พ.ร.บ.อากาศสะอาด คืออะไร ? ในวันที่สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นของประชาชน | Techsauce

พ.ร.บ.อากาศสะอาด คืออะไร ? ในวันที่สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นของประชาชน

"หมอกจางจางและควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้" เนื้อหาเพลงท่อนนี้ คงจะสะท้อนสภาพอากาศในขณะนี้ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยปัญหา “มลพิษทางอากาศ” (Air Pollution) ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างปัญหาฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นวิกฤติการณ์ที่กำลังทวีความร้ายแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้กรุงเทพฯ ไต่ขึ้นอันดับ 3 เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลก รวมทั้งมีพื้นที่อันตรายทั่วกรุงถึง 70 จุด 

พ.ร.บ.อากาศสะอาด

จึงได้มีการเรียกร้องให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ และได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
ส่งผลให้ "พ.ร.บ.อากาศสะอาด" กลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง

โดย "เครือข่ายอากาศสะอาด" ประเทศไทย เป็นกลุ่มที่ริเริ่มร่วมกันพัฒนาเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ซึ่งก็คือ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ.…. (เรียกย่อๆ ว่า พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ขึ้น ดังนั้นพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้สิทธิที่จะหายใจในอากาศสะอาดเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน รัฐมีหน้าที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้สิทธิในอากาศบริสุทธิ์ของประชาชนนี้เกิดขึ้นจริง

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. อากาศสะอาด และเครือข่ายอากาศสะอาดกันให้มากขึ้น พร้อมกับขยายความเข้าใจว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้เกิด Impact อะไรขึ้นบ้าง ?

PM 2.5 คืออะไร ?

แล้ว PM 2.5 คืออะไร ? ซึ่ง PM ย่อมาจาก Particulate Matters เจ้าตัวนี้ก็คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก ๆ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและจมูกของคนเราก็ไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ได้ ดังนั้นถ้ามีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศปริมาณสูงมาก จะมีลักษณะคล้ายกับมีหมอกควัน โดยที่ฝุ่น PM2.5 สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้

จนกว่า...คนไทยจะได้หายใจอากาศสะอาด

และด้วยเหตุผลข้างต้นเพื่อเรียกร้องให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ และได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม  "เครือข่ายอากาศสะอาด" ประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนจิตอาสา ทั้งนักวิชาการสาขาต่าง ๆ และกลุ่มภาคประชาชน ที่ไม่ยอมทนและอยู่นิ่งเฉยกับปัญหา โดยใช้ความรู้ความสามารถในสาขาของตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศเหล่านี้ และหาสาเหตุต้นตอในเรื่องนี้ ซึ่งกลุ่มสมาชิกกว่าหลายร้อยคนที่เข้ามาทำงานทั้งด้านวิชาการ และการเคลื่อนไหวทางสังคม ร่วมกับภาครัฐ และเอกชน เพื่อหาทางออกที่จะจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทย

#CleanAirAct

จนเกิดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ซึ่งก็คือ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ.…. (เรียกย่อๆ ว่า พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ซึ่งมีขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 ด้วยกฎหมายฉบับนี้จะปรับหลักคิดสำคัญ ซึ่งนั่นก็คือ "อากาศสะอาดเป็นสิทธิของประชาชน" และกำหนดให้มีกลไกสำคัญคือ "คณะกรรมการอากาศสะอาด" จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งคณะกรรมการนี้จะต้องมีตัวแทนจากจมูกประชาชนผู้สูดอากาศ ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง โดยเป็นร่างกฎหมายฉบับประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา  

พูดง่าย ๆ คือ พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นการรวบรวมรายชื่อประชาชนที่เห็นด้วย เพื่อส่งเรื่องเข้าสู่รัฐสภา ทั้งนี้แค่ลงชื่อก็อาจจะไม่พอ เพราะกฎหมายไม่ว่าจะสำคัญแค่ไหนก็เป็นเพียงเครื่องมือ ดังนั้นจึงได้มีการ ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยไทม์ไลน์ของ พ.ร.บ. ได้มีการส่งร่างกฏหมายเข้าไปรัฐสภาประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับของกฎหมายดังกล่าว จึงได้มีการชักชวนให้ร่วมกันลงชื่อ เพื่อให้ครบจำนวน 5 หมื่นรายชื่อ หรือมากกว่า เพื่อผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาดในที่สุด โดยมีการให้ลงชื่อแคมเปญผ่าน https://bit.ly/3v3KozZ หรือ QR Code โดยล่าสุดมีคนลงชื่อ 48,647 คนจากเป้า 50,000 คน

พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้...

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

ผลักดันให้มีหน่วยงานที่ “กำกับดูแล” การทำงานของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดจริงจังขึ้น และ “บูรณาการ” การทำงานไม่ทำแบบเป็นไซโล

  • กระจายอำนาจในการกำกับดูแลให้ทั่วถึงทุกพื้นที่

    เปิดโอกาสให้ประชาชน “ร่วม” จัดการอากาศสะอาดสามระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับกำกับดูแล และระดับปฏิบัติ เพื่อปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาดของประชาชน

  • กระจายข้อมูล ความรู้เรื่องสิทธิอย่างเท่าเทียม

    มีช่องทางให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องอากาศ รวมถึงช่องทางการร้องเรียนปัญหาด้านคุณภาพอากาศ ร้องเรียนการทำงานของเจ้าหน้าที่ มีช่องทางในการตรวจสอบและเรียกร้องการเยียวยาได้

  • อากาศสะอาด  ถูกรับรองเป็นสิทธิที่เราต้องได้รับ

    สิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด จะถูกรับรองว่าเป็นสิทธิของประชาชน ก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับรอง ปกป้อง และทำให้เกิดสิทธินี้ขึ้นจริง

  • เน้นสร้างสุขภาพที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี

    กำหนดเป้าหมายสำคัญของการดูแล เรื่องอากาศสะอาด โดยเน้นให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพดี และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สามารถสรุปสาระสำคัญบทบัญญัติได้ 8 ประการ ได้ดังนี้

พ.ร.บ.อากาศสะอาด

พ.ร.บ.อากาศสะอาดรวบรวมข้อมูลจาก TIIS, Thailandcan

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

8 ล้านคนเสี่ยงตกงานเพราะ AI การบ้านใหญ่ของรัฐบาล UK

สถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะหรือ IPPR ประกาศเตือน ชาวสหราชอาณาจักรกว่า 8 ล้านคนเสี่ยงตกงาน จากนโยบายด้าน AI ของรัฐบาล...

Responsive image

พกสะดวก กินได้ทุกที่ ‘ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์’ วางขายทางออนไลน์เร็วๆ นี้

นวัตกรรมแห่งรสชาติ เด็กสมบูรณ์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ‘ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์’ พกติดตัวได้ทุกที่ ใช้งานสะดวกสบาย แค่ละลายพร้อมอาหาร เตรียมจำหน่ายตามช่องทางออนไลน์เร็วๆ นี้...

Responsive image

Adobe GenStudio สร้างแคมเปญด้วย AI ตอบโจทย์การทำคอนเทนต์ครบวงจร เพื่อนักการตลาด

ข่าวดีนักการตลาด ทาง Adobe ประกาศในงาน Adobe’s Summit เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่อย่าง GenStudio ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสร้างโฆษณาครบวงจรด้วย AI...