AWS หนุนขับเคลื่อนนวัตกรรมของภาครัฐในประเทศไทย | Techsauce

AWS หนุนขับเคลื่อนนวัตกรรมของภาครัฐในประเทศไทย

อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการสำหรับกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Ministry of Digital Economy and Society: MDES) ให้ความร่วมมือในการลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและแพร่หลายมากที่สุดในโลก ในการสนับสนุนการปฏิรูประบบดิจิทัลของภาครัฐในประเทศไทย 

AWS หนุนขับเคลื่อนนวัตกรรมของภาครัฐในประเทศไทย

ด้วยบันทึกความเข้าใจนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐจะพิจารณาให้ AWS มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud) รวมถึงบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud Service(GDCC) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ส่วนกลางสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ

ทั้งนี้บันทึกความเข้าใจนี้จะช่วยให้ AWS สามารถมีส่วนร่วมช่วยให้ภาครัฐยกระดับระบบไอทีให้ทันสมัย โดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับโลก มาช่วยหน่วยงานทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในประเทศไทย สามารถใช้บริการด้านคลาวด์ ที่เป็นมาตรฐานระดับโลก โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพและความทนทานสูง เป็นผู้นำในด้านความสามารถและบริการด้านความปลอดภัย การมีบริการที่คลอบคลุมในเชิงกว้างและเชิงลึกมากกว่า 200 บริการ เพื่อช่วยให้ภาครัฐสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม ประหยัดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน

นอกจากนั้นภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ ภายในปีแรก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยจะทำงานร่วมกับภาครัฐและ AWS เพื่อดำเนินโครงการนำร่องที่จะใช้งานบน AWS ผ่านบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โครงการนำร่องเหล่านี้จะช่วยให้เห็นถึงความรวดเร็วที่หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสร้างและส่งมอบบริการต่าง ๆ ได้สำเร็จ 

ขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

การประกาศบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ AWS ในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของภาครัฐตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในด้านดิจิทัล ที่มีแนวทางให้ภาครัฐรวมถึงรัฐวิสาหกิจสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อการให้บริกาประชาชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหา ที่สำคัญต่าง ๆ ในสังคม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่บริษัทอเมซอน ได้จัดตั้งสำนักงานในประเทศไทยเพื่อรองรับลูกค้าในประเทศของ Amazon 

และ AWS ได้สร้างทีมงาน AWS Public Sector ประจำประเทศไทยโดยเฉพาะ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับลูกค้าและพันธมิตรคู่ค้ากลุ่มภาครัฐในประเทศ (ซึ่งรวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานด้านการศึกษา และหน่วยงานด้านสาธารณสุข) ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทย มีทั้งองค์กรภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รัฐบาลไทย และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยบริษัทชั้นนำของประเทศไทย อาทิ แอมพอส, บิทคับ, กลุ่มเซ็นทรัล, กสิกร บิซิเนส - เทคโนโลยี กรุ๊ป, เอสซีบี อบาคัส, โรบินฮู้ด เจริญโภคภัณฑ์อาหาร และอีกมากมาย 

ขณะที่เครือข่ายพันธมิตรคู่ค้า AWS และสตาร์ทอัพที่กว้างขวางในประเทศไทย จะช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมด้านการบริการประชาชน และช่วยให้รัฐบาลสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เครือข่ายพันธมิตรคู่ค้าของ AWS (AWS Partner Network: APN) ประกอบด้วยพันธมิตรที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีและพันธมิตรที่ให้คำปรึกษามากมาย ที่สามารถช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สร้างและส่งมอบโซลูชันที่ออกแบบมาเฉพาะตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน 

ตลอดจนสนับสนุนการโยกย้ายปริมาณงานไปยัง AWS  โดยมีตัวอย่างของพันธมิตรที่ให้บริการด้านเทคโนโลยี คือ 2C2P, Amity และ Omise และพันธมิตรที่ให้คำปรึกษา ได้แก่ โทรคมนาคมแห่งชาติ (National Telecom: NT), True IDC, G-Able และ Dailitech ตลอดจนบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เช่น Deloitte และ Accenture

สนับสนุนลูกค้าในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล

จากรายงานการศึกษาโดย AlphaBeta พบว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีบุคลากร 149 ล้านคน ที่นำทักษะด้านดิจิทัลมาใช้ในการทำงานของพวกเขาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการการประมวลผลคลาวด์ขั้นสูงและทักษะด้านข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในปี 2568 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดสำหรับทักษะด้านดิจิทัลทั้งหมดที่ได้คาดการณ์ไว้ 

เพื่อช่วยเร่งสร้างนวัตกรรมร่วมกับรัฐบาลไทย AWS จะร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในวางแผนพัฒนาทักษะและให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมพนักงานมากกว่า 1,200 คน โดย AWS จะจัดหลักสูตรดิจิทัลแบบออนดีมานด์และอำนวยความสะดวกในการจัดอบรม เพื่อให้พนักงานภาครัฐสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการนำเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ตัดสินใจในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้น และสร้างบริการใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนที่ดีขึ้น

โครงการริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ AWS ในการช่วยแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะการใช้ดิจิทัล (ICT Skill) โครงการพัฒนาทักษะและการวัดผลทักษะด้านคลาวด์ (AWS Training and Certification) สามารถช่วยให้ผู้เรียนทุกคนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน สามารถเรียนรู้การใช้คลาวด์ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมฟรีทางออนไลน์ เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ AWS เสนอหลักสูตรฝึกอบรมดิจิทัลฟรีกว่า 30 หลักสูตรในภาษาไทย ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น พื้นฐานระบบคลาวด์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล ความปลอดภัย และอื่น ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทักษะด้านคลาวด์ได้

AWS ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อช่วยสร้างทักษะด้านระบบคลาวด์ที่เป็นที่ต้องการให้แก่นักเรียน ก่อนเข้าสู่วัยทำงานผ่าน AWS Academy ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านคลาวด์ที่หน่วยงานอุดมศึกษาสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่งในกรุงเทพฯ เชียงราย และปทุมธานี ได้รวมหลักสูตร AWS Academy ไว้ในหลักสูตรของสถาบัน นอกจากนี้ AWS ยังทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ โดยตรง เพื่อช่วยสร้างทักษะด้านระบบคลาวด์ตามความต้องการองค์กร เราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าในประเทศไทยอย่างกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย (SCG) เพื่อฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ให้แก่บุคลากรของบริษัท

เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์สาธารณะระดับโลก

ด้วยความร่วมมือครั้งนี้ รัฐบาลไทยสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 26 ภูมิภาค (region) และ 84 Availability Zone (AZ) ทั่วโลก ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น สิงคโปร์ ซิดนีย์ มุมไบ โอซาก้า โตเกียว กรุงโซล และจาการ์ตา โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ให้บริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและเชี่ยวชาญมากที่สุดแก่ลูกค้า ด้วยบริการที่มากกว่า 200 รายการ ด้านการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล เครือข่าย การวิเคราะห์ แมชชีนเลิร์นนิ่งและปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะ (Internet of Things: IoT) อุปกรณ์เคลื่อนที่ ความปลอดภัย ไฮบริด เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) การพัฒนาสื่อและแอปพลิเคชัน การปรับใช้ และการจัดการ

นอกจากนั้น ลูกค้าในประเทศไทยจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ปลายทาง (Edge computing) ต่างๆจากAWS เช่น Amazon CloudFront ซึ่งเป็นป็นบริการเครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ทั่วโลก ที่สร้างขึ้นโดยมีประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนา AWS Outpost เป็นบริการที่นำ API 

พร้อมทั้งบริการและเครื่องมือต่าง ๆ จากระบบคลาวด์ของ AWS ลงมายังระบบ on-premise AWS เตรียมเพิ่มบริการใหม่ที่มีชื่อว่า AWS Local Zone ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นนำเอาการประมวลผล การจัดเก็บช้อมูล ดาต้าเบส และบริการอื่นๆ บางตัว มาไว้ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานที่ต้องความเร็วของการรับและส่งกลับของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางต่ำมากๆ เพียงหลักหน่วยของมิลลิวินาที 

มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสูงสุด

AWS ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความต้องการของลูกค้าในด้านความปลอดภัยในทุกแห่งที่ AWS ให้บริการ บริการของ AWS ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและปลอดภัยที่สุดบนระบบคลาวด์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานหลักของ AWS สร้างขึ้นตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับการทหาร ธนาคารทั่วโลก และองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยระดับสูง AWS ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เดียวกันที่มีความปลอดภัยในการสร้างและดำเนินการในแต่ละภูมิภาค บริการต่าง ๆ ของ AWS และซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องได้รับการตรวจสอบและยอมรับว่าปลอดภัยเพียงพอสำหรับปริมาณงานที่เป็นความลับสูงสุด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของ AWS ทั่วโลก

ความปลอดภัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยชุดเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ที่ซับซ้อน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยกว่า 280 รายการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ และการกำกับดูแลและฟีเจอร์ต่าง ๆ และบริการของ AWS ทั้ง 117 รายการที่จัดเก็บข้อมูลลูกค้าสามารถเข้ารหัสข้อมูลนั้นได้ นอกจากนี้ AWS ยังรองรับถึง 98 มาตรฐานความปลอดภัยและผ่านการรับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ ซึ่งมากกว่าบริการอื่น ๆ ได้แก่ PCI-DSS, HIPAA/HITECH, FedRAMP, GDPR, FIPS 140-2, SOC 1,2,3, CSA, ISO Standard และ NIST 800-171 ซึ่งช่วยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลแทบทุกแห่งทั่วโลก

ความมุ่งมั่นต่อประเทศไทยในระยะยาว

การดำเนินงานของ AWS ในประเทศไทยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงความมุ่งมั่นระยะยาวของ AWS ต่อภาครัฐและประเทศชาติ และมุ่งหวังที่จะร่วมงานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยและภาครัฐของไทย ในการสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลและเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนการจัดการระบบและข้อมูลของรัฐบาลอย่างปลอดภัย

 ทั้งนี้ อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ AWS ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยรัฐบาลไทยในการปฏิรูปทางดิจิทัลของคลาวด์ภาครัฐ ซึ่งเป็นบริการระบบคลาวด์กลางสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลฯและภาครัฐบาลของไทยจะสามารถใช้บริการด้านคลาวด์ของ AWS ที่มีบริการที่คลอบคลุมในเชิงกว้างและเชิงลึกมากกว่า 200บริการ มีความสามารถด้านความปลอดภัยที่โดดเด่นในวงการอุตสาหกรรม 

และมีมาตรฐานระดับโลก เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนที่มีความทันสมัยและประหยัดค่าใช้จ่าย และAWS จะนำโครงการพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ให้แก่ประชาชนมาใช้เพื่อช่วยสร้างทรัพยากรของชาติที่มีความรู้ และทักษะด้านดิจิทัล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่างๆ ในสังคมอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...