Travel Bubble คืออะไร ช่วยกู้ชีพให้ธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างไร? | Techsauce

Travel Bubble คืออะไร ช่วยกู้ชีพให้ธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างไร?

เมื่อการการระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่ได้ส่งผลแค่ 1 หรือ 2 ประเทศเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบทั่วโลก แน่นอนว่าหลาย ๆ อุตสาหกรรมได้รับแรงกระทบอย่างมหาศาล แต่ภาคส่วนที่ดูเหมือนจะน่าเป็นห่วงมากที่สุดก็อาจจะเป็นภาค “การท่องเที่ยว” จากความกังวลในความเสี่ยงการติดเชื้อ ทำให้ความมั่นใจในการเดินทางนั้นลดน้อยลงแทบเป็นศูนย์ รวมทั้งมาตรการการปิดประเทศที่ได้เข้ามาซ้ำเติม ทำให้ในบางประเทศนั้นไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเลยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ “Travel Bubble” ที่จะทำให้โอกาสในการท่องเที่ยงระหว่างประเทศนั้นกลับมา

รู้จัก Travel Bubble 

Travel Bubble ก็คือการที่กลุ่มประเทศนั้นตกลงที่จะเปิดประเทศให้แก่กันและกัน เพื่อที่จะให้ผู้คนนั้นสามารถเดินทางไปในอีกประเทศหนึ่งได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน ในการทำ Travel Bubble นี้แน่นอนว่าจะต้องใช้ความเชื่อมั่นและความเชื่อใจในการควบคุมไวรัสในอีกประเทศหนึ่งมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตรวจสอบ การติดตาม และการกักตัวที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทาง Per Block นักวิจัยจาก Oxford ก็ได้เผยว่าวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ “ทั้งสองประเทศนั้นจะต้องไม่มีจำนวนเคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเลย” รวมถึงจะต้องไม่อนุญาติประเทศอื่น ๆ เข้ามาอีกด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้คนสามารถเดินทางและกักตัวได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้นและยังปลอดภัย รวมถึงการทำ Travel Bubble นั้นอนุญาติให้คนแต่ละประเทศนั้นสามารถเดินทางได้ ซึ่งก็หมายความว่าการทำเช่นนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ประเทศที่เริ่มนำ Travel Bubble มาใช้

ในตอนนี้ก็ได้มีประเทศที่เริ่มสนใจในการทำ Travel Bubble บ้างแล้ว อย่างเช่นประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งสองประเทศนี้ก็เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สามารถจะจัดการและควบคุมสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ออสเตรเลียมีเคสผู้ติดเชื้อใหม่ 15 รายและนิวซีแลนด์มีศูนย์ราย) ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้เตรียมวางแผนที่จะอนุญาติให้ผู้พักอาศัยในสองประเทศนี้เดินทางไปกลับได้ ซึ่งจาก CNN เผยว่าชาวออสเตรเลียจำนวนกว่า 40% นั้นเดินทางไปยังนิวซีแลนด์  “ถ้าสองประเทศนี้สามารถแสดงว่าการทำ Travel Bubble นั้นเป็นไปได้ ประเทศอื่น ๆ ก็อาจจะนำวิธีนี้ไปใช้เช่นกัน” ซึ่งหากจำนวนผู้ติดเชื้อในออสเตรเลียนั้นเหลือศูนย์ ทั้งสองประเทศก็อาจจะทำข้อตกลงอย่างเสร็จสมบูรณ์

นอกเหนือจากนี้ประเทศในกลุ่มประเทศบอลติกอย่าง เอสโทเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ก็ได้เริ่มเปิดประเทศเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ผู้ทำพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้สามารถเดินทางไปยัง 3 ประเทศนี้ได้ ในส่วนของฟินแลนด์และโปแลน หากจำนวนผู้ติดเชื้อนั้นเหลือน้อยลง ก็อาจจะเข้าร่วมในกลุ่มประเทศบอลติกเช่นกัน 

ในส่วนของเช็กเกียก็ได้เริ่มวางแผนที่จะเปิดประเทศในวันที่ 8 มิถุนายนนี้แล้ว ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาในประเทศจะต้องมาจากประเทศที่อยู่ในระดับปลอดภัยแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มประเทศออสเตรีย สโลวาเกีย และโครเอเชีย ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่ และประเทศเยอรมันก็กำลังวางแผนการเปิดประเทศกับฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้หากมีการควบคุมไวรัสที่มีประสิทธิภาพ

ไทยเตรียมจับคู่การท่องเที่ยว

ปฎิเสธไม่ได้ว่าไทยนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมาก และแน่นอนว่าก็ได้รับผลกระทบมากเช่นกัน ในการเข้าช่วยเหลืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประเทศไทยก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจับคู่การเดินทางเช่นกัน ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้นเผยว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยนั้นดีขึ้นแล้ว จากการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ติดเชื้อส่วนมากนั้นเป็นผู้ติดเชื้อที่เข้ามาจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งการทำ Travel Bubble ของไทยนั้นถึงแม้จะอยู่ในขึ้นตอนการหารือ แต่ก็คาดว่าจะสามารถเริ่มได้ในปลายปีนี้


อ้างอิง: SmithsonianMagazineTheBangkokInsight 







ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คุยนายกฯ พบแฟนเกม สูดหงส์ไทย สรุปภารกิจ Jensen Huang บุกไทยวันแรก

หลังจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการรายงานของ Bloomberg ที่เปิดเผยว่า Jensen Huang มีแผนเยือนประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคม 2024 ล่าสุดวันนี้ (3 ธันวาคม 2024) ซีอีโอของ NVIDIA รายนี้...

Responsive image

เจาะลึก Central ชิดลมโฉมใหม่ หลังทุ่ม 4,000 ล้าน รีโนเวทครั้งใหญ่ สู่ "The Store of Bangkok" เสริฟ์ความลักซูระดับโลก

ห้างเซ็นทรัลชิดลม (Central Chidlom) ในเครือเซ็นทรัล รีเทล หนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ครองใจนักช้อปชาวไทยและต่างชาติมาอย่างยาวนาน กำลังก้าวสู่บทบาทใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ด้วยการทุ่มง...

Responsive image

Siriraj x MIT Hacking Medicine: จุดประกายนวัตกรรม เพื่อผู้สูงวัยในโลกยุคใหม่

Siriraj x MIT Hacking Medicine ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงาน Hackathon ต่อยอดนวัตกรรมเพื่อยกระดับการดูแลผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนา...