ผลวิจัยพบระบบ AI ครอปรูปของ Twitter อคติทางเพศและสีผิว | Techsauce

ผลวิจัยพบระบบ AI ครอปรูปของ Twitter อคติทางเพศและสีผิว

Twitter แพลตฟอร์มสนทนาทางโซเชียลมีเดียระดับโลกได้เผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับใหม่ ระบุว่าเครื่องมือครอปรูปที่ทำงานโดยอัลกอริทึมนั้นเหยียดสีผิว หลังจากที่ระบบครอปรูปนั้นได้ตัดภาพคนผิวดำและผู้ชายออกไป ทั้งนี้ทางบริษัทเสริมว่า “วิธีการครอปรูปเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นตัดสินใจได้ดีที่สุด”

twitter , ai

โดยรายงานที่ศึกษาโดยนักวิจัยด้าน Machine Learning ทั้ง 3 ท่านได้ทำขึ้นมาหลังจากที่ผู้ใช้บัญชีทาง Twitter ได้ออกมาวิจารณ์ว่าระบบการครอปภาพอัตโนมัติของ Twitter มีความลำเอียง แสดงให้คนเห็นเฉพาะคนผิวขาว และตัดภาพคนที่มีผิวดำออกไป ผลลัพธ์ของงานวิจัยได้ปรากฎว่าระบบอัลกอริทึมเลือกครอปรูปแสดงผลภาพผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย 8% และแสดงผลภาพของคนผิวขาวได้ดีกว่าคนผิวดำ 4% 

ทั้งนี้ ในรายงานวิจัยได้อ้างอิงปัจจัยที่เป็นไปได้หลายประการ ซึ่งรวมไปถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาพหลังของรูป และสีตา โดยย้ำว่าเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่ข้ออ้างแต่อย่างใด 

นอกจากนี้ ทางนักวิจัยได้จับข้อสังเกตอีกประการหนึ่งด้วยว่า ระบบการครอปภาพของอัลกอริทึมยังเน้นไปที่การครอปพรีวิวให้เห็นรูปร่างของผู้หญิงมากกว่าในส่วนของศีรษะของผู้หญิง ชี้ให้เห็นถึงผู้สร้างที่มีทัศนะการจับจ้องแบบผู้ชาย (Male Gaze) ถือได้ว่ารายงานนี้เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์ที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างว่าอาจมีอคติทางเพศและสีผิวได้ 

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว Twitter จีงพยายามเปลี่ยนฟีเจอร์แสดงรูปภาพแบบเต็มขนาดบนแพลตฟอร์มในระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน แทนที่จะครอปรูปเหมือนในอดีต เพื่อลดความอคติที่เกิดขึ้นจากระบบอัลกอริทึมให้ได้มากที่สุด

ไม่ใช่แค่เพียง Twitter ที่ประสบกับประเด็นอคติทางเพศและสีผิว ก่อนหน้านี้ Google ก็เกิดความผิดพลาดทางเทคนิคในการใช้อัลกอริทึมระบุอุปกรณ์ในรูปภาพ โดยระบุว่าอุปกรณ์ที่คนผิวดำถือเป็นอาวุธปืน ขณะเดียวกัน เมื่อคนผิวขาวถืออุปกรณ์เช่นเดียวกันกับคนผิวดำ Google กลับระบุว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ Google ถูกโจมตีอย่างหนัก และประเด็นอคติทางสีผิวของปัญญาประดิษฐ์เป็นที่พูดถึงในวงกว้างมากขึ้น  

นอกจากนี้ก่อนหน้าเมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา Timnit Gebru นักวิจัยด้านจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์ (AI ethics ) ได้ถูกไล่ออกจาก Google และยังถูกสั่งถอนงานวิจัยออก เนื่องจากก่อนหน้านี้ Gebru ได้พยายามที่จะตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเสี่ยงและแนวทางการแก้ไข หาก AI มีความผิดพลาดกรณีที่มนุษย์ได้ให้ความไว้ใจ จากการที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มันสามารถประมวลภาษาธรรมชาติได้ดีขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Timnit Gebru เธอมีผลงานสร้างชื่อจากงานวิจัยที่ได้ร่วมทำกับ Joy Buolamwin นักวิจัยของ Microsoft เมื่อปี 2018 ถึงกรณีอคติของ AI ที่มีต่อการจดจำใบหน้าของคนผิวสีได้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าคนผิวมากไปมาก ส่งผลให้ทั้งวงการ AI ได้เกิดการตั้งคำถามและศึกษาถึงกรณีดังกล่าวมากขึ้น 


อ้างอิง reuters


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...