AsiaIoT เปิดผลสำรวจบริการและค้าปลีกไทยยังตามหลังด้านดิจิทัล | Techsauce

Asia IoT เปิดผลสำรวจ Service และ Retail ไทยยังตามหลังด้านการวางแผนดิจิทัลในอาเซียน

Asia IoT Business Platform (AIBP) ผู้นำด้านการพัฒนาโปรแกรมธุรกิจชั้นนำของเอเชีย เผยผลการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1,624 คนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้เทคโนโลยีดิจิทัลมาแรงทั่วภูมิภาคและถูกนำเอามาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันอย่างเข้มข้น โดย 79.8% ยอมรับว่า องค์กรของพวกเขาเชื่อมต่อกัน ใช้ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง และเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ สำหรับการปรับปรุงกระบวนการและการดำเนินงาน มีเพียง 8.4% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่า การปฏิรูปโดยใช้ดิจิทัล (Digital Transformation) ยังไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรของพวกเขา

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดย 80.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมการผลิต เชื่อว่า องค์กรของพวกเขาใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะ 68.2% ของผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมค้าปลีกรู้สึกเช่นนั้น และจากการเปรียบเทียบ ผู้ค้าปลีกในส่วนที่เหลือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้เคลื่อนไหวรายแรก ๆ ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้

ทั้งนี้ ในประเทศไทย ภาคที่ตื่นตัวใช้งาน Digital มากที่สุดคือภาคการเงิน ส่วนภาคบริการและค้าปลีกนั้นมีการตื่นตัวเพียง 68 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังถือว่าตามหลังอยู่พอสมควร โดยผลสำรวจระบุว่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ให้ความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมนี้มากกว่าไทย

คุณเออร์ซ่า สุปรับโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Asia IoT Business Platform กล่าวว่า “ภาคการผลิตยังคงเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของประเทศไทย โดยการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจในท้องถิ่นในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันอย่างสูสีในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับการดำเนินงาน ในขณะที่ธุรกิจในภาคบริการในประเทศไทยดูเหมือนจะช้ากว่าธุรกิจอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการก้าวสู่ดิจิทัล ซึ่งอาจขัดขวางความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย”

นอกจากนี้ อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ (Ananda Development) และ กรุงศรี คอนซูเมอร์ (Krungsri Consumer) 2 บริษัทในภาคส่วนบริการของเศรษฐกิจไทย ผู้ชนะรางวัล “Enterprise Innovation Awards” ในปี 2561 ที่ผ่านมา ได้แนะว่า Big Data และ AI สุดยอดเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยดำเนินธุรกิจ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการปฏิรูประบบดิจิทัลภายในองค์กร

ในส่วนของภาครัฐประเทศไทย ยังได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งโปรแกรมและเครื่องมือ เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศพร้อมสำหรับยุคใหม่ของดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยคุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานดิจิทัลในอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น การส่งเสริมการรวมระบบดิจิทัลในระดับชาติ และให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแผนการพัฒนาระยะเวลา 20 ปี

ด้านหน่วยงานภาครัฐอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ยังได้เปิดตัวโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บริษัทขนาดเล็กก้าวกระโดดในการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ เช่น:

  1. บัตรกำนัล Mini-transformation สำหรับบริษัทที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการเทคโนโลยีจากผู้ให้บริการโซลูชันที่ลงทะเบียนโดย depa
  2. การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อสนับสนุนบริษัทและหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  3. จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เป็นประจำ อาทิ Digital CEO, Digital Community Boot Camp, UPSKILL SME เพื่อให้ความรู้แก่บริษัทในการกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัล

ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจของเราคือการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นในอุตสาหกรรมของพวกเขาและเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ในช่วงปีที่ผ่านมาที่เราได้ร่วมงานกับ AIBP เราได้เห็นผู้ประกอบการไทยในท้องถิ่นได้รับโอกาสในการแบ่งปันโครงการที่พวกเขาดำเนินการอยู่และความท้าทายของพวกเขา และเปิดตัวเองให้รู้จักกับกลยุทธ์ดิจิทัลของผู้เล่นต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนภารกิจและการฝึกอบรมในตลาดภายในอาเซียน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...