สรุป 10 จุดแข็ง Llama 3.1 คืออะไร โมเดล AI ใหญ่และดีที่สุด จาก Meta | Techsauce

สรุป 10 จุดแข็ง Llama 3.1 คืออะไร โมเดล AI ใหญ่และดีที่สุด จาก Meta

Meta ไม่ได้หายไปไหน ขอร่วมวงสู้ศึก AI ด้วย แม้ก่อนหน้านี้จะดูเหมือนว่าบริษัทกำลังตามหลังคู่แข่ง แต่ล่าสุดได้เปิดตัวโมเดล Llama 3.1 ที่ Meta ชี้ว่าคือโมเดล AI แบบ Open Source ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเก่งที่สุด 

จากการทดสอบพบว่า Llama 3.1 มีความสามารถในหลายๆ ด้านเหนือกว่าโมเดล AI ดังๆ อย่าง GPT-4o ของ OpenAI และ Claude 3.5 Sonnet ของ Anthropic ซึ่งเป็นโมเดลแบบปิด แต่จะดีที่สุดอย่างที่บริษัทได้เคลมไว้หรือไม่ Techsauce จะพามาหาคำตอบ

สรุป 10 จุดแข็งของ Llama 3.1 คืออะไร

1. โมเดล Open Source : Llama 3.1 มาในรูปแบบของโมเดล Open Source ซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถเข้าถึง ใช้งาน และนำไปปรับแต่งได้ฟรี สามารถดาวน์โหลดได้บน https://llama.meta.com/ และ Hugging Face 

2. มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีถึง 405 พันล้านพารามิเตอร์ : Llama 3.1 เป็นโมเดล AI แบบโอเพ่นซอร์สที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จำนวน 405 พันล้านพารามิเตอร์ (พารามิเตอร์เปรียบเสมือน 'เซลล์ประสาท' ของ AI ที่ช่วยให้เรียนรู้และตัดสินใจได้ดี) 

3. รองรับถึง 8 ภาษา ภาษาไทยก็มี :  ภาษาที่ Llama 3.1 สามารถเข้าใจได้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส, ฮินดี, สเปน รวมถึงไทย 

4. ความยาวบริบทที่มากขึ้นถึง 128K tokens : สามารถรองรับข้อมูลที่มีความยาวได้ถึง 128,000 คำหรือตัวอักษร ทำให้เหมาะสำหรับงานต่างๆ เช่น การสรุปข้อความที่ยาว ๆ

5. ผ่านการฝึกให้ไม่ตอบ prompt ที่เป็นอันตราย : Meta แนะนำว่าควรใช้งานร่วมกับ Prompt Guard ระบบป้องกัน prompt injection และ Llama Guard 3 โมเดลเพื่อความปลอดภัยทางภาษา

6. การปรับใช้ที่ยืดหยุ่น : โมเดล Llama 3.1 สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ภายในองค์กร (ในเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท) ในระบบคลาวด์ หรือแม้แต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือแล็ปท็อป

7. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล : ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องแชร์ข้อมูลของตนกับ Meta ทำให้สามารถใช้โมเดล Llama 3.1 ได้อย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

8. การร่วมมือกับบริษัทต่างๆ : มีระบบนิเวศ (ecosystem) ที่พร้อมสำหรับการพัฒนาและใช้งาน โดยมีพาร์ทเนอร์ชั้นนำอย่าง AWS, NVIDIA, Microsoft Azure, Databricks, Google Cloud, Groq, IBM

9. มีเครื่องมือด้านความปลอดภัย : เช่น Llama Guard 3 และ Prompt Guard เปิดให้นักพัฒนาสามารถดาวน์โหลดและปรับแต่งโมเดลได้อย่างอิสระ

10. อัปเกรดรุ่น 8B และ 70B: โมเดลขนาดเล็กที่มีพารามิเตอร์ 8 พันล้านและ 70 พันล้านตามลำดับ ทั้ง 2 ตัวได้รับการอัปเกรดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเข้าใจงานที่ซับซ้อนได้ดีกว่าเดิม เช่น การเขียนโค้ด หรือการใช้เหตุผล

และนี่ก็คือจุดแข็งของโมเดลตัวใหม่ล่าสุดจาก Meta ซึ่งสาเหตุหลักที่เปิดเป็นแบบ Open Source ทางบริษัทเผยว่า โมเดล AI แบบเปิดนั้นมีโอกาสพัฒนาได้เร็วกว่าโมเดลแบบปิด เนื่องจากนักพัฒนาและนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงโมเดลนี้ได้

Mark Zuckerberg CEO ของ Meta ก็ชี้ว่า บริษัทต้องการลดการพึ่งพาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายอื่นๆ ดังนั้น เทคโนโลยีอย่าง AI ที่กำลังจะก้าวมามีบทความสำคัญเทียบเท่าสมาร์ตโฟน Meta จึงต้องการที่จะพัฒนามันด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ตอนนี้เปิดให้ใช้บน https://llama.meta.com/ และ Hugging Face 

อ้างอิง: theverge , ai.meta 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

Bukboek Sengpratoom
Bukboek Sengpratoom
3 m. ago

good  

kmutnb 

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...