จากที่ได้ไปสำรวจศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Unified Operation Center: UOC) ของ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA Group) ต่อด้วยการเดินทางไปดูการบริหารจัดการภายในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง ในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2567 ช่วยให้คณะสื่อมวลชนเห็นและเข้าใจหลักการบริหารจัดการสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืนในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้ WHA Group และชุมชนโดยรอบ ว่าดำเนินการตามหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
WHA Group เปิด 'ต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมสีเขียว' ให้คณะสื่อมวลชนได้เยี่ยมชมการบริหารจัดการสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจาก
คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มุ่งมั่นที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า นิคมอุตสาหกรรมสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน ในรูปแบบของเครือข่ายที่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการดูแลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ด้วยแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การวางนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล การสร้างจิตสำนึกร่วมกันในเรื่องความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสนับสนุนให้คู่ค้า พันธมิตร และลูกค้าให้ปรับปรุงยกระดับกระบวนการดำเนินการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย จนถึงวันนี้ เราสามารถบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการใช้พลังงานหมุนเวียน การบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระบบนิเวศของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ตามหลักการ Circular Economy”
WHA Mega Logistics Center อาคาร B เป็นคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ กม. 21 จังหวัดสมุทรปราการ การออกแบบและพัฒนาภายใต้หลักการอาคารสีเขียว เพื่อควบคุมตั้งแต่การใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จนถึงการจัดการของเสีย สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) ความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดโดยสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) ครอบคลุมตั้งแต่ด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพของอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้อาคาร ซึ่งถือเป็นการช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมคลังสินค้าของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
นิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ให้ความสําคัญกับการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ ด้วยการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม รวมไปถึงจัดหาแหล่งน้ำสํารอง และดูแลคุณภาพน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกพื้นที่อุตสาหกรรม ในฐานะผู้ให้บริการและผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม และผู้ให้บริการบําบัดน้ำเสียครบวงจร มีการวางแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมฯ และเพื่อส่งเสริมทรัพยากรน้ำให้กับชุมชนข้างเคียง ด้วยแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการจัดหาแหล่งน้ำ การผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรม การบําบัดน้ำเสีย และการนําน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การลดการสูญเสียน้ำในระบบผลิตและจ่ายน้ำ
รวมถึงการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้บริหารจัดการน้ำอย่างหลากหลาย ได้แก่ กระบวนการอัลตราฟิลเตรชันและรีเวิร์สออสโมซิส ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง แบบใช้ถังตกตะกอน แบบบึงประดิษฐ์ และแบบบ่อเติมอากาศ ตลอดจนริเริ่มโครงการ Clean Water For Planet เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบบําบัดน้ำเสียให้ชุมชนโดยรอบและบุคคลภายนอก นับจากโครงการนำน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ที่ริเริ่มในปี 2560 ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด)
นอกจากนั้น ยังมีโครงการ Demineralized Reclaimed Water ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตน้ำทางเลือก โดยปรับปรุงคุณภาพน้ำจากระบบบําบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาผลิตเป็นน้ำเพื่ออุตสาหกรรมปราศจากแร่ธาตุจําหน่ายให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ
สำหรับไฟฟ้า บริษัทฯ เน้น 'การพัฒนาพลังงานทดแทน' เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน รวมถึงลดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ และตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายรูปแบบ อาทิ
ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มีความมุ่งมั่นในการสร้างสังคม ชุมชนและประเทศให้ดียิ่งขึ้น จึงได้ริเริ่ม โครงการปันกัน เพื่อช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายของชาวชุมชนในท้องถิ่นภายในพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ผ่านแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ ซึ่งช่วยอนุรักษ์วิชาชีพ หัตถกรรม งานประดิษฐ์ คหกรรมอาหาร อาหารพื้นบ้าน ของชุมชนท้องถิ่น และยังช่วยประชาสัมพันธ์ให้แก่ชาวชุมชนอีกด้วย อาทิ กลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านชากมะหาด อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่นำ 'ผักตบชวา' วัชพืชที่มีมากในชุมชนมาสานเป็น 'ชื่นชวา' ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อาทิ กระเป๋า รองเท้า หมวก ตะกร้า หมอน และส่งต่อทักษะความรู้ระหว่างกันภายใต้แนวคิด 'ชาวบ้านสอนชาวบ้าน'
“ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจต้องควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความมุ่งมั่นสู่การเป็น 'The Ultimate Solution for Sustainable Growth' ผ่านพันธกิจ WHA:We Shape The Future ที่มุ่งเน้นการสร้างอนาคตให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราพร้อมเสมอที่จะร่วมจับมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ซี่งที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าความสำเร็จเกิดขึ้นจริงจากความร่วมมือของทุกคนที่พร้อมจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนวาระความยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมาย” คุณจรีพรกล่าว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด