Uber ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอปรับกฎหมายบริการร่วมเดินทาง | Techsauce

Uber ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอปรับกฎหมายบริการร่วมเดินทาง

Uber เสนอปรับกฎหมายบริการร่วมเดินทาง ได้ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสนับสนุนการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบันรองรับบริการร่วมเดินทางผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ขณะนี้มีประชาชนมากกวา่ 51,000 คนร่วมลงชื่อเห็นด้วย

เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและนโยบายของบริษัท Uber ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติ เพื่อขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นตัวแทนประชาชนในการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2522) ให้รองรับการร่วมเดินทางผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นตัวแทนในการรับหนังสือ

โดยคุณเอมี่ กล่าวว่า "Uber ขอขอบคุณทุกเสียงสนับสนุนของคนไทย ที่มีต่อบริการร่วมเดินทางด้วยดีมาโดยตลอด จนล่าสุด Uber ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากกว่า 51,000 รายชื่อผ่านทางเว็บไซต์ https://action.uber.org/th/  ทุกเสียงที่ร่วมลงชื่อคือกำลังใจของเราที่จะมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้มีกฎหมายรองรับบริการร่วมเดินทางในประเทศไทยอย่างเป็นทางการให้สมกับที่คนไทยรอคอย"

"Uber ได้เข้าพบท่านรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสู่การปรับปรุงกฎระเบียบรองรับบริการร่วมเดินทางให้คนไทยสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางได้อย่างเต็มที่ผ่านทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เปรียบเสมือนตัวแทนของประชาชนคนไทย"

นางเอมี่กล่าวอีกว่า "Uber มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้ไปถึงเป้าหมายและโดดเด่นอยู่ระดับแถวหน้าของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ให้กับประชาชน สังคม ทั้งนี้ประเทศในอาเซียนเกือบทั้งหมดได้มีการยอมรับการให้บริการร่วมเดินทางเเล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ และเวียดนาม"

Uber ได้เปิดให้บริการเทคโนโลยีร่วมเดินทางแก่ผู้คนในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี 3 เดือนแล้ว และในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2560 มีคนมากกว่า 1.3 ล้านคนเปิดแอปพลิเคชัน Uber ทั่วประเทศไทย ด้วยการเข้ามาเติมเต็มระบบขนส่งสาธารณะ สร้างประสบการณ์ใหม่และแก้ไขปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทาง รวมถึงการสร้างความปลอดภัยของผู้โดยสารผ่านเทคโนโลยี ที่สำคัญคือมีส่วนให้โอกาสในการสร้างรายได้เสริมของประชาชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการลดปัญหาการจราจรและมลพิษทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการประจำประมาณ 400,000 คนในประเทศไทย ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา

"Uber หวังว่าทางภาครัฐจะมองเห็นถึงโอกาสและความเป็นไปได้อีกมากที่ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีร่วมเดินทางเพื่อคนไทยทุกคน เพื่อนักทอ่งเที่ยว เพื่อเศรษฐกจิสังคมและเพื่อประเทศของเรา" นางเอมี่ กล่าว

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...