CIBA_มธบ.เปิดผลวิจัยปัจจัยกระทบต่อราคาหุ้น IPO พร้อมปัจจัยสาเหตุ | Techsauce

CIBA_มธบ.เปิดผลวิจัยปัจจัยกระทบต่อราคาหุ้น IPO พร้อมปัจจัยสาเหตุ

CIBA_มธบ. เปิดเผยผลการศึกษาถึง “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นในการเสนอขายครั้งแรก (IPO Underpricing) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” อะไรบ้างที่ส่งผลกระทบจาก “กลไกภายนอก” และ “กลไกภายใน” ก่อนนำไปสู่การวางแผนทางธุรกิจและนำไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุน

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เน้นผลิตนักวิจัยทางด้านบัญชีที่มีมุมมองด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเน้นให้นักศึกษาปริญญาเอกทำวิจัยงานเกี่ยวกับบัญชีที่จะแก้ปัญหาหรือมีประเด็นต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อวิจัย “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นในการเสนอขายครั้งแรก (IPO Underpricing)ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” โดยนางสาว รักชนก สำเนียงล้ำ นักศึกษาปริญญาเอกของเรา ซึ่งนำประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ และนำปัญหาที่พบในการทำงานมาค้นคว้าวิจัยหาคำตอบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อราคาของหุ้นไอพีโอ เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้น ไอพีโอของประเทศไทยจึงเติบโตตามไปด้วย แต่ตลาด MAI (Market for Alternative Investment ) กับตลาด SET(Stock Exchange of Thailand) จะมีความต่างกัน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับราคาหุ้นก็ต่างกัน จึงเป็นที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้  ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งผลงานวิจัยที่จะช่วยในการวางแผนทางธุรกิจและนำไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นได้

ด้าน คุณรักชนก สำเนียงล้ำ เปิดเผยว่า การศึกษาในหัวข้อ “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นในการเสนอขายครั้งแรก (IPO Underpricing)ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ลักษณะกลไกภายนอกบริษัท และลักษณะกลไกภายในบริษัทที่มีผลต่ออิทธิพลต่อราคาหุ้นในการเสนอขายครั้งแรก (IPO Underpricing)ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ในทิศทางต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเกิด IPO Underpricing ซึ่งมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการลงทุนในด้านการเจริญเติบโตของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ในช่วงปี 2557-2561

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากร คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในระหว่างปี 2557 – 2561 จำนวน 81 บริษัท แบ่งเป็นประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม 8 กลุ่มอุตสาหกรรม

ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อราคาหุ้นIPO ซึ่งแบ่งออกเป็น “กลไกภายนอก” และ “กลไกภายใน” โดยในส่วนของ “กลไกภายนอก” มี 6  ปัจจัยสำคัญที่อาจจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาต่ำกว่ามาตรฐาน  ได้แก  

1. ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์    

2. จำนวนผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์  

3. ที่ปรึกษาทางการเงิน (FA)     

4. ผู้ตรวจสอบบัญชี (Audit)  

5. ช่วงเวลาการนำหุ้นเสนอขายครั้งแรกแก่ประชาชนทั่วไป  

6. วิธีการกำหนดราคาขายหุ้นสามัญ

ส่วน “กลไกภายใน” ที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นมีผลกระทบต่อราคาหุ้น มีด้วยกัน  6   ปัจจัยที่อาจจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ 

1. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ย้อนหลัง 3 ปีก่อนเข้าตลาด)  

2. อัตราการเติบโตของกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA)(ย้อนหลัง 3 ปีก่อนเข้าตลาด)  

3. อัตราการเติบโตของยอดขาย(ย้อนหลัง 3 ปีก่อนเข้าตลาด)  

4. สัดส่วนผู้ถือหุ้นแบบกระจายตัวและสัดส่วนผู้ถือหุ้นแบบกระจุกตัว 

5. ความสัมพันธ์ทางการเมืองของประธานบริษัทมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาต่ำกว่ามาตรฐานในการเข้าตลาดครั้งแรก (IPO Underpricing) 

6. ผู้ตรวจสอบภายใน IA

คุณรักชนก กล่าวว่า ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในหลายทาง ได้แก่ 

1. สำนักงานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการควบคุมบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องของการกำหนดราคาหลักทรัพย์ IPO ของแต่ละบริษัทมีถูกต้อง เหมาะสม และมีความน่าเชื่อถือ ก่อนที่จะเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่ประชาชน ทั้งยังเป็นการเพิ่มเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ ความมั่นคงให้กับองค์กร

2. บริษัทต่างๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาองค์การของตนเองในด้านต่างๆ อาทิ แหล่งเงินทุนในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจรวมทั้งเป็นการวางแผนบริหารภายในและภายนอกของบริษัทเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

3. นักลงทุนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ไปกำหนดทิศทางการลงทุนให้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการลงทุนในหลักทรัพย์ IPO

4. ประชาชนทั่วไป นักศึกษา นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในการศึกษาสามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต

ในภาพรวมแล้วประโยชน์จะเกิดขึ้นทั้งกับบริษัทที่ต้องการหาแหล่งเงินทุนในการพัฒนาหรือขยายธุรกิจสามารถนำผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถไปใช้ในการวางแผนในการเตรียมตัวนำบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่นักลงทุนสามารถนำผลการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อตัดสินใจในการลงทุนในหลักทรัพย์ IPO ของตลาดหลักทรัพย์ได้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...