TikTok ประกาศลงทุน 12.2 ล้านดอลลาร์ ดัน SMEs ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมแกร่ง Digital Economy | Techsauce

TikTok ประกาศลงทุน 12.2 ล้านดอลลาร์ ดัน SMEs ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมแกร่ง Digital Economy

TikTok ประกาศลงทุนครั้งใหญ่ มูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งเป้าดันธุรกิจ SMEs กว่า 120,000 ราย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมแกร่งธุรกิจออนไลน์และ Digital Economy ในภูมิภาค

การลงทุนครั้งนี้จะเป็นทุนช่วยเหลือ การฝึกอบรมเสริมทักษะเชิงดิจิทัลและเครดิตโฆษณาสำหรับ SMB รวมถึงธุรกิจรายย่อย (Micro) ในพื้นที่ชนบทและชานเมือง

อิทธิพลทางเศรษฐกิจและสังคมของ TikTok ที่มากกว่าแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิง 

จากรายงาน The TikTok Effect: Accelerating Southeast Asia’s Business, Education, and Community Report เผยให้เห็นข้อมูลจากผลสำรวจที่น่าสนใจดังนี้ 

  • กลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยสามารถเพิ่มรายได้เกือบ 50% จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการบน TikTok
  • เกือบ 4 ใน 5 ของธุรกิจที่ตอบแบบสำรวจ (79%) ได้เปลี่ยนจากช่องทางการขายแบบออฟไลน์ไปเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ผ่านการใช้แพลตฟอร์ม TikTok
  • กว่า 80% ของผู้สร้างคอนเทนต์บน TikTok สามารถเพิ่มรายได้มากขึ้นผ่านเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม เช่น TikTok LIVE และ การสนับสนุนจากแบรนด์ (Brand Sponsorships)

"ผู้คนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 325 ล้านคนเข้าใช้ TikTok ทุกเดือน รวมถึงมีการใช้งานจากภาคธุรกิจกว่า 15 ล้านรายในทุกเดือน บทบาทของเราในการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการสร้างคอมมูนิตี้ในภูมิภาคนี้และทั่วโลกนั้นยิ่งใหญ่มาก เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นผลกระทบในเชิงบวกของ TikTok และมุ่งมั่นที่จะสานต่องานของเราในการช่วยเหลือผู้คน ชุมชนและธุรกิจต่างๆ ให้เติบโตและประสบความสำเร็จ” Shou Chew, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TikTok กล่าว

3 ด้านหลักที่ TikTok มุ่งมั่นผลักดันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปลดล็อกโอกาสทางเศรษฐกิจ

ในช่วงระยะสามปีนี้โครงการสนับสนุนท้องถิ่น  (Support Local Programme) มีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ธุรกิจรายย่อยและขนาดย่อม โดยเฉพาะธุรกิจในพื้นที่ชนบทซึ่งอาจยังไม่มีประสบการณ์ในการทำการตลาดออนไลน์มากนัก

TikTok ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรกว่า 25 แห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ มีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคยุคดิจิทัลรายใหม่ๆ ผ่านการมอบเงินทุนช่วยเหลือ การฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัล และเครดิตโฆษณา

ในประเทศอินโดนีเซีย TikTok จะร่วมมือกับ Asosiasi Pusat Pengembangan Sumberdaya Wanita (PPSW), Platform Usaha Sosial (PLUS) และ Telkom เพื่อเปิดตัว TikTok Jalin Nusantara โครงการริเริ่มที่จะติดตั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในศูนย์กลางชุมชนในหมู่บ้านชนบท 9 แห่งในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกและสุมาตราเหนือ 

นอกจากการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในท้องถิ่นแล้ว TikTok Jalin Nusantara จะเสนอโปรแกรมการฝึกอบรมในหมู่บ้านเหล่านี้ รวมถึงศูนย์สร้างสรรค์ 5 แห่งในศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักๆ และ Telkom IndigoHubs 5 แห่ง 

โดยโปรแกรมดังกล่าวจะให้การฝึกอบรมความรู้ด้านดิจิทัลและการเงินแก่ชุมชน และบทเรียนทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็น เช่น การสร้างเนื้อหา อีคอมเมิร์ซและการตลาดดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลได้

ขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาตนเอง

ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดหน้าต่างสู่โลกกว้าง TikTok ได้ช่วยส่งเสริมการค้นพบและเรียนรู้ จากรายงานพบว่า

  • ผู้ตอบแบบสำรวจ 9 ใน 10 (90%) ที่ใช้ TikTok เพื่อการเรียนรู้ ระบุว่าพวกเขาได้รับทักษะใหม่ๆ ที่อาจหาไม่ได้จากที่อื่น
  • 3 ใน 5 (61%) ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า TikTok ทำให้การเรียนรู้ออนไลน์เข้าถึงได้ง่ายขึ้น 

ร่วมมือกับภาครัฐไทย สนับสนุนคอนเทนต์เพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม

TikTok จะร่วมมือกับวิสาหกิจ  เพื่อสังคม ได้แก่ บริษัท คิดคิด จำกัด (Kid Kid), กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างจิตสำนึกและการลงมือทำเพื่อสิ่งแวดล้อมในหมู่เยาวชนในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความรู้และความท้าทายเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนในชีวิตประจำวัน เช่น การแยกขยะและการใช้พลังงาน โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทในการเพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้มากขึ้น และเพื่อให้บรรลุความสำเร็จ ในการดำเนินกิจการด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030

สร้างชุมชนเพื่อการสนับสนุนและพัฒนา

นอกจากการศึกษาบนแพลตฟอร์มแล้ว TikTok จะยังคงพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นต่อไป โดยเฉพาะเยาวชนที่อาจจะไม่มีความเท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยการร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ในโครงการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Development Programme) ซึ่งจะส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพ การให้คำปรึกษา (Mentorship) การอำนวยความสะดวกในตลาด และการระดมทุนสร้างเมล็ดพันธุ์ (Seed funding) มูลค่าสูงถึง 320,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่นำโดยเยาวชน 20 แห่งในภูมิภาคนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพิ่มความสามารถในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น

TikTok มีพนักงานมากกว่า 8,000 คน ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมุ่งมั่นที่จะลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในท้องถิ่นอีกด้วย แนวคิดริเริ่มต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาบัณฑิตร้านค้า (TikTok Shop Graduate Development Programme) ระดับภูมิภาค ซึ่งมุ่งพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถสำหรับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ และหลักสูตรติวเข้มทางเทคนิค (TikTok Tech Immersion) สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของสิงคโปร์ โครงการต่างๆ เหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีรุ่นเยาว์ได้เติบโตและพัฒนายิ่งขึ้น

"ในเวลาเพียงหกปี เราได้สร้างช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้สำหรับทั้งผู้สร้างคอนเทนต์และธุรกิจต่างๆ บนแพลตฟอร์มของเรา เรายังได้เปิดตัวช่องทางอีคอมเมิร์ซ เช่น TikTok Shop ซึ่งช่วยให้ SMB เชื่อมต่อกับผู้บริโภครายใหม่และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจของตนเองได้" Teresa Tan, Head of Public Policy ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ TikTok กล่าว 

"ภารกิจของเราในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และนำความสุขมามอบให้ผู้คนนั้นมีรากฐานมาจากความมุ่งมั่นของเราที่จะช่วยส่งเสริมการค้นพบ การเติบโต และการเชื่อมโยงระหว่างผู้คน และชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือและแนวคิดริเริ่มที่เกิดขึ้นใหม่ในวันนี้จะขยายความพยายามของเราในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจรายย่อยและขนาดย่อมที่อาจเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสทางดิจิทัล เรารู้สึกซาบซึ้งต่อการสนับสนุนที่เราได้รับจากทั่วทั้งภูมิภาค และเราตื่นเต้นที่จะได้เห็นผลลัพธ์ในอนาคตที่เราสามารถร่วมกันสร้างได้" Teresa Tan ระบุ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...