แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Dassault Systèmes) เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Virtual Twin และอุตสาหกรรมยานยนต์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศไทยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อช่วยธุรกิจเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้น ทั้งจากปริมาณความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลในอุตสาหกรรม
จากการที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างกำลังเผชิญกับปัญหาการหยุดชะงัก ประกอบกับแผนของประเทศไทยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอากาศและตั้งเป้าเป็นประเทศที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือประเทศที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 โดยประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านการขนส่งและยนตรกรรมที่มีความยั่งยืน
จากแนวโน้มปริมาณรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566 และประเทศไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ของภูมิภาคอาเซียนสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) หรือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน ซึ่ง “นวัตกรรมในการผลิต” มีบทบาทสำคัญสำหรับช่วยให้ประเทศตระหนักถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้พัฒนารูปแบบการขนส่งที่ยั่งยืนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
ด้านคุณ โจเซฟิน ออง (Josephine Ong) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ ได้เน้นย้ำถึง ประเด็นสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยควรตระหนักถึงภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะผลักดันกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนของประเทศ
โดยคุณโจเซฟิน ชี้ให้เห็นแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย นำเสนอโอกาสและความท้าทายที่จะเกิดขึ้น และเผยความสามารถของเทคโนโลยี Virtual Twin ที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเท่าทันกับความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาด
"เราให้ความสำคัญกับบุคลากรที่จะต้องมีมายเซ็ต ความเข้าใจ และทักษะในเรื่องของดิจิทัล พร้อมทรานส์ฟอร์มศักยภาพ และขับเคลื่อนไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ในที่สุด ส่วนเรื่องของ Work-flow ต้องมองว่านวัตกรรมเข้ามาช่วยในจุดไหน และนำมาตอบโจทย์ธุรกิจให้ได้ แต่การที่จะทรานส์ฟอร์มตัวเองไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถเลือกปรับใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรได้เช่นเดียวกัน"
ขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่การคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทยที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีความเข้มแข็งและมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศคิดเป็น 12% ของ GDP ทำให้ EV กลายเป็นอีกหนึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการกระตุ้น การขับเคลื่อนและพัฒนาการผลิตรถยนต์ EV เพื่อเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์สำคัญที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และก้าวเป็นผู้เล่นหลักในห่วงโซ่คุณค่าของตลาด EV โลกได้
"อย่างไรก็ดี ความต้องการพึ่งพาโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นลำดับแรก ๆ ที่ผู้ผลิตไทยควรคำนึงถึง โดยการปรับใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตจะช่วยให้ช่วยนำผู้ผลิตไปสู่การเปลี่ยนแปลงและยกระดับการคมนาคมได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มโอกาสในตลาดงานและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE และเทคโนโลยีดิจิทัลของเราตอบโจทย์ดังกล่าว และบริษัทฯพร้อมจับมือเป็นพันธมิตรที่มีคุณค่าสำหรับผู้ผลิตในประเทศไทยเช่นกัน” คุณโจเซฟิน กล่าว
ด้านคุณ กีโยม เชอ-คฮองโดร์ (Guillaume Gerondeau) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งและยานยนต์แห่งเอเชียที่ Dassault Systèmes กล่าวถึง อนาคตของ EV และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้กลายเป็นโลกแห่งการแข่งขันทางดิจิทัล ซึ่งการที่จะพัฒนาการคมนาคมไปสู่รูปแบบที่ยั่งยืนนั้น ต้องใช้นวัตกรรมในการผลิตและการออกแบบที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Ecodesign) เพื่อลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็น อันนำมาซึ่งมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นต้นของกระบวนการผลิต
ซึ่งเทคโนโลยี Virtual Twin ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นในฟังก์ชันต่าง ๆ และช่วยพัฒนาอนาคตของการคมนาคมในเมืองอัจฉริยะให้เป็นจริงได้ โดยการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ Lifecycle ของโซลูชั่นทั้งระบบ ด้วยการสร้างแบบจำลองกระบวนการผลิตที่ครอบคลุมทั้งระบบในลักษณะการทำงานร่วมกัน Virtual Twin
สามารถให้ประโยชน์แก่บริษัทในประเทศไทยเพื่อสร้างการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ตระหนักถึงอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กรณีศึกษาจากลูกค้าของแดสสอล์ท ซิสเต็มส์ แนะนำว่าเทคโนโลยี Virtual Twin จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิตและส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบขับเคลื่อนใหม่ การออกแบบตัวถังน้ำหนักเบา และแบตเตอรี่สำหรับ EV รวมทั้งเป็นผู้ช่วยสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งอัตโนมัติได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด