วัคซีนโควิดของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลสูงถึง 92% ลดการนอนโรงพยาบาลจาก สายพันธุ์เดลต้า | Techsauce

วัคซีนโควิดของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลสูงถึง 92% ลดการนอนโรงพยาบาลจาก สายพันธุ์เดลต้า

แอสตร้าเซนเนก้า เผย วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์อินเดียโดยมีประสิทธิผลสูงถึง 92% ในการการลดการนอนโรงพยาบาลจากสายพันธุ์เดลต้า

แอสตร้าเซนเนก้า

สาธารณสุขอังกฤษ พบ วัคซีนของ แอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลสูง

ข้อมูลล่าสุดจากสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (PHE) แสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2 เดิมคือสายพันธุ์อินเดีย) ได้ในระดับสูง

ข้อมูลการใช้วัคซีนที่เผยแพร่ในเอกสารก่อนการตีพิมพ์ (pre-print) โดย สาธารณสุขประเทศอังกฤษ พบว่าหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็มแล้ว วัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 92% ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลและไม่มีผู้ที่เสียชีวิตจากสายพันธุ์เดลต้าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน โดยรายงานดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่สามารถป้องกันสายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7 เดิมคือสายพันธุ์อังกฤษหรือเคนท์) โดยมีประสิทธิผลสูงถึง 86% ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลและไม่มีรายงานการเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน

ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการน้อย (mild symptomatic disease) ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยวัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 74% ในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการจากสายพันธุ์อัลฟ่า และ 64% จากสายพันธุ์เดลต้า 

ประสิทธิผลที่สูงขึ้นของวัคซีนในการลดความรุนแรงของโรคและการนอนรักษาในโรงพยาบาลพิสูจน์ได้จากการที่ทีเซลล์มีการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งสัมพันธ์กันกับการป้องกันที่นานและมีประสิทธิภาพสูงด้วย

นักวิจัย เผย ดีมานด์วัคซีนของ แอสตร้าเซนเนก้า พุ่ง โดยเฉพาะในอินเดีย

เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนา BioPharmaceuticals กล่าวว่า “จากข้อมูลการใช้วัคซีนจริงแสดงให้เห็นว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในระดับที่สูง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผู้คนต่างมีความกังวล เนื่องจากสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะยังมีบทบาทสำคัญมากทั่วโลก โดยยังคงมีความต้องการใช้วัคซีนในปริมาณมหาศาล โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ COVAX”

จากการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ารวม 14,019 ราย ในประเทศอังกฤษ มี 166 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึง 4 มิถุนายน 2564 

ข้อมูลการใช้วัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้านี้ รวบรวมจากการติดตามผลแบบเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ซึ่งอาจส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลของวัคซีน

ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในอนุทวีปอินเดียและมีแนวโน้มจะระบาดไปในประเทศต่างๆทั่วโลก ปัจจุบัน สายพันธุ์เดลต้าได้เข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่าที่แพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศสกอตแลนด์และเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร โดยคณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันขององค์การอนามัยโลก (Strategic Advisory Group of Experts on Immunization - SAGE) ได้แนะนำให้มีการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือ เดิมเรียก AZD1222 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 70 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลกแล้ว และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 142 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ 





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...