สายชาร์จขาด พาวเวอร์แบงค์บวม หูฟังเก่าแล้ว ต้องทิ้ง ทิ้งให้ดีทิ้งที่ dtac | Techsauce

สายชาร์จขาด พาวเวอร์แบงค์บวม หูฟังเก่าแล้ว ต้องทิ้ง ทิ้งให้ดีทิ้งที่ dtac

dtac ชวนผู้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารตรวจสอบสภาพพาวเวอร์แบงค์ สายชาร์จโทรศัพท์ และหูฟัง หากชำรุด ไม่ควรใช้งานต่อหรือเก็บไว้ แนะนำให้ทิ้งให้ดี ให้ถูกวิธีที่ถังเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บริการ dtac 51 สาขาทั่วประเทศ

ตลาดพาวเวอร์แบงค์หรือแบตเตอรี่สำรองในประเทศไทยมีมูลค่าราว 1 พันล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปพาวเวอร์แบงค์ 1 เครื่องมีอายุเฉลี่ยการใช้งานอยู่ที่ 4 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จต่อวัน โดยทั่วไปชาร์จได้ประมาณ 500 – 800 ครั้ง1 จึงค่อย ๆ เสื่อมสภาพและเก็บประจุไฟได้น้อยลงเรื่อย ๆ ประเภทที่ได้รับความนิยมสูง คือ ชนิดลิเธียมไออน (Lithium-ion) เนื่องจากน้ำหนักเบา ราคาเข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานที่สูง แต่เมื่อเสื่อมคุณภาพและหมดอายุการใช้งาน สามารถติดไฟ และเป็นชนวนเร่งให้เกิดระเบิดได้ หากทิ้งไม่ถูกวิธีหรือกำจัดโดยไม่ได้คายประจุก่อน2 ซึ่งจากการสำรวจของ dtac นั้น พบว่า 85% ของผู้ใช้งาน จะเก็บพาวเวอร์แบงค์ ไว้เพื่อใช้งานต่อแม้เสื่อมสภาพ ไม่สามารถเก็บไฟไว้ได้เต็มประสิทธิภาพ และจะจัดเก็บไว้ในบ้าน โดยจัดเก็บไว้มากกว่า 2-3 เครื่องต่อผู้ใช้ 1 คน

อุปกรณ์สวมใส่ (wearable device) สมรภูมิใหม่ของขยะอิเล็กทรอนิกส์

อุปกรณ์สวมใส่ประเภทหูฟังและนาฬิกาอัจฉริยะ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 52% หรือประมาณ 125 ล้านชิ้นทั่วโลก หูฟังเป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 55.79% ของอุปกรณ์สวมใส่ทั้งหมด และมีอัตราการเติบโตของยอดขายสูงสุดที่ 58% รองลงมาคือนาฬิกาอัจฉริยะ 36.2% และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย 9.4%3 นอกจากนี้ บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก Canalys ยังคาดการณ์ว่า ภายในปี 2566 จะมีอุปกรณ์ไอทีอัจฉริยะขนาดเล็กมากถึง 3 ล้านล้านชิ้นทั่วโลก และหูฟังเป็นอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากที่สุดถึง 726 ล้านชิ้นทั่วโลก ไม่นับรวมโทรศัพท์มือถือ4

วิธีสังเกตสายชาร์จ พาวเวอร์แบงค์ และหูฟังเสื่อมสภาพ เก่าแล้ว ต้องทิ้ง!

dtac ทิ้งให้ดี ขอเชิญชวนผู้ใช้งานหันมาตรวจสอบสภาพอุปกรณ์เสริมที่ใช้งาน โดยสังเกตว่า จะมีลักษณะ

  • แบตเตอรี่บวมและพาวเวอร์แบงค์เก่า : นำแบตเตอรี่เก่าหรือพาวเวอร์แบงค์ วางบนโต๊ะหรือบริเวณที่มีพื้นผิวเรียบ หมุนแบตเตอรี่ด้วยมือ หากหมุนได้เกิน 1 รอบ เป็นสัญญาณเตือนว่า อาจมีอาการบวม และหากเป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไออน (Lithium-ion) รุ่นเก่าที่เสื่อมสภาพแล้ว อาจเกิดระเบิดได้
  • สายชาร์จขาด : สายชาร์จฉีกขาดจนเห็นสายไฟด้านใน หรือบริเวณข้อต่อมีการหักงอหรือชำรุด ส่งผลให้ชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว ส่งผลต่ออายุการใช้งานโทรศัพท์มือถือ
  • หูฟังพัง : สายหูฟังชำรุด มีร่องรอยการฉีกขาด เริ่มได้ยินเสียงหูฟังสองข้างไม่เท่ากัน มีเสียงรบกวน สัญญาณขาดหาย อาจทำให้หูเสื่อม

ในอุปกรณ์ไอทีขนาดเล็กเหล่านี้มีชิ้นส่วนแร่มีค่าสำคัญ เช่น ลิเธียม โคบอลต์ ทองแดง ฯลฯ ที่หากเมื่อนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่ถูกวิธี จะสามารถนำกลับมาใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ได้

dtac ทิ้งให้ดี เริ่มจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 สามารถจัดเก็บซากอุปกรณ์สื่อสารเพื่อนำกลับไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่ถูกวิธีแล้วร่วม 1,810,330 ชิ้น คิดเป็นคาร์บอนที่ลดลงได้มากกว่า 32,248,751 กิโลคาร์บอน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ให้โลกถึง 3,583,195 ต้น ที่สำคัญ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นสามารถรีไซเคิลได้ร้อยละ 96-98 เปอร์เซ็นต์ ไม่เหลือเป็นเศษซากไปกำจัดแบบฝังกลบ

ภายใต้กรอบการทำงานด้านการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะอากาศ ในปี 2563 ที่ผ่านมา dtac จัดเก็บและรีไซเคิลขยะอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ใช้งานทั่วไปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 จาก dtac เฮาส์ ร้อยละ 4 ที่เหลือเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากอุปกรณ์โครงข่ายและอุปกรณ์ส่งสัญญาณร้อยละ 90 จากจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ dtac รับผิดชอบในการจัดการ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...