วยรัฐบาลจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 | Techsauce

หอการค้า ร่วมกับ 40 CEO ระดมกำลังช่วยรัฐบาลจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19

เอกชนพร้อม ! หอการค้าไทยร่วมมือกับ 40 CEO จากทุกกลุ่มธุรกิจในไทย ช่วยกันระดมกำลัง วางแผนจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อช่วยเหลือรัฐบาล เร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน  

สรุปผลการประชุม แผนการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19ระหว่างคณะกรรมการหอการค้าไทยกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) 

1. ประชุม CEO ทุกบริษัทเห็นตรงกันว่าขณะนี้ประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีนไปเพียง 0.4% ของประชากรเท่านั้น ซึ่งถือว่าล่าช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศที่จะต้องฉีดให้ได้ถึง 70% ของประชากร โดยภาครัฐจำเป็นต้องจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับทุกคน ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะร่วมกันวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของภาคเอกชนและการจัดหาวัคซีนทางเลือกให้เพียงพอ เพื่อสนับสนุนให้สามารถเปิดประเทศได้รวดเร็ว

2. ตามแผนการจัดหาวัคซีนของภาครัฐที่กำลังจะได้วัคซีนล็อตใหญ่ ที่เริ่มเข้ามาตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ จะต้องมีการเตรียมตัว และวางแผนการกระจายวัคซีนให้มีประสิทธิภาพ ภาคเอกชนยินดีช่วยสนับสนุนภาครัฐในการกระจายวัคซีนที่ภาครัฐจัดซื้อมา ให้เกิดประสิทธิภาพและทั่วถึงมากที่สุด โดยจะเริ่มที่ กทม.ก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างให้จังหวัดอื่น ๆ พร้อมสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเจรจาซื้อวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม

3. หอการค้าไทยและภาคเอกชนตั้งเป้าหมายเพื่อสนับสนุนภาครัฐ ของพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ 4 ข้อ ดังนี้

  •  ภายในปี 2564 ต้องบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ 70% 
  •  บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าของ กทม. ต้องได้รับการฉีดทั้งหมด 100% ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 
  • เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการฉีดวัคซีนส าหรับประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯ ต้องให้ได้อย่างน้อย 50,000 โดสต่อวัน โดยภาคเอกชนจะเข้ามาเสริมการทำงานของภาครัฐเพื่อให้ได้เป้าหมาย 
  • จัดทำรูปแบบมาตรฐาน หรือรูปแบบตัวอย่างของภาคเอกชนที่สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้กับจังหวัดอื่น ๆ ภายในสิ้นเดือนเมษายนน

4. จากที่ประชุมทางหอการค้าไทยได้แบ่งงานออกเป็น 4 ทีม เพื่อให้สามารถสนับสนุนภาครัฐได้เต็มที่ ดังนี้

TEAM A: Distribution and Logistics ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีนช่วยสนับสนุน สถานที่ บุคลากร อาสาสมัคร และอุปกรณ์ IT เช่น คอมพิวเตอร์ ปริ๊นเตอร์ เครื่องอ่านบัตรประชาชน ให้ กทม. เพิ่มจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งตอนนี้ได้มีการเตรียมและไปลงพื้นที่ส ารวจกับ กทม. แล้ว

  •  ในระยะแรกได้มีการจัดเตรียมพื้นที่ ที่เอกชนจะนำร่องไว้ จ านวน 10 พื้นที่ เช่น กลุ่มเซ็นทรัล , SCG , เดอะมอลล์ , สยามพิวรรธน์ , เอเชียทีค , โลตัส , บิ๊กซี , ทรูดิจิตัลพาร์ค, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นต้น โดยจะสรุปกับ กทม.ภายใน วันที่ 27 เมษายนนี้ 
  •  ในระยะถัดไปจะมีการ ศึกษา และ หารือในการจัดทำหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ รวมถึง ใช้พื้นที่ โรงงาน หรือนิคมอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ฉีดวัคซีน ด้วย เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของประชาชน โดยมีภาคเอกชนสนใจให้การสนับสนุนหลายแห่ง
  • ได้มีการจัดทำรูปแบบมาตรฐานของพื้นที่เอกชนร่วมกับกรุงเทพฯ สำหรับพื้นที่ ที่รองรับการฉีดได้ทั้ง 2,000คน ต่อวันและ 1,000 คน ต่อวัน เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ 

ซึ่งทีมงานนี้ได้มีการมอบหมายให้ คุณญนน์ โภคทรัพย์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น และ กรรมการบริหารหอการค้าไทย เป็น หัวหน้าทีมในการประสาน ต่อไป

TEAM B: Communication ทีมการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมาฉีดวัคซีนในสถานที่ที่พร้อม เพราะปัจจุบันหลายคนยังไม่เข้าใจเรื่องการฉีดวัคซีน หลายคนไม่ยอมฉีด ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ภาครัฐจะทำระบบ “หมอพร้อม” เสร็จสิ้นในเดือนนี้ ซึ่งจะสามารถระบุสถานที่ต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีน 

การจัดคิวการฉีดที่ไม่หนาแน่น หรือลำดับการฉีดที่เหมาะสม โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายบริษัท อาสาเป็นทีมงาน ทั้ง Google, LINE, Facebook, VGI, Unilever, TRUE, Lotus, Nestle, Kao, BJC, TCP โดยทีมงานนี้ ได้ให้ Mr.Robert Candelino(Chief Executive Officer) บจก. ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง เป็นหัวหน้าทีมงาน

TEAM C: IT Operation ทีมเทคโนโลยีและระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการลงทะเบียน ขั้นตอนในการฉีดที่รวดเร็ว และมีระบบการติดตามตัว พร้อมสามารถออกใบรับรองการฉีดวัคซีนได้ โดยมีหลายบริษัท นำทีมโดย IBM เข้ามาสำรวจและปรับปรุงกระบวนการ ร่วมกับ หอการค้าไทย ในการลงพื้นที่กับ ทีมของ กรุงเทพมหานคร โดยจะจัดทำข้อเสนอในการนำเทคโนโลยีมาช่วย โดยทีมงานนี้ ได้ คุณปฐมา จันทรักษ์กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก.ไอบีเอ็ม ประเทศไทย (IBM) เป็นหัวหน้าทีมงาน

TEAM D: Extra Vaccine procurement ทีมจัด หาวัคซีนเพิ่มเติม ร่วมกับภาครัฐและเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน โดยจะไปสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น ทีมงานนี้ นำทีมโดย คุณกลินท์ สารสิน ประธานอาวุโสหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ ศ.ดร.นพ. เฉลิม หาญพานิชย์นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน 

  •  ในที่ประชุม ภาคเอกชนประเมินว่ายังต้องการวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมอีก 30 ล้านโดส เพื่อให้ครอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศ จากที่ปัจจุบันภาครัฐจัดหามาได้ 63 ล้านโด๊ส
  •  ซึ่งวัคซีนทางเลือก ที่หารือกันนั้น ได้แก่ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกา วัคซีน Johnson & Johnson, Moderna และ Pfizer 2. ประเทศจีน วัคซีน Sinopharm และ CanSino Biologics 3. ประเทศอินเดีย วัคซีน COVAXIN จากบริษัท Bharat Biotech และ 4 ประเทศรัสเซีย วัคซีน Sputnik V 
  •  โดยจากการประชุม ภาคเอกชนยินดีที่จะจ่ายค่าวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทรวมแล้วเกือบ 1 ล้านราย (จากการสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนเมื่อเดือน มีนาคม 2564) เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับรัฐบาล

5. CEO ทุกท่านพร้อมที่จะช่วยภาครัฐ ทั้งการกระจายวัคซีนที่ภาครัฐจัดซื้อมาให้เกิดประสิทธิภาพและทั่วถึงมากที่สุด และพร้อมสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเจรจาซื้อวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม ซึ่งหอการค้าไทยพร้อมที่จะเป็นตัวกลางในการ Connect the dots เพื่อฟื้นเศรษฐกิจไทย โดยที่คนไทยทุกคน ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปได้แน่นอน






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...