สรุปประเด็นสำคัญ AI Act กฎหมายปัญญาประดิษฐ์ฉบับแรกของโลก | Techsauce

สรุปประเด็นสำคัญ AI Act กฎหมายปัญญาประดิษฐ์ฉบับแรกของโลก

สหภาพยุโรปก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแซงหน้าสหรัฐอเมริกาและจีน หลังจากการประชุมใหญ่ที่ยาวนานกว่า 37 ชั่วโมงระหว่างรัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพื่อบรรลุข้อตกลงในการออกกฎหมายควบคุม AI ฉบับแรกของโลก ที่เรียกว่า AI Act

AI Act กฎหมายปัญญาประดิษฐ์ฉบับแรกของโลก

ย้อนไปเมื่อปี 2021 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอร่างกฎหมาย AI ฉบับแรกของโลก ไว้แล้ว ว่าด้วยเรื่องการควบคุมกลุ่มเทคโนโลยี AI ที่มีความเสี่ยงสูง (high-risk AI applications) และป้องกันการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในการละเมิดค่านิยมของสหภาพยุโรปหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดทั้งปี

ในปี 2022 สภายุโรปเห็นชอบร่างกฎหมาย AI Act ดังกล่าว นำไปสู่การเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงระหว่างสมาชิก และในการประชุมที่บรัสเซลส์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายกำกับดูแล AI ฉบับแรกของโลก และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปี 2025

AI Act จะควบคุมด้านไหนบ้าง ?

เป้าหมายของ AI Act คือ การควบคุมการใช้ AI ในยุโรปให้อยู่ภายใต้กรอบความปลอดภัย เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คน สนับสนุนประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถพัฒนา เติบโต และขยายตัวภายใต้การควบคุมได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น AI ACT จึงไม่ใช่แค่กฎหมายที่ร่างขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการใช้งานอย่างถูกต้องและมีจริยธรรมเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และทำให้ยุโรปเป็นผู้นำทางด้านนี้อีกด้วย

AI Act มีมาตราการในการควบคุมอย่างไร ?

คณะเจรจาจากรัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิกระบุเอาไว้ว่า “กฎหมายดังกล่าว กำหนดพันธกรณีสำหรับ AI โดยจะพิจารณาจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและระดับของผลกระทบ” ซึ่งหมายความว่า ข้อกำหนดของ AI Act จะพิจารณาจากความเสี่ยงและอิทธิพลของปัญญาประดิษฐ์ชนิดนั้น ๆ ว่าจะมีอันตรายหรือสามารถส่งผลกระทบได้มากน้อยเพียงใด ข้อกำหนดและข้อปฏิบัติจึงจะมีความเข้มงวดแตกต่างกันไปตามระดับความสามารถของ AI แต่ละชนิด 

มาตรการไหนที่ส่งเสริมธุรกิจในการพัฒนา AI

สมาชิกของรัฐสภายุโรป (MEP) เปิดเผยว่า กฎหมายดังกล่าวต้องการให้ธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถสร้างและใช้ AI ได้ โดยลดแรงกดดันจากบริษัทขนาดใหญ่ที่ควบคุมการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จึงได้จัดตั้ง ‘Regulatory Sandboxes’ และ ‘Real-World-Testing’ ขึ้น เพื่อพัฒนาและฝึกอบรม AI เชิงนวัตกรรม ก่อนที่จะวางตลาด

ธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถพัฒนาและทดลองใช้เทคโนโลยี AI ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ก่อนที่จะออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ คล้ายกับพื้นที่ปลอดภัยสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการสำรวจและใช้ AI โดยไม่ต้องเผชิญกับแรงกดดันมากเกินไปจากบริษัทขนาดใหญ่

AI Act ห้ามอะไรบ้าง ?

มี AI บางประเภทที่ทางสหภาพยุโรปลงความเห็นว่าอาจเป็นภัยต่อสิทธิของพลเมืองและประชาธิปไตย สมาชิกสภานิติบัญญัติร่วมจึงตกลงที่จะสั่งห้าม 6 สิ่งนี้

  1. Biometric Categorisation Systems หรือระบบที่จัดหมวดหมู่บุคคลตามคุณลักษณะทางชีวมิติ (ทางกายภาพหรือพฤติกรรม) เช่น ลายนิ้วมือหรือลักษณะใบหน้า และการใช้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น มุมมองทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อทางปรัชญา รสนิยมทางเพศ หรือเชื้อชาติ
  2. Untargeted Scraping of Facial Images หรือการคัดลอกภาพใบหน้าจากอินเทอร์เน็ตหรือภาพวงจรปิด โดยเฉพาะเจาะจงที่ใคร และนำภาพเหล่านั้นมาสร้างฐานข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition)
  3. Emotion recognition หรือระบบการจดจำอารมณ์ความรู้สึก เช่น การใช้กล้องหรือเซ็นเซอร์อื่นๆ เพื่อตรวจจับการแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย หรือสัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าใครบางคนรู้สึกอย่างไร
  4. Social Scoring หรือการใช้ AI ในการให้คะแนนบุคคลจากพฤติกรรมทางสังคมหรือลักษณะส่วนบุคคล
  5. ระบบ AI ที่บิดเบือนพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อหลีกเลี่ยงเจตจำนงเสรี คือระบบ AI ที่ถูกนำมาใช้ชี้นำหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อจำกัดเสรีภาพในการตัดสินใจ
  6. AI ใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์จากความเปราะบางของผู้คน เช่น อายุ ความพิการ สถานการณ์ทางสังคม หรือเศรษฐกิจ (ข้อกังวลด้านจริยธรรมในการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและยุติธรรม)

กรณีใดบ้างที่มีข้อยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย AI ?

การใช้ระบบระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ (RBI) ในที่สาธารณะโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย คือหนึ่งในกรณีที่ได้รับการยกเว้น ซึ่งก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากศาล และสามารถใช้ได้เฉพาะกับอาชญากรรมบางประเภทตามที่กำหนดไว้ในรายการเท่านั้น 

โดยกฎหมายได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งานระบบระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ ไว้ดังนี้

  • ใช้เพื่อค้นหาบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม เช่น การลักพาตัว การค้ามนุษย์ หรือการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
  • ใช้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากการก่อการร้าย (เหตุการณ์อันตรายที่ใกล้จะเกิดขึ้นและสามารถระบุได้อย่างชัดเจน)
  • ใช้เพื่อค้นหาหรือระบุบุคคลที่ต้องสงสัยว่าก่ออาชญากรรมร้ายแรงบางอย่าง เช่น การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ การฆาตกรรม หรือการลักพาตัว 

นอกจากนี้ประชาชนจะมีสิทธิยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับระบบ AI เพื่อขอคำอธิบายหากสงสัยว่า AI มีความเสี่ยงสูง และอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของตนเอง 

สำหรับ AI Act ฉบับนี้จำเป็นต้องได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากทั้งรัฐสภาและสภาจึงจะกลายเป็นกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะมีการจัดประชุมขึ้นเพื่อให้รัฐสภาลงคะแนนเสียงในกฏหมายฉบับนี้

อ้างอิง: theguardian, europarl.europa, europetouch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...