Responsible AI คืออะไร และทำไมธุรกิจคุณต้องรู้จัก ? | Techsauce

Responsible AI คืออะไร และทำไมธุรกิจคุณต้องรู้จัก ?

งานวิจัยของเอคเซนเชอร์ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารในประเทศไทยต่างเชื่อว่าความก้าวหน้าของ Generative AI จะเปิดทางให้องค์กรปรับตัวสู่องค์กรอัจฉริยะ (Enterprise Intelligence) ในยุคใหม่ได้ โดยหวังว่าโมเดล AI พื้นฐานจะช่วยผลักดันนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะให้ประโยชน์หลายด้านแก่องค์กร เช่น ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้น (78%) และขับเคลื่อนนวัตกรรมได้เร็วขึ้น (68%) ดังนั้น จึงมีแผนนำโมเดลต่างๆ มาใช้ในระบบงาน เช่น ระบบออโตเมชัน (70%) และระบบการสนับสนุนลูกค้า (69%) เป็นต้น

ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคแห่ง "Co-pilots" ซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI เป็นตัวช่วยจัดการภารกิจต่างๆ ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เมื่อผู้คนเข้าถึง AI ได้มากขึ้น การวางรากฐานด้านจริยธรรมเพื่อให้ใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ จึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วองค์กรควรทำอย่างไร จึงจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ไปพร้อมๆ กับการนำ AI มาใช้อย่างรับผิดชอบ

รู้จักกับ Responsible AI

Responsible AI หรือ การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ คือการออกแบบ พัฒนา และใช้งาน AI ด้วยความตั้งใจดีเพื่อเสริมศักยภาพให้กับพนักงานและธุรกิจ และเที่ยงธรรมต่อผู้บริโภคและสังคม ช่วยให้บริษัทสามารถสร้างความเชื่อมั่นและขยายการใช้งาน AI ไปในวงกว้างได้อย่างมั่นใจ

ปัจจุบันมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างความตั้งใจที่จะใช้ AI อย่างรับผิดชอบกับการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีเพียง 2% ของบริษัทที่ระบุว่า พวกเขาได้ใช้งาน AI ที่มีความรับผิดชอบอย่างเต็มรูปแบบ และอีก 31% คาดว่าจะสามารถทำได้ภายใน 18 เดือนข้างหน้า โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดช่องว่างนี้เพราะบริษัทอาจมองว่าเป็นเพียงกฎระเบียบที่ให้ปฏิบัติตาม ทำให้มีความคิดว่า 'ไม่ใช่หน้าที่ของบริษัท'

การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ

AI ที่มีความรับผิดชอบเป็นความสามารถที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของระบบ AI และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับระบบ Gen AI ดังนั้น การฝัง AI ที่มีความรับผิดชอบลงในองค์กรต้องพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และแนวทางการใช้งานสำหรับพนักงานระดับผู้จัดการในการนำ AI ที่มีความรับผิดชอบไปใช้ทั่วทั้งองค์กร

ในขณะเดียวกัน ผู้นำจะต้องให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาด้านความปลอดภัย กฎหมาย และจริยธรรมของ AI โดยเฉพาะประเด็นความโปร่งใสเกี่ยวกับการใช้ Gen AI ในการตัดสินใจและให้บริการ ความตระหนักรู้ที่มาจากความรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการจัดการประโยชน์และความเสี่ยงของ Gen AI จะช่วยให้พนักงานมีความมั่นใจมากขึ้นในการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ

เพื่อช่วยองค์กรต่างๆ เอคเซนเชอร์ได้กำหนดกรอบการทำงานเพื่อสร้างรากฐานของ AI ที่มีความรับผิดชอบ กรอบการทำงานนี้ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินผลกระทบของกฎระเบียบใหม่และตอบสนองข้อกำหนดการปฏิบัติตามได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  • องค์กร: ผู้นำที่แข็งแกร่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมศักยภาพของพนักงาน และยกระดับ AI ที่มีความรับผิดชอบให้เป็นเรื่องที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ ซึ่งการทำให้วิธีการทำงานนี้เป็นที่แพร่หลาย องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างบทบาทใหม่ๆ และดำเนินการพัฒนาทักษะ ปรับทักษะ หรือจ้างงานอย่างจริงจัง รวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ AI ได้โดยไม่กระทบต่อการพัฒนานวัตกรรม นอกจากนี้ เกณฑ์วัดความสำเร็จที่ชัดเจน แรงจูงใจ และการฝึกอบรมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรต้องมี
  • การปฏิบัติงาน: การสร้างโครงสร้างการกำกับดูแลที่โปร่งใสและครอบคลุมทุกสายงาน จะสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจภายในองค์กรเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ได้ โดยระบุบทบาท ความคาดหวัง และความรับผิดชอบ การจัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมที่มาจากแต่ละสายงานตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยการกำหนดบทบาท วิธีการทำงาน และอำนาจในการกำกับดูแล คณะกรรมการนี้จะช่วยให้ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างตรงจุดและทันที
  • ด้านเทคนิค: องค์กรควรออกแบบและปรับใช้โมเดล ระบบ และแพลตฟอร์ม AI ที่น่าเชื่อถือ เที่ยงธรรม และสามารถอธิบายได้ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ เทคนิคเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้องค์กรบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการลดความเสี่ยงระหว่างสายงานต่างๆ รวมถึงการใช้เวลาทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความคลาดเคลื่อน จะนำไปสู่กลยุทธ์การแก้ปัญหาที่ดีขึ้นทั้งสำหรับองค์กรและการใช้งาน AI การมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความคลาดเคลื่อน และทำความเข้าใจผลกระทบของการตัดสินใจอย่างเป็นธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • ชื่อเสียงองค์กร: องค์กรชั้นนำจะอธิบายถึงพันธกิจธุรกิจที่มีความรับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยยึดมั่นในค่านิยมขององค์กร การวัดผลและการติดตามตัวชี้วัดหลักของ AI ที่มีความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรกำลังจัดการความเสี่ยงและสื่อสารด้วยความโปร่งใส ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กรอาจสงสัยในคุณค่าด้านจริยธรรม แต่องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะยอมรับในความสงสัยและมุมมองใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้ทีมทำงานหลักทดสอบหลักการที่กำหนดขึ้นอย่างเข้มข้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นหลักการที่ได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น และเป็นหลักการที่ทุกคนมั่นใจ

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วย AI

AI กำลังกลายเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในภาคเศรษฐกิจ การตลาด สังคม และรัฐบาล ด้วยภูมิทัศน์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา AI ที่มีความรับผิดชอบจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคต

“เราเชื่อในหลักการที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึง AI ได้ พร้อมกับการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้งาน AI อย่างรับผิดชอบ  เอคเซนเชอร์ได้เดินหน้าโครงการเกี่ยวกับการใช้ AI อย่างรับผิดชอบในทุกระดับขององค์กรมาตั้งแต่ปี 2022 โดยเน้นติดตามการใช้งาน AI ทำความเข้าใจว่า AI ถูกใช้ไปเพื่ออะไร ประเมินระดับความเสี่ยงของระบบ AI และมีกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงด้านต่างๆ พร้อมพัฒนาโปรแกรมติดตามหลังการใช้งานเพื่อตรวจสอบระบบ AI อย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เน้นการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ ด้วยการอบรมด้านจริยธรรมและการปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสม อบรมเทคนิคขั้นสูงสำหรับคนที่ต้องใช้ AI และยังอบรมเรื่องการการใช้ AI อย่างรับผิดชอบด้วย” นายอภิชาต อรุณคุณารักษ์ กรรมการผู้จัดการ สายงานเทคโนโลยี เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...