ไพโรไลซิส วิธีย่อยขยะพลาสติกเป็นน้ำมันชีวภาพ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน | Techsauce

ไพโรไลซิส วิธีย่อยขยะพลาสติกเป็นน้ำมันชีวภาพ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

จากสถานการณ์ COVID-19 ก่อให้เกิดมลภาวะจากขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากคนทั่วโลกมีความจำเป็นและความต้องการซื้อหน้ากากอนามัยรวมถึงอุปกรณ์ในการดูแลป้องกันสุขภาพของตนเอง ส่งผลถึงการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น 

Pyrolysis Machine

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรายงานว่าสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 60% โดยอัตราการผลิตพลาสติกรายปียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และในประเทศไทยเองมีการสร้างขยะพลาสติกปีละกว่า 2,000 ล้านกิโลกรัม มีการนำไปรีไซเคิลเพียงแค่ไม่ถึง 10% ตลอดจนรายงานการผลิตขยะพลาสติกทั่วโลกมากกว่าถึง 370 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ขยะพลาสติกกว่า 12 พันล้านตันจะทับถมอยู่ในหลุมขยะฝังกลบและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ

Corsair Group บริษัทผู้พัฒนาโซลูชันธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานการดำเนินงานทั้งในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ ชู เทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis technologies) ที่เปลี่ยนแปลงขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (Advanced Bio-oil) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก พร้อมเดินหน้าขยายเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรธุรกิจทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน


ปริมาณขยะโดยการการเปลี่ยนสภาพของขยะพลาสติกให้กลับไปเป็นน้ำมันในรูปแบบของเหลว เริ่มจากกระบวนการลำเลียงขยะพลาสติกลงในเครื่องนวัตกรรมไพโรไลซิส (Pyrolysis Machine) ที่สามารถรองรับขยะพลาสติกได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก พลาสติกห่อหุ้ม และบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ซึ่งพลาสติกกลุ่มนี้หลังจากถูกใช้งานมักถูกทิ้งใส่หลุมฝังกลบ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในท้องทะเล)

หลังจากนั้น เครื่องจะให้ความร้อนต่อขยะพลาสติกที่ถูกใส่ไปในเครื่องเพื่อให้เกิดควันและก๊าซ โดยขั้นตอนนี้ไม่ใช่การเผาแต่เป็นการใช้ความร้อนเพื่อย่อยสลาย ทำให้ไม่เกิดไอพิษลอยสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซไวไฟที่ได้ในขั้นตอนนี้จะถูกรวบรวมและนำไปใช้เพื่อสร้างความร้อนในขั้นตอนการแปรสภาพขยะพลาสติกต่อไป ส่วนควันที่เกิดขึ้นจะลอยผ่านระบบกลั่นและเปลี่ยนเป็นของเหลว ซึ่งพลังงานหรือน้ำมันชีวภาพถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการดังกล่าว 

และยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันชีวภาพขั้นสูงบางส่วนที่ผลิตได้ยังหมุนเวียนนำกลับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องนวัตกรรมไพโรไลซิสได้อีกครั้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากภายนอก โดยในอนาคต Corsair Group จะมีการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนของเครื่องจักรเหล่านี้ในตัวเอง เพื่อสร้างระบบนิเวศพลังงานที่เพียงพอสำหรับป้อนภายในโรงงาน

สำหรับโรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมันของ Corsair Group มีเนื้อที่ 6,400 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิสที่สามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกที่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันกำมะถันต่ำหรือนำมันชีวภาพ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตราว 200,000 ลิตรต่อเดือน โดยโรงงานจะขยายเนื้อที่เพิ่มอีก 10,000 ตารางเมตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการผลิตให้ได้มากกว่า 1,000,000 ลิตรต่อเดือนในปี พ.ศ 2565

Jussi Veikko Saloranta

Jussi Veikko Saloranta ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์สแอร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เป้าหมายของ Corsair Group คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งและไม่ถูกทำลายเพื่อย่อยสลายเหล่านี้ให้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์บนแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราได้ร่วมมือมือกับองค์กรหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา กรุ๊ป, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน), แดรี่โฮม และอีกหลายแห่ง เพื่อ ร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ล้นเมืองและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับโลกใบนี้ได้มีความอุดมสมบูรณ์ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสร้างสรรค์มลภาวะที่ดีสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่ต่อไป



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...