Workpoint ประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 2/63 เหลือ 2 ล้านบาท เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ | Techsauce

Workpoint ประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 2/63 เหลือ 2 ล้านบาท เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ

บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) Workpoint รายงานผลประกอบการสําหรับงวดสามเดือน สิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน 2563 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 โดยมี ผลการดําเนินงานสรุปดังนี้ ผลการดําเนินงานของบริษัทตามงบการเงินรวมสําหรับงวดสามเดือน สิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน 2563 มีผลกําไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่เท่ากับ 2.03 ล้านบาท ลดลง 70.54 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 97 จากช่วงเวลา เดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีผลกําไรสุทธิเท่ากับ 72.56 ล้านบาท

workpointรายได้ ไตรมาส 2/63  ลด 238 ล้านบาท ตามสภาพเศรษฐกิจในและต่างประเทศ

บริษัทมีรายได้รวมตามงบการเงินรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 (ไม่รวมรายได้อื่น) เท่ากับ 469.28 ล้านบาท ลดลง 284.16 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 38 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีรายได้รวม (ไม่รวมรายได้อื่น) ตามงบการเงินรวมเท่ากับ 753.44 ล้านบาท โดยบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละธุรกิจดังต่อไปนี้

รายได้จากธุรกิจรายการโทรทัศน์

รายได้จากธุรกิจรายการโทรทัศน์ ประกอบด้วย รายได้จากการขายโฆษณาและโปรโมทในช่วงเวลาต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ของบริษัท (ช่อง WORKPOINT) และ ช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ของบริษัท รวมถึง รายได้จาก การให้เช่าช่วงเวลาให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อออกอากาศรายการโทรทัศน์ในช่อง WORKPOINT, รายได้จากการรับจ้าง ผลิตรายการเพื่อออกอากาศในช่อง WORKPOINT และ รายได้จากการจําหน่ายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ

โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 บริษัทมีรายได้จากรายการโทรทัศน์รวมเท่ากับ 348.11 ล้านบาท ลดลงจาก ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 เท่ากับ 249.66 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 42 ทั้งนี้การลดลงของรายได้ธุรกิจ รายการโทรทัศน์ของบริษัทนั้น เป็นผลมาจากการลดลงของทั้งรายได้จากช่อง WORKPOINT และรายได้จากการ จําหน่ายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 กระทบสภาพ เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

รายได้จากการรับจ้างจัดงาน

รายได้จากการรับจ้างจัดงานของบริษัท ประกอบด้วย รายได้จากการจัดงาน Event ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการรับจ้าง ผลิตให้แก่บุคคลภายนอกและจัดขึ้นเองโดยบริษัท โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 นั้น บริษัทมีรายได้จากการรับจ้างจัดงาน ทั้งสิ้น 11.29 ล้านบาท ลดลง 72.58 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 87 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีรายได้ เท่ากับ 83.87 ล้านบาท โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 นั้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ลูกค้าหลายรายได้ยกเลิกการจ้างจัดงานต่างๆ รวมถึงบริษัทไม่สามารถดําเนินการจัดงาน Event ต่างๆ ของบริษัทตาม กําหนดการเดิมได้

รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวที

รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวทีของบริษัท ประกอบด้วยรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและละครเวทีที่ บริษัทจัดขึ้นเอง และรายได้จากผู้ให้การสนับสนุนสปอนเซอร์โรงละคร ทั้งนี้บริษัทมีรายได้จากคอนเสิร์ตและละครเวที ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เท่ากับ 4.26 ล้านบาท ลดลง 20.68 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 83 จากช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2562 ซึ่งมีรายได้เท่ากับ 24.95 ล้านบาท โดยในไตรมาส 2 ปี 2553 นี้ บริษัทไม่สามารถใช้สถานที่จัดงานแสดงของ บริษัทเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่น

รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่น สามารถแยกได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. รายได้จากการขายสินค้า ซึ่ง ประกอบด้วยรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามภายใต้แบรนด์ “Let Me In Beauty” และ “Me Vio, รายได้จากการขายสินค้า Studio Shop และรายได้จากการขายสินค้าฝากขายผ่านทางรายการ “1346 Hello Shops” ในช่อง WORKPOINT และ 2. รายได้จากการให้บริการอื่น โดยรายได้หลักประกอบด้วย รายได้จากการให้บริการเช่าพื้นที่โรง ละคร, รายได้จากการบริการจัดหานักแสดง และรายได้จากการให้บริการประชาสัมพันธ์เพื่อจําหน่ายสินค้า ทั้งนี้บริษัทมี รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่นในไตรมาส 2 ปี 2563 เท่ากับ 105.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.75 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 125 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีรายได้เท่ากับ 46.86 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมา จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการประชาสัมพันธ์เพื่อจําหน่ายสินค้าให้แก่บุคคลภายนอกเป็นหลัก

ต้นทุนไตรมาส 2/63 ลดลง 172 ล้านบาท หลังรายจ่ายค่าใบอนุญาตลดลง

ในไตรมาส 2 ปี 2563 นั้น บริษัทมีต้นทุนผลิตทั้งสิ้น 271.40 ล้านบาท ลดลง 172.38 ล้านบาท หรือลดลงคิด เป็นร้อยละ 39 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ที่มีต้นทุนผลิตเท่ากับ 443.78 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของค่าตัดจําหน่ายใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลง ของมูลค่าของสินทรัพย์ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล นอกจากนี้ต้นทุนจากธุรกิจ รายการโทรทัศน์ได้ลดลงจากการปรับลดอัตราการนําส่งเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. (USO Fund) และค่าโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล (MUX) ที่ลดลงทั้งจํานวนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 เป็นต้นไป

ข้อมูลจาก SET






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อาเซียนรับกรรม ในบทบาท ‘ถังขยะโลก’ สังเวยชีวิตคนสิ่งแวดล้อม ด้วยการค้าขยะผิดกฎหมาย

ประเทศอาเซียนรับกรรม กลายเป็นถังขยะโลก จากการ ‘ค้าขยะ’ ผิดกฎหมายที่มาจากยุโรป สะท้อนกฎหมายอ่อนแอ ไร้ระบบจัดการขยะแบบยั่งยืน...

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...