ผลสำรวจ มิลเลนเนียลกว่า 56% ชมถ่ายทอดสดกีฬาผ่านมือถือและแท็บเล็ต | Techsauce

ผลสำรวจ มิลเลนเนียลกว่า 56% ชมถ่ายทอดสดกีฬาผ่านมือถือและแท็บเล็ต

ผลการวิจัยของ NTT พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ชมในกลุ่มอายุ 18-34 ปีเชื่อว่า  AI จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า แต่ว่ามีเพียง  1 ใน 4 ที่รู้ว่าจะสามารถนำสิ่งนี้มาใช้กับวงการกีฬาได้จริง

ในการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ระดับโลกหลายๆ รายการมีจำนวนการเข้าชมของแฟนกีฬาที่เพิ่มมากขึ้น AI (Artificial Intelligence : ปัญญาประดิษฐ์) และ Machine Learning นำเสนอแนวทางใหม่ในการมอบประสบการณ์การเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนเชิงลึกและเชื่อมถึงข้อมูลของกีฬานั้นๆ อย่างไม่เคยมีมาก่อน

ผลการวิจัยฉบับใหม่จาก NTT หนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้านเทคโนโลยีและการจัดการบริการทางเทคโนโลยี ชี้จุดสำคัญในการที่ภาคการกีฬานั้นต้องลงมือลงแรงมากขึ้น เพื่อการสร้างสรรค์ประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ ตามรูปแบบที่แฟนๆ กีฬาต้องการ เพราะมีเพียง 46% ระบุว่าข้อมูลในปัจจุบันทำให้การรับชมการแข่งขันสนุกสนานมากขึ้น ซึ่งปัญหาจุดนี้จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อมอบประสบการณ์แปลกใหม่ตามที่แฟนๆ กีฬาคาดหวัง ซึ่ง AI และ Machine Learning จะเข้ามาตอบโจทย์ในปัญหานี้

การวิจัยครั้งนี้ได้วิเคราะห์จากกลุ่มตัวอย่างแฟนกีฬาทั่วโลกประมาณ 3,700 คน ในประเด็นของการที่ AI และ Machine Learning มีประสิทธิภาพอย่างมากในการดึงดูดผู้ชมและมอบประสบการณ์ด้านข้อมูลเชิงลึกได้ดีมากขึ้น โดยพบว่า

  • เกินครึ่ง (54%) ของกลุ่มผู้ร่วมการสำรวจในช่วงอายุ 18-34 ปี เชื่อว่า AI นั้นสามารถทำนายผลการแข่งขันได้จริง
  • และในจำนวนเกือบเท่ากัน (52%) พบว่าผลทำนายการแข่งขันที่แม่นยำนั้นทำให้การแข่งขันกีฬานั้นน่าติดตามมากขึ้น
  • ที่เหลืออีกแค่เพียงหนึ่งในสี่ (26%) ของผู้ร่วมการสำรวจในทุกช่วงอายุยอมรับว่า AI และ Machine Learning ที่ใช้จริงในการแข่งขันกีฬา นั้นสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการดึงดูดผู้ชมให้มีส่วนร่วมมากขึ้น

Ruth Rowan ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดจาก NTT ให้ความเห็นว่า “มีความต้องการแสวงหาสิ่งใหม่อย่างแท้จริงในวงการกีฬาเพื่อเพิ่มประสบการณ์การรับชมที่ล้ำลึกยิ่งขึ้นสำหรับแฟน ๆ และดูเหมือนว่าองค์กรการกีฬาแต่ละแห่งนั้นก็มองหาช่องทางในการพัฒนา ผู้จัดการแข่งขันต้องรู้จักปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความเชื่อมโยงและความสามารถแข่งขันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล”

“ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สดและการปรับปรุงข้อมูล ประสบการณ์ที่ขับเคลื่อนโดย AI หรือการเชื่อมโยงสนามการแข่งขันเข้าด้วยกัน ทั้งหมดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที คลาวด์ และ บริการแบบไร้สายเข้ามามีบทบาทสำคัญให้กับอุตสาหกรรมการกีฬา ในการตอบสนองให้กับความต้องการที่เติบโตมากขึ้นของผู้สนับสนุนที่มีต่อช่องทางแบบดิจิทัล”

 มอบประสบการณ์ใหม่ให้กับแฟนกีฬาด้วย AI ในรายการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

การแข่งขันจักรยานรายการ Tour de France ในปีนี้เป็นอีกครั้งที่มีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ โดยที่แฟนกีฬาสามารถสนุกไปกับ #NTTPredictor ซึ่งประกอบด้วยความสามารถของ AI และ Machine Learning ที่จะมาปฏิวัติประสบการณ์การรับชมให้กับเหล่า Le Tour ทั่วโลก

  • “Le Buzz” - สำหรับ Tour de France 2019 นี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำเอาระบบ machine-learning รูปแบบใหม่เข้ามาทดลองใช้ โดยจะทำหน้าที่วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักปั่นในช่วงการแข่งขัน เพื่อทำนายช่วงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น โอกาสในการชนที่เพิ่มขึ้น การแตกตัวของกลุ่มนักปั่น หรือการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ ของการแข่งขัน
  • ระบบเลือกสนามการแข่งขันที่ชื่นชอบ (Live stage favourites) – Machine Learning ใช้ในการคาดการณ์สนามการแข่งขันที่ชื่นชอบ ได้ทำการทดสอบครั้งแรกในปี 2560  ซึ่งในปีนี้ระบบได้ถูกพัฒนาให้สามารถทำการอัพเดตได้ทันทีตลอดระยะเวลา โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในการแข่งขัน
  • ระบบทำนายเหตุการณ์ (Catch the Break” predictor) – ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการวิเคราะห์กลยุทธ์การแข่งขันที่แตกต่างกันในแต่ละจุดในสนามการแข่งขัน โดยมีการสร้างรูปแบบการเรียนรู้จากระบบ machine-learning ในแต่ละบุคคลสำหรับทุกๆ ระยะ 10 กิโลเมตร ของการแข่งขัน
  • ระบบแสดงข้อมูลเชิงลึกและทำนายผลการแข่งขัน (Live data insights and predictions) จาก #NTTPredictor จะถูกนำเสนอข้อมูลและทำนายผลตลอดการแข่งขันบน Twitter ที่ @letourdata

เปิดโอกาสในการสร้างประสบการณ์การเชื่อมต่อที่มากขึ้น

การสำรวจพฤติกรรมการรับชมและความชื่นชอบของแฟนกีฬาจากทั่วโลก การวิจัยของ NTT แสดงให้เห็นถึงภาพที่น่าสนใจของประสบการณ์การรับชมกีฬาทั้งบนสื่อดิจิทัล และถ่ายทอดสดในอนาคต หัวใจสำคัญก็คือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของแฟนกีฬายุคมิลเลนเนียม มากกว่าครึ่ง (56%) ของกลุ่มผู้ชมอายุ 18-34 ปีบอกว่าพวกเขาจะมีการใช้ “หน้าจอที่สอง : second screens” ในการรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเพิ่มมากขึ้นในช่วงอีก 3 ปีข้างหน้า

และ 51% ของผู้ร่วมการสำรวจในทุกช่วงอายุเลือกที่จะติดตามการอัปเดตสดจากการแข่งขันกีฬาผ่านหน้าจอที่สอง (มือถือหรือแท็บเล็ต) สัปดาห์ละหนึ่งครั้งหรือมากกว่า  ทำให้เห็นได้ว่าความต้องการประสบการณ์ดิจิทัลและการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งแรงจูงใจหลักในการใช้หน้าจอที่สองคือการเข้าถึงข้อมูลและสถิติ (34%) และ 4 ใน 10 คนต้องการข้อมูลทางสถิติมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ดิจิตอลของพวกเขา

ในขณะเดียวกันมากกว่าครึ่ง (55%) ของกลุ่มอายุ 18-34 ปี กล่าวว่าประสบการณ์ในสนามกีฬาที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การเชื่อมต่อที่ดีขึ้นและเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกใหม่ๆ กระตุ้นให้พวกเขาเข้าร่วมชมการแข่งขันในสนามกีฬา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์สำหรับผู้จัดการแข่งขันที่จะลงทุนไปกับระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกับสนามกีฬาและการแข่งขันนั้นๆ และความต้องการในการเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านี้ของคนกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อการเข้าสู่พื้นที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันอย่างชัดเจน เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของคนกลุ่มนี้บอกว่าหากการเชื่อมต่อในสนามแข่งขันกีฬาไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้ความเพลิดเพลินในการชมการแข่งขันนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ครบรอบ 20 ปีในไทย ย้ำจุดยืนผู้นำ AI-IoT และ “Edge AI” ยกระดับ Smart Manufacturing, Smart City และ ESG สู่ความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม บริษัท แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชัน AI, IoT และคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ได้จัดงานฉลองครบรอบ 20 ปีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ...

Responsive image

ยกระดับบริการลูกค้าด้วย AI BOTNOI Voice บน AWS ช่วยองค์กรไทยสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

AWS ประกาศในวันนี้ว่า BOTNOI สตาร์ทอัพด้าน Generative AI ของไทยที่เชี่ยวชาญในการสร้างผู้ช่วยเสมือนจริงสำหรับการสนทนา ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม BOTNOI Voice ขึ้นบนคลาวด์ของ AWS...

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...