CIBA มธบ.ชี้ระบบเรียนออนไลน์ฉลุยเหตุเด็กสมัยใหม่สนใจและเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น | Techsauce

CIBA มธบ.ชี้ระบบเรียนออนไลน์ฉลุยเหตุเด็กสมัยใหม่สนใจและเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น

CIBA มธบ. เผยการเรียนการสอนระบบออนไลน์ฉลุย เหตุเด็กเก่งเทคโนโลยี คุ้นเคยกับระบบและเครื่องมือ ด้วยมหาวิทยาลัยมีความพร้อมเปิดสอนมาก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 แต่ที่ผ่านมาเรียนผ่านออนไลน์อาจยังไม่เป็นนิยมมากนัก ด้วย น.ศ.ยังชอบปฎิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมากกว่า 

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด –19 มหาวิทยาลัยได้ปรับการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทดแทน สำหรับ CIBA นักศึกษาและบุคลากรได้มีการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และมีการใช้เครื่องมือ โปรแกรมต่างๆ อยู่แล้ว จึงคุ้นเคยกับระบบเทคโนโลยี โดยนักศึกษาของวิทยาลัย CIBA ได้รับแจกไอแพดจากมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 1 ภาคเรียนที่ 2 ดังนั้น นักศึกษาจึงมีอุปกรณ์พร้อมในการเรียนประกอบกับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถใช้เทคโนโลยี เครื่องมือต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยมีความพร้อมอยู่แล้วจึงปรับตัวได้เร็วเมื่อเกิดวิกฤติ 

“ส่วนของเนื้อหาการเรียนการสอนได้กำหนดให้อาจารย์จัดแบ่งการเรียนการสอน เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า (3 ชั่วโมง) และช่วงบ่าย (3 ชั่วโมง) ในแต่ละช่วงจะแบ่งเป็น 2 section แต่ละ section ประกอบด้วย 1.30 ชม ซึ่งการสอนแบบไลฟ์สดดังกล่าว กำหนดให้แต่ละsection จะมีการแบ่งการไลฟ์โดยกำหนดให้ไลฟ์ครั้งละ 15-20 นาที แต่สูงสุดไม่เกิน 50 นาที และอีก 30 นาที กำหนดให้นักศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวิเคราะห์จากกรณีศึกษา เมื่อเสร็จสิ้นก็จะดำเนินการสอนในแต่ละ section เช่นนี้ต่อไป จนกว่าจะครบทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย เมื่อการดำเนินการสอนแบบไลฟ์และการทำกรณีศึกษาเสร็จสิ้น อาจารย์ผู้สอนก็จะมอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำโปรเจค ที่สอดคล้องกับวีดีโอคลิปที่อาจารย์มอบหมายให้ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนรู้ไปในแต่ละวัน ทั้งนี้วีดีโอคลิปดังกล่าว จะมีความยาวไม่เกินกว่า 8 นาที เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของให้นักศึกษาในการทบทวนได้เป้นอย่างดี และการทบทวนจากวีดิโอคลิปดังกล่าวจะถูกนำมาตั้งเป็นคำถามกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสรุปผลร่วมกันก่อนเริ่มเรียนในบทเรียนถัดไป ทั้งนี้การเรียนการสอนแบบไลฟ์นี้จะเหมาะกับนักศึกษา 30-40 คนต่อชั้นเรียนเท่านั้น” คณบดี CIBA กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับคลาสเรียนขนาดใหญ่ ที่มีนักศึกษาประมาณ 80 คน ผู้สอนควรจะใช้ Google docs หรือ Google Sheets ควบคู่กับโปรแกรม Zoom Video Conferencing  เพื่อให้เกิดการระดมสมองร่วมกันระหว่างนักศึกษาในชั้นเรียน และใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เนื่องจากการสอนออนไลน์แบบไลฟ์สดนั้น จะแตกต่างอย่างมากกับการเรียนในชั้นเรียน เนื่องจากอาจารย์ไม่สามารถสังเกตหน้าตาของนักศึกษาที่กำลังสงสัย หรือเวลาที่นักศึกษาตั้งคำถาม อาจารย์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เครื่องมือที่ได้กล่าวข้างต้นมาช่วยเพื่อเพิ่มพูนกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้น ทางวิทยาลัย CIBA มีการอบรมทำความเข้าใจกับอาจารย์เกี่ยวกับการสอนออนไลน์ แม้ว่าอาจารย์จะมีความคุ้นชินอยู่แล้ว แต่ก็มีบางอย่างที่อาจารย์ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมร่วมกัน เช่น การเลือกใช้สี เลือกใช้ตัวอักษร เพื่อทำให้นักศึกษาสนใจการเรียนแบบออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น 

ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้ายว่า การเรียนการสอนออนไลน์นั้น เหมาะกับการเรียนของเด็กยุคใหม่ที่เข้าใจและใช้เทคโนโลยีได้อย่างชำนาญอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการใช้ระบบสอนออนไลน์ทั้งหมด กลับพบว่า กลุ่มนักศึกษาที่ชื่นชอบการเรียนออนไลน์นั้น เป็นกลุ่มนักศึกษาภาคพิเศษ (ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ทำงานอยู่แล้ว) ซึ่งพวกเขามองว่าเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มของนักศึกษาภาคปกติ ถึงแม้ว่าจะเรียนออนไลน์ได้ดี แต่ด้วยความเป็นมนุษย์สังคม ยังอยากมีปฎิสัมพันธ์ อยากมาสื่อสาร อยากมาเรียนรู้กับผู้อื่นในชั้นเรียนมากกว่า ดังนั้น ถ้าให้วิเคราะห์ในขณะนี้ การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ทั้งหมดนั้น อาจจะยังไม่เป็นที่นิยมของนักศึกษามากนัก เพราะนักศึกษาไทย คนไทยยังคงชอบปฎิสัมพันธ์ พูดคุยสื่อสารกันมากกว่า 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...

Responsive image

TikTok จับมือ ลาลีกา สานต่อความร่วมมือ ยกระดับคอมมูนิตี้คนรักฟุตบอล

TikTok จับมือ ร่วมมือ LALIGA (ลาลีกา) ลีกฟุตบอลของประเทศสเปน เดินหน้าความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากความสำเร็จในการร่วมมือกันครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำไปสู่การขยายความร่วมมื...

Responsive image

จับตา ‘ไทยในฐานะ Digital Asset Hub’ เตรียมจัดงานบล็อกเชนระดับโลก SEA Blockchain Week และ Devcon ปีนี้

ไทยกำลังได้รับความสนใจจากวงการเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก ด้วยการเป็นสถานที่จัดงานสำคัญระดับนานาชาติถึง 2 งาน ได้แก่ SEA Blockchain Week (SEABW) ในวันที่ 22-28 เมษา...