BAIN & COMPANY บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก แนะธุรกิจไทย ปรับโครงสร้าง-เสริมแกร่งการเงิน รับมรสุมเศรษฐกิจโลก | Techsauce

BAIN & COMPANY บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก แนะธุรกิจไทย ปรับโครงสร้าง-เสริมแกร่งการเงิน รับมรสุมเศรษฐกิจโลก

เจาะแนวโน้มควบรวมรับพายุเศรษฐกิจ BAIN & COMPANY บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ชี้บริษัทสื่อสารทั่วโลกต่างปรับตัว แนะธุรกิจไทย ปรับโครงสร้าง เสริมแกร่งการเงิน รับมรสุมเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงของโลก 

BAIN & COMPANY บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก แนะธุรกิจไทย ปรับโครงสร้าง-เสริมแกร่งการเงิน รับมรสุมเศรษฐกิจโลกคุณอเล็กซ์ ดาฮิกซ์   ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม บริษัท BAIN & COMPANY  บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ต้องเร่งปรับตัว ปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การควบรวมในอุตสาหกรรมคมนาคมถือเป็นตัวอย่างการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่ยากจะคาดเดา และผลกระทบจากภาพใหญ่ระดับโลก 

โดยโอเปอเรเตอร์มือถือทั่วโลกได้ใช้วิธีการควบรวม เพื่อเตรียมพร้อมรับพายุเศรษฐกิจ ในการลดภาระทางการเงิน ลดต้นทุนซ้ำซ้อน และ เตรียมการในการพัฒนาศักยภาพใหม่ เพื่อรับรูปแบบตลาดและเศรษฐกิจใหม่ในยุคต่อไป ในขณะเดียวกัน การปรับตัวของกฎระเบียบ การปรับตัวของการกำกับดูแลที่ช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวได้ ทำให้เห็นการปรับตัวเกิดการควบรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก

ทั้งนี้ในสภาพความผันผวนมรสุมเศรษฐกิจทั่วโลก มี 4 ผลกระทบหลัก ที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรองรับเพื่อความอยู่รอด และในทุกอุตสาหกรรมต้องดำเนินแนวทางการปรับตัวเช่นเดียวกัน 

โดย IMF ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2022-23 ไว้ว่าจะมีผลกระทบ 4 ด้านหลัก

1.สงครามยูเครน การรุกรานของรัสเซีย และการถูกคว่ำบาตรของรัสเซียส่งผลกระทบ โดยตรงกับยูเครน รัสเซีย และเบลารุส และผลกระทบจะขยายไปในวงกว้างขึ้น ทั้งทางด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่สูงขึ้น การค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งความเชื่อมโยงทาง การเงิน ไปยังประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะยุโรป  

2.ภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น และความผันผวนในตลาดการเงินที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อนเกิด สงคราม เงินเฟ้อไดปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ และทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งใช้ นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศเศรษฐกิจหลักเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว สอดคล้องกับประเทศเกิดใหม่หลายประเทศที่ได้ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวด เช่นเดียวกัน ยกเว้นประเทศจีนที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ นโยบการเงินที่คาดว่าจะเข้มงวดขึ้นต่อเนื่องและความกังวลเกี่ยวกับสงครามทำให้ตลาดการเงินมีความผันผวนมาก 

3.การสนับสนุนจากนโยบายการคลังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก Policy Space ของนโยบาย การคลังถูกบั่นทอนจากการใช้จ่ายในระดับสูงช่วง COVID-19 ขณะที่รายได้จากภาษีที่ลดลง ในช่วงวิกฤติ ทำให้การสนับสนุนจากนโยบายการคลังในปี 2022-23 จะลดลงโดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลัก เศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง ส่งผลในวงกว้างต่อประเทศในภูมิภาค และประเทศที่ส่งออกสินค้า โภคภัณฑ์ การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและนโยบาย Zero Covid ทำให้มีโอกาสที่จีนจะล็อกดาวน์มาก ขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลมากต่อการอุปโภคบริโภคในประเทศจีน

4.โรคระบาดและการเข้าถึงวัคซีน การประมาณการของ IMF ตั้งอยู่บนสมมิตฐานว่า การฉีดวัคซีนครบโดสในหลายประเทศยังไม่ครอบคลุมประชากรถึง 70% ทำให้มีโอกาสที่จะมีการแพร่ระบาดได้อีก อย่างไรก็ดี ผลกระทบทางด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะลดลงจากการที่ คนเราสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้ รวมถึงวิธีการรักษาที่พัฒนาขึ้น

ขณะเดียวกัน Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ได้เผยแพร่บทความเรื่อง อนาคตของการควบรวมในธุรกิจ โทรคมนาคม The future of M&A in telecom เขียนโดย จีน คริสโตเฟอร์ เลอ บราวน์ ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจมาก โดยกล่าวว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาการเกิดการควบรวมจำนวนมากในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทั้งนี้เนื่องจากจากมูลค่าของอุตสาหกรรมนั้นได้ลดลงอย่างมาก ทำให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมแบกภาระต่อไปไม่ไหว ต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถแข่งขันเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ เช่น การควบรวมของโอเปอเรเตอร์ในยุโรป อเมริกาเหนือ 

ทั้งนี้ แมกคินซี่ แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำการควบรวม ด้วย 3 เหตุผลด้วยกัน คือ 

1) การควบรวม เพื่อให้ขนาดสามารถแข่งขันได้ (Gain scale for competition) ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมบางประเทศ ผู้นำตลาด เป็นผู้นำเดี่ยว ทำให้มีความได้เปรียบจากการใช้ Scale Benefit หากนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่า เอไอเอส มีส่วนแบ่งตลาดเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้คู่แข่งขันมีแนวโน้มในการควบรวมเพื่อลดช่องว่างด้านขนาด เป็นต้น 

2) การควบรวมของโอเปอร์เรเตอร์ในประเทศมีมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในการลดต้นทุน (The amount of in-country consolidation for cost reduction) เพื่อเพิ่มโอกาสในการนำเสนอบริการที่มีราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ดังตัวอย่างประเทศไทย ที่โอเปอเรเตอร์มีต้นทุนค่าไลเซนต์ ค่าคลื่น ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์คในราคาสูงมาก ทำให้ภาวะต้นทุนยากต่อการแข่งขัน อีกทั้งมรสุมเงินเฟ้อ ในอนาคตจะกดดันดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น การที่ผู้ประกอบการปรับตัว ก็จะทำให้ต้นทุนลดลงเป็นต้น 

3) ผู้ประกอบการต้องการควบรวม เพื่อให้บริการดิจิทัลอื่น ที่มีมูลค่าสูงกว่า Operator decisions to expand aggressively in non-core areas.เพื่อไปแข่งในเวทีดิจิทัล ที่มีการให้บริการแบบบนก้อนเมฆ ( Cloud Solution) ครอบคลุม IOT, Digital Service

สำหรับประเทศไทยมีการปรับตัวของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้ว่า การควบรวมเกิดขึ้นมาตั้งแต่มกราคม 2561 จากการควบรวมการสื่อสารแห่งประเทศไทย และ องค์การโทรศัพท์ รวมถึงการปรับโครงสร้างของเอไอเอส และ การมีผู้ถือหุ้นใหม่จากกัลฟ์ กระทั่งมาถึงรายสุดท้าย คือ การควบรวมทรูและดีแทค ถือเป็นการปรับตัวรองรับมรสุมพายุที่กำลังจะเข้ามาอีกหลายลูกจากในระดับโลก และเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งไม่เพียงแค่ธุรกิจโทรคมนาคม แต่ธุรกิจอื่นๆ เช่น ธนาคารก็มีการปรับโครงสร้าง ควบรวมให้เห็น ธุรกิจโรงแรม และ อีกหลายธุรกิจ ที่ต้องรีบปรับโครงสร้างให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงแบบขี่พายุ ทะลุฟ้า กันเลยทีเดียว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

หัวเว่ย จัดประชุม Huawei Digital and Intelligent APAC Congress ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย และ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ร่วมจัดการประชุม Huawei Digital and Intelligent APAC Congress...

Responsive image

Beacon VC ร่วม SUN Group ลงทุน Series A ION Energy พลังงานโซลาร์สัญชาติไทย ดันพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำ

Beacon VC ร่วมกับ SUN Group ลงทุน Series A ใน ION Energy สตาร์ทอัพพลังงานโซลาร์สัญชาติไทย หนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำ...

Responsive image

บทบาทใหม่ใต้แนวคิด “Creative Change” จักรวาล BrandThink ที่พลิกโฉมวงการครีเอเตอร์

BrandThink ชวนแขกผู้มีเกียรติจากแบรนด์ดัง พาร์ทเนอร์จากหลากวงการ พร้อมด้วยสื่อมวลชนอีกคับคั่ง เข้าร่วมงาน BrandThink Press Party “Creative Change”...