TMB เผยกำไรครึ่งปีแรกของปี 2563 พุ่งกว่า 107% จากปีก่อน รับผลดีจากการควบรวมกับ ธนชาต | Techsauce

TMB เผยกำไรครึ่งปีแรกของปี 2563 พุ่งกว่า 107% จากปีก่อน รับผลดีจากการควบรวมกับ ธนชาต

สรุปผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของธนาคารทีเอ็มบี โดยกําไรสุทธิ หลังตั้งสํารองฯ และหักภาษี กําไรสุทธิในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ 3,095 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 QoQ แต่เติบโตร้อยละ 61.4 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน สําหรับรอบ 6 เดือน ปี 2563 ธนาคารมีกําไรสุทธิอยู่ที่ 7,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.6 YoY ซึ่งคิดเป็นอัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 7.4

 ขณะที่กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองฯ สําหรับรอบ 6 เดือน ปี 2563 อยู่ที่ 18,653 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.2 YoY ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) จากสภาพเศรษฐกิจที่ ไม่เอื้ออํานวย ธนาคารยังคงความรอบคอบและได้ตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ ECL เป็นจํานวน 4,972 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสก่อน สําหรับ รอบ 6 เดือนปี 2563 ECL อยู่ที่ 9,732 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.8 YoY การตั้งสํารองสูงขึ้นใน ไตรมาสนี้เนื่องจากการตั้ง ECL เพิ่มเติมจํานวน 1.6 พันล้านบาท สําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ ของบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ โดยมูลค่าเงินลงทุนในตราสาร หนี้ของบริษัทการบินไทยมีจํานวนทั้งหมด 3.15 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของพอร์ตเงิน ลงทุนทั้งหมดของธนาคาร ธนาคารไม่มีเงินให้สินเชื่อ ตราสารอนุพันธ์ และรายการนอกงบดุลอื่น ของบริษัทการบินไทย ในส่วนของการบริหารจัดการความเสี่ยง ธนาคารได้ตั้งสํารองเพิ่มเติมไว้เพื่อ บริหารจัดการกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจผ่านกระบวนการ management Overlay เช่นกัน

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2563 สะท้อนวิกฤตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่เงินฝากลูกค้ารายย่อยเติบโตตามเป้าหมาย ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านสภาพคล่องของธนาคารหลังรวมกิจการ ขณะที่เป้าหมายหลักของสินเชื่อคือการปรับปรุงพอร์ต สินเชื่อและเน้นสินเชื่อที่มีคุณภาพมากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน จากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออํานวย การขยายตัวด้านรายได้ รับแรงกดดันจากภาวะดอกเบี้ยขาลง สินเชื่อหดตัว ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมยังคงชะลอตัว ทั้งนี้การรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุน (Cost Synergy) ยังคงทําได้ตามเป้าหมาย

ทีเอ็มบีได้ดําเนินการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) จากแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคที่ ถดถอยอย่างรุนแรงเพื่อบริหารจัดการภาพรวมที่อาจเกิดความไม่แน่นอนในอนาคต ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับต่ำอยู่ที่ ร้อยละ 2.34 เงินฝากลูกค้ารายย่อยขยายตัวตามเป้าหมาย หนุนโดยผลิตภัณฑ์เงินฝากหลักของกลุ่มลูกค้ารายย่อย 

เงินฝากขยายตัวร้อยละ 3.2 YTD มาอยู่ที่ 1,443 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ปัจจัยหลักมาจากผลิตภัณฑ์เงินฝากหลักกลุ่มลูกค้ารายย่อย โดยเงินฝาก No-Fixed และ ME Save เติบโต ร้อยละ 29.1 และร้อยละ 20.8 YTD ตามลําดับ 

ขณะที่เงินฝากเพื่อการทําธุรกรรมเติบโตได้ตามเป้าหมาย หนุนโดยเงินฝาก TMB AI Free ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ เงินฝากเพื่อการทําธุรกรรมหลักของลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 YTD จากการเปิดตัว feature ใหม่ของประกันอุบัติเหตุฟรีสําหรับลูกค้าเงินฝากที่มี ยอดเงินฝาก 5,000 บาทในบัญชี TMB All Free ส่งผลให้เงินฝากลูกค้ารายย่อยอยู่ที่ร้อยละ 74 ของเงินฝากรวม 

อย่างไรก็ดี ธนาคาร ธนาคารยังคงมุ่งปรับ โครงสร้างเงินฝากอย่างต่อเนื่องโดยการทดแทนเงินฝากต้นทุนสูงด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อการออม (hybrid deposit) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนเงินฝากลูกค้า รายย่อยเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอื่นๆ เน้นพอร์ตสินเชื่อที่มีคุณภาพในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวท่ามกลางความกังวลในการแพร่ระบาดของโควิด 19 พร้อม ทั้งการพิจารณาสินเชื่ออย่างระมัดระวังมากขึ้นเพื่อมั่นใจในคุณภาพของพอร์ต ส่งผลให้สินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ลดลงร้อยละ 0.7 อยู่ที่ จํานวน 1,382 พันล้านบาท 

ด้วยเป้าหมายหลักในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด 19 ตามมาตรการความช่วยเหลือของธนาคารแห่ง ประเทศไทย สินเชื่อลูกค้าธุรกิจลดลงร้อยละ 0.9 YTD สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสมด้วยการปรับพอร์ตสินเชื่อที่มี อัตราผลตอบแทนต่ำ สินเชื่อลูกค้ารายย่อยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 YTD จากกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัยทรงตัว YTD พอร์ตสินเชื่อมีความหลากหลายปรับไปยังกลุ่มสินเชื่อลูกค้ารายย่อยหลังการรวมกิจการ โดยสัดส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยอยู่ที่ร้อยละ 56 ของสินเชื่อรวม และมากกว่าร้อยละ 90 ของสินเชื่อลูกค้ารายย่อยเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน 

การเติบโตด้านรายได้ชะลอตัวจากผลกระทบของโควิด 19: แม้ต้นทุนเงินฝากลดลงจากการลดค่าธรรมเนียมนําส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน (FIDF) NIM ลดลง 24 bps อยู่ที่ร้อยละ 2.88 ในไตรมาส 2/2563 การลดลงของ NIM ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ขั้นต่ำตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และปรับการคํานวณดอกเบี้ยแท้จริง (EIR) ภายใต้โปรแกรมช่วยเหลือสําหรับลูกค้าที่ได้รับ ผลกระทบจากโควิด 19 ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 6.9 QoQ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.6 YoY ส่วนใหญ่เป็นผลจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อและมาตรการลดเงินนําส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 

ขณะเดียวกัน รายได้ที่มิใช่ ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 15.8 QoQ อยู่ที่ 3,523 ล้านบาท การชะลอตัวของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยได้รับแรงกดดันจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้า รายย่อยจากการขายแบงก์แอสชัวรันส์และกองทุนรวม ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าธุรกิจชะลอตัวเช่นกัน เป็นผลจากมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุม การแพร่ระบาดของโควิด 19 PPOP ได้รับแรงกดดันจากความท้าทายในการเติบโตด้านรายได้ 

ขณะที่ค่าใช้จ่ายมีการบริหารจัดการที่ดี โดยรายได้รวมลดลงร้อยละ 8.9 QoQ จาก การชะลอตัวของกิจกรรมทางธุรกิจจากวิกฤตโควิด 19 สําหรับการรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุน (cost synergy) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานมีการบริหารจัดการ อย่างดีซึ่งลดลงร้อยละ 6.7 QoQ มาอยู่ที่ 7,776 ล้านบาท สะท้อนให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ไม่รวมผลกระทบการปันส่วนราคาซื้อหลังจากการรวมกิจการ ของธนาคารธนชาต (PPA) ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 44.4 ในไตรมาส 2/2563 ส่งผลให้ PPOP อยู่ที่จํานวน 8,791 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9 QoQ แต่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...

Responsive image

ประกวดนางงาม Miss AI ครั้งแรกของโลก ที่ส่วนใหญ่สร้างตาม Beauty Standard

ตอนนี้มี Miss AI หรือนางงามปัญญาประดิษฐ์ที่จะมาประชันความงามกันบนโลกดิจิทัลแล้ว ด้านผู้จัดการประกวดหวังช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี...