จากการแข่งขันการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Action-learning) ของโครงการ Business Triathlon 2021 by Sasin ที่ผ่านมา เราได้ร่วมสัมภาษณ์เบื้องหลังความสำเร็จ และความรู้สึกในการเข้าร่วมการแข่งขันของผู้ชนะเลิศทั้ง 3 ทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีม 15 Reason Why ได้แข่งขันภายใต้โจทย์จากดีแทค (dtac) ทีม Mockingjay ภายใต้โจทย์จากโลตัส (Lotus) และทีม Panacea ภายใต้โจทย์จากไทสัน ฟู้ดส์ (Tyson Foods) เพื่อชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท ในวันที่ 28 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา
ทีม Mockingjay: สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับพวกเราคือการจัดการเวลาให้เหมาะสม เนื่องจากพวกเรากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ซึ่งต้องเรียนออนไลน์เป็นหลัก ประกอบกับต้องฝึกงานไปด้วยทำให้มีเวลาในการคิดวิเคราะห์โจทย์การแข่งขันที่ค่อนข้างน้อย
ทีม 15 Reason Why: พวกเราเต็มที่กับการแข่งขันทุกรอบ และนำข้อติชมมาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ความพยายามและการทำงานหนักตลอดระยะเวลา 42 วัน ทำให้พวกเราคว้าชัยชนะในครั้งนี้ได้
ทีม Panacea: การรวมตัวของพวกเราทั้ง 3 คนที่มีความสามารถที่หลากหลายและโดดเด่นแตกต่างกันไป เช่น ความสามารถด้านการออกแบบ ความสามารถด้านการวิเคราะห์ และความสามารถด้านการค้นคว้าหาข้อมูล ส่งผลให้ทีมเราเป็นทีมที่มีทักษะรอบด้านและมี Workflow ที่ดี
ทีม Mockingjay: ความอดทนและการทำงานหนักของพวกเราเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราสามารถคิดแผนธุรกิจที่สามารถชนะใจกรรมการได้
ทีม 15 Reason Why: ทีมได้นำเสนอแผนธุรกิจที่ทำให้ดีแทค สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์และขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น ผ่านการนำแพคเกจการบริการต่าง ๆ ที่ดีแทคมีอยู่ มารวมกันเป็นชุดและขายในราคาที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานจริง (Bundle Deal)
ทีม Mockingjay: แผนธุรกิจของพวกเราคือการช่วยให้โลตัส มีฐานลูกค้าในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้ง B2B และ B2C พร้อมทั้งช่วยให้ลูกค้ามาใช้บริการที่โลตัสได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยการนำเสนอไอเดียที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application หรือบริการ Drive-thru
ทีม Panacea: พวกเรานำเสนอแผนธุรกิจที่จะช่วยให้ไทสัน ฟู้ดส์ มีลูกค้าในประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการเพิ่มความตระหนักของแบรนด์ (Raise Brand Awareness) ที่จะส่งผลให้คนไทยรู้จักและหันมาบริโภคสินค้าของไทสัน ฟู้ดส์ มากขึ้น
ทีม 15 Reason Why: การแข่งขัน Business Triathlon by Sasin มีความโดดเด่นตรงที่พวกเราทุกทีมจะมีพี่ ๆ จากบริษัทเจ้าของโจทย์การแข่งขัน (Mentor) มาช่วยชี้แนะแนวทางในการวิเคราะห์โจทย์และให้ข้อมูลต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงาน
ทีม Mockingjay: การแข่งขันนี้มีระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ทำให้พวกเรารู้สึกเหมือนกับได้ทำงานนั้นหรือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนั้นจริง ๆ อีกทั้งการแข่งขันยังผลักดันให้เราได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เช่น มีงบประมาณในการทำโครงการให้ มีการแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดกับ Mentor จากทางบริษัทเจ้าของโจทย์การแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้โดดเด่นและแตกต่างจากการแข่งขันอื่นมาก ๆ
โดย Business Triathlon by Sasin นั้น เป็นการแข่งขันที่ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยการแข่งขันนี้ มีลักษณะที่โดดเด่น ในการเป็นเวทีการแข่งขันการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Action Learning) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ร่วมแก้ไขโจทย์จากกรณีศึกษาทางธุรกิจจริงและนำเสนอแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมตลอดระยะเวลา 42 วัน โดยในปีนี้ ได้รับความร่วมมือจาก ดีแทค โลตัส และ ไทสัน ฟู้ดส์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการผลักดันการศึกษาไทยให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด