Facebook ประเทศไทย เปิดคอร์สออนไลน์อบรมฟรี ช่วยเหลือ SME ไทย เร่งฟื้นฟูธุรกิจ เพิ่มทักษะดิจิทัล | Techsauce

Facebook ประเทศไทย เปิดคอร์สออนไลน์อบรมฟรี ช่วยเหลือ SME ไทย เร่งฟื้นฟูธุรกิจ เพิ่มทักษะดิจิทัล

Facebook ประเทศไทย เปิดตัวหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ Boost with Facebook เพื่อเสริมทักษะดิจิทัลแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ในขณะที่กลุ่มชุมชนของธุรกิจท้องถิ่นเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ Boost with Facebook จะเปิดอบรมแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็กบุคคลทั่วไปด้วยหลักสูตรเรียนรู้ทั้งหมด 10 ตอน ออกอากาศผ่านเพจ Facebook for Business เป็นภาษาไทยในระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม – 15 กันยายน พ.ศ. 2563

หลักสูตรการอบรมออนไลน์ดังกล่าวจะครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลายตั้งแต่ความรู้เบื้องต้น เช่น วิธีตั้งเพจธุรกิจบน Facebook และ Instagram การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือเพื่อวัดผลต่างๆ โซลูชั่นด้านการขายของ Facebook เช่น การใช้เซ็คชั่นหน้าร้านออนไลน์ Live หรือการปิดการขายผ่านการส่งข้อความ ไปจนถึงทักษะด้านครีเอทีฟในการสร้างโพสต์เชิงธุรกิจที่น่าดึงดูดและกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับลูกค้า โครงการออนไลน์ดังกล่าวยังจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและการแชร์ประสบการณ์โดยผู้ประกอบการชาวไทยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ร้านอาหารเป็นลาว (PenLaos) และเพนกวินกินชาบู (Penguin Eat Shabu)

คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการเติบโตธุรกิจ ประจำ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า “จากภาวะ ‘นิว นอร์มอล’ หรือ ‘เน็กซ์ นอร์มอล’ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 Facebook มีความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยฟื้นฟูภาคธุรกิจในประเทศไทย จากการทำงานร่วมกับธุรกิจจำนวนกว่า 140 ล้านรายทั่วโลกบนแพลตฟอร์มของเรา เราตระหนักว่าธุรกิจจะไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติภายในเวลาชั่วข้ามคืน แม้ว่าจะมีการคลี่คลายมาตรการและการควบคุมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ชุมชนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด การช่วยเหลือให้พวกเขากลับมาเข้มแข็งในระยะเวลาไม่กี่เดือนจึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้”

ร้อยละ 48 ของผู้บริโภคในเอเชียต่างวิตกกังวลในโควิด-19 เป็นอย่างมาก แม้กระทั่งก่อนการรระบาดระลอกแรก ผู้คนต่างหันมาพึ่งพาการเชื่อมต่อทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว เพื่อติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมนำเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เร็วกว่าที่คาดคิด

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสื่อสารและเชื่อมต่อกับธุรกิจออนไลน์มากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยผู้ใช้งาน Facebook กว่า 1.6 พันล้านคนได้ติดต่อกับธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการรายย่อยของไทยเองยังถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ โดยผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยเหล่านี้ต้องอาศัยการปรับตัวและเปิดรับแนวทางการทำธุรกิจเชิงดิจิทัลเพื่อปลดล็อกโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ พร้อมคว้าโอกาสใหม่ๆ และสร้างสรรค์ปฏิสัมพันธ์ที่มีความหมายในกลุ่มชุมชนของพวกเขาเอง

คุณชวดีกล่าวย้ำว่า “ธุรกิจรายย่อยของไทยนั้นได้เปิดรับและเป็นผู้นำเทรนด์การซื้อขายผ่านการพูดคุยทางแชทในแถบภูมิภาคนี้อยู่ก่อนแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางในไทยถือเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เชิงดิจิทัล และยังปรับตัวเรียนรู้ได้ไวเมื่อต้องหันมาใช้โซลูชันออนไลน์ต่างๆ”

“เราสังเกตได้ถึงจิตวิญญาณนักสู้ตัวจริงของผู้ประกอบการรายย่อยในไทยที่ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จากเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ หลายคนปรับโมเดลธุรกิจสู่ออนไลน์และฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ข้อปฏิบัติด้านการรักษาระยะห่างทางสังคมยังได้กระตุ้นให้ธุรกิจจำนวนมากต้องหันมาใช้แพลทฟอร์มออนไลน์เป็นครั้งแรก ส่งผลให้การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวทางการใช้เครื่องมือดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ธุรกิจยังคงเติบโต  สำหรับ Facebook ประเทศไทย มีพันธกิจหลักเพื่ออบรมและพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้” คุณชวดีกล่าวสรุป

โปรแกรมอบรม Boost with Facebook ในรูปแบบออนไลน์นับเป็นหนึ่งในกิจกรรม #supportsmallbusiness ของ Facebook ประเทศไทย ที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยของไทยให้สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาท้าทายไปได้ โดยนอกจากเงินทุนช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่มอบโดย Facebook สำนักงานใหญ่แล้ว Facebook ยังคงเดินหน้าเปิดตัวเครื่องมือและฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมต่อและให้บริการลูกค้า พร้อมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ผู้บริโภคกำลังมองหา เช่น การเปิดตัวสติ๊กเกอร์สั่งอาหารบน Instagram หรือการใช้สติ๊กเกอร์และแฮชแท็ก #ร้านดีบอกต่อ #supportsmallbusiness 

โครงการ Boost with Facebook ประเทศไทย เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 โดยได้อบรมธุรกิจไปแล้วกว่า 3,000 รายใน 5 ภาค 10 จังหวัดของประเทศไทย ทั้งนี้โครงการได้มีการเปิดอบรมให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่สนใจในรูปแบบสัมมนาที่เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าร่วม และยังร่วมกับพันธมิตรฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ เช่น มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย ที่ทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับชุมชนเพื่ออบรมเจ้าของธุรกิจรายย่อยจากชุมชนต่างๆ เช่น กลุ่มผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI) ชนกลุ่มน้อย และอื่นๆ ที่จะมีการจัดอบรมคอร์สพื้นฐานเพิ่มเติมเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยชุมชนผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kenan-asia.org/boost-online-training/

สำหรับ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามเนื้อหาการอบรมตอนแรกของโครงการ Boost with Facebook ได้ทางเพจ Facebook for Business ในวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00 น. นอกจากนี้ Boost with Facebook ยังได้ร่วมงานกับ Workpoint ในฐานะพันธมิตรในการออกอากาศการจัดกิจกรรมฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์นี้ไปพร้อมๆ กัน โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับชมได้ผ่านทางเพจ Facebook for Business และเพจ Workpoint Entertainment ไปพร้อมๆ กัน

สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดและกดเข้าร่วมการอบรมได้ที่ https://business.facebook.com/events/296332444846390/  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...