ทำไมสถาบันการเงิน จึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม ? | Techsauce

ทำไมสถาบันการเงิน จึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม ?

บริการทางการเงินเป็นภาคธุรกิจที่มีความท้าทายสูงมากจากการที่ผู้ทำธุรกิจด้านนี้ต่างแสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และแนวทางในการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการนำวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ร่วมกัน 

ทำไมสถาบันการเงิน จึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม ?

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำในการทำนายและคาดการณ์ และให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินจำเป็นต้องกำหนดกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในทุกแง่มุมให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ

บทบาทของการกำกับดูแลการใช้ AI

 การกำกับดูแล AI ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการที่ใช้ในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน การกำกับดูแลการใช้ AI มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานดังกล่าวควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้ AI และมีคู่มือหรือแนวนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระบุและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อคุ้มครองข้อมูลอย่างเข้มงวด และเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

คุณประโยชน์สำคัญที่ได้จากการลงทุนด้านกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม มีดังนี้

  • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ — เข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น และคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น

  • เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย — งานประจำ และกระบวนการด้านต่าง ๆ ทำได้แบบอัตโนมัติ

  • บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น — แชทบ็อท หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

การลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์เหล่านี้อาจหมายรวมถึงการว่าจ้างบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับดูแลกรอบการทำงาน กำหนดแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน และจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล 

กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ต้องเกิดจากความต้องการที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

ปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ที่สถาบันการเงินจะต้องจัดการดูแลในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมที่จะช่วยตรวจวัด และจัดการเป้าหมายของโมเดลต่าง ๆ รวมถึงความต้องการข้อมูลระดับประสิทธิภาพที่ต้องการ และความน่าเชื่อถือโดยสอดรับกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กร 

การปรับเปลี่ยนตามแนวทางของกรอบการกำกับดูแลที่กำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน รอบด้าน และครบถ้วนสมบูรณ์ จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถพัฒนาและควบคุมวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วก็จะสามารถปกป้ององค์กร และลูกค้าให้ปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นให้กับลูกค้า 

ปัจจัยสำคัญที่สถาบันการเงินจะต้องคำนึงถึงในการดำเนินแนวทางปฏิบัติตามกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมและชัดเจน ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานและความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

  • ความน่าเชื่อถือ — เป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและองค์ประกอบทางจริยธรรมของโมเดล AI เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อคนบางกลุ่ม  ความรับผิดชอบและความโปร่งใสจะช่วยรับรองยืนยันการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมถึงผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจที่นำไปสู่ผลลัพธ์ และเปิดโอกาสให้มีช่องทางสำหรับการสอบถามหรือตั้งคำถามในกรณีที่จำเป็น

  • ความยืดหยุ่น — โมเดล AI จะต้องได้รับการปรับปรุงและทบทวนแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเสี่ยงใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และความท้าทายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสอดคล้องกัน กรอบการกำกับดูแลที่รัดกุมจะช่วยให้สถาบันการเงินบรรลุเป้าหมายในการประเมิน ตรวจสอบ และตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโมเดล AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความปลอดภัย — โมเดล AI อาจเผยให้สถาบันการเงินเห็นความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงัก เช่น ระบบไอทีล่ม ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (เช่น การโจมตีแบบ Data Poisoning) และปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ความท้าทายในการปรับใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI

องค์กรจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายสำคัญ ๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI เป็นประโยชน์ในระยะยาว

  • การดำเนินการเก็บรวบรวม ทำความสะอาดข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เชื่อถือได้ และสอดคล้องกันมากขึ้น รวมถึงความเที่ยงตรงของฟังก์ชั่นการป้อนข้อมูล

  • การจัดการปัญหาเรื่องอคติในโมเดล AI ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเลือกปฏิบัติ

  • การยึดมั่นในความรับผิดชอบและความโปร่งใสในระบบ AI ช่วยให้ผู้ดูแลด้านการใช้ AI ในองค์กร เข้าใจว่าองค์กรใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในลักษณะใดบ้าง ทั้งยังเอื้อให้มีการทบทวนหรือปรับเปลี่ยนการตัดสินใจในกรณีที่จำเป็น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบ นโยบายองค์กร มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับภายนอกและภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นภาคการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ บทลงโทษ และความเสียหายต่อชื่อเสียง

  • การจัดการและตรวจติดตามการทำงานของระบบ AI เชิงรุก ด้วยการระบุและวินิจฉัยปัญหา และอนุญาตให้มีการดำเนินการแก้ไข

บทความโดย ฟาดซี อูเชโวคุนซ์, สถาปนิกด้านบริการทางการเงิน, เร้ดแฮท

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ครบรอบ 20 ปีในไทย ย้ำจุดยืนผู้นำ AI-IoT และ “Edge AI” ยกระดับ Smart Manufacturing, Smart City และ ESG สู่ความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม บริษัท แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชัน AI, IoT และคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ได้จัดงานฉลองครบรอบ 20 ปีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ...

Responsive image

ยกระดับบริการลูกค้าด้วย AI BOTNOI Voice บน AWS ช่วยองค์กรไทยสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

AWS ประกาศในวันนี้ว่า BOTNOI สตาร์ทอัพด้าน Generative AI ของไทยที่เชี่ยวชาญในการสร้างผู้ช่วยเสมือนจริงสำหรับการสนทนา ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม BOTNOI Voice ขึ้นบนคลาวด์ของ AWS...

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...