สรุปงาน FinTech Startup โดย AIS the Startup และ KBank | Techsauce

สรุปงาน FinTech Startup โดย AIS the Startup และ KBank

11857751_877094535676970_277709847_n

AIS The Startup และ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ร่วมมือกันจัดสัมมนา How Digital Technology to Transform the Financial Service & Experience ณ ห้องประชุมสุขสามัคคี ชั้น 8 ธนาคารกสิกร สำนักงานใหญ่ อาคารพหลโยธิน เพื่อให้ได้เข้าใจภาพรวมของ FinTech และสามารถเอาไอเดียไปใช้ต่อได้ในการทำ รวมถึงเข้าร่วมงาน AIS the Startup 2015 ที่จะมีขึ้นได้

การสัมมนามีอยู่ 2 ช่วงด้วยกันโดยช่วงแรก คุณเจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส จะมาพูดให้ฟังเกี่ยวกับ FinTech และทำไมเราควรจะต้องให้ความสำคัญกับมัน FinTech ก็คือการที่เราเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานเข้ากับการเงินนั้นเอง ส่วนบทบาทและหน้าที่ของมันจะมีอยู่ในหลายรูปแบบ

11888013_10153156054821298_2068733532801785047_n

คุณเจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส

คุณเจมส์ได้พูดเกริ่นถึงการตลาดในอีก 10 ปีข้างหน้าว่ากลุ่มเป้าหมายในตลาดจะมีอายุประมาน 20-50 ปี นั้นก็หมายถึงคนในวัยนี้ประกอบไปด้วย gen y และ gen x คิดเป็นเปอร์เซ็นของ gen x กับ gen y รวมกันอยู่ที่ 80% ของตลาด โดยทั้งสองกลุ่มคนจะใช้ชีวิต 1 ใน 3 ของพวกเขาอยู่ในโลกออนไลน์ และนอกเหนือจากนั้นสมาร์ทโฟนก็ยังมีความสำคัญมากๆต่อธุรกิจในสมัยนี้ เพราะทุกๆคนในโลกปัจจุบันล้วนแล้วแต่ใช้สมาร์ทโฟนกันทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า Startups ที่ประสบความสำเร็จไม่สามารถมองข้ามความสำคัญของสมาร์ทโฟนได้เลย ต่อมาคุณเจมส์ได้พูดให้ฟังถึง 4 องค์ประกอบหลักเพื่อให้พวกเราได้เข้าใจบทบาทของ FinTech มากขึ้น

1. Payment & Transaction

กล่าวคือวิธีและช่องทางการจ่ายเงินนั้นเอง PayPal คือตัวอย่างของ FinTech ในยุคแรกๆ แต่แล้วทำไมเราถึงต้องสนใจและให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ด้วย เหตุผลก็เพราะว่าในสมัยนี้มีร้านค้าที่ตั้งขายของออนไลน์ถึง 5 แสนร้านในประเทศไทย การซื้อขายก็มักจะอยู่ในรูปแบบของการเลือกชมสินค้าใน Instagram หรือ Facebook หลังจากนั้นก็จะสั่งจองแล้วลูกค้าค่อยเดินไปโอนเงินที่ตู้ ATM มีผลวิจัยออกมาว่าการให้ลูกค้ามีเวลาคิดที่จะจ่ายเงินทำให้พวกเขาตั้งสติได้ว่าอันที่จริงแล้วเขาอาจจะไม่ต้องการของชิ้นนี้จริงๆก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่นลูกค้าส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจไม่ซื้อของในระหว่างทางที่ตัวเองเดินไปโอนเงินกับตู้  ATM เพราะในระหว่างทางที่เดินก็จะมีความคิดและจิตใต้สำนึกเข้ามาในหัวว่าอันที่จริงเราอาจจะไม่ได้ต้องการของสิ่งนี้ เป็นเหตุให้ลูกค้าเปลี่ยนใจ เพราะฉะนั้น ถ้าเราต้องการจะให้ลูกค้าซื้อของกับเรา วิธีจ่ายเงินที่ง่ายจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของเราทันที

2. Funding

เนื้อหานี้จะเกี่ยวกับกรณีหากเราต้องการเงินไปทำธุรกิจหรือทำ Startups ถ้าในสมัยก่อนเราก็คงจะคิดถึงเรื่องไปกู้กับธนาคารและก็เสียดอกเบี้ยหรือแม้กระทั้งกู้นอกระบบ ซึ่งเดียวนี้มันมีรูปแบบธุรกิจที่ไม่ใช่การกู้ธนาคารและกู้นอกระบบอีกแล้ว แต่จะเป็นเรื่องของพวก Crowdfunding เป็นตัวอย่างของ FinTech ที่จะเกิดขึ้นได้ บริษัทที่จะมาให้เงินลงทุนกับเราเช่น 500Startups หรือแม้กระทั้ง 500TukTuk ในไทย

3. Investment

การลงทุนในปัจจุบันเชื่อเลยว่าทุกคนเมื่อมีเงินก็จะนำเงินไปซื้อกองทุนหรือเล่นหุ้น มันก็เริ่มมีรูปแบบการของลงทุนใหม่ๆ การลงทุนเหล่านี้ก็คือเวลาเราไป pitches สินค้าของเราให้บริษัทนายทุนต่างๆ และเมื่อเขาสนใจในสินค้าเราเขาจะให้เงินเรามาเพื่อไปพัฒนาและขยายความสำเร็จต่อไป สำหรับ Startups คนที่จะประสบความสำเร็จก็คือคนที่พยามทำไปเรื่อยๆไม่ย้อท้อต่อปัญหา ส่วนมากพวกที่ล้มเหลวจะถอดใจเร็วไปและที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของจังหวะและเวลาที่ถูกต้อง

4. Protection

ในสมัยนี้เรามีทางเลือกเกี่ยวกับการเงินมากขึ้นว่าอยากจะให้สถาบันไหนมาดูแลการเงินและลงทุนของเรา ยกตัวอย่างเช่น Silkspan เป็นผู้บุกเบิก Financial Supermarket รายแรกๆของโลก โดยมีความคิดที่รวมเอาบริการด้านการเงินมาไว้ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย บัตรเครดิตหรือสินเชื่อ เราสามารถปรึกษาด้านการเงินการลงทุนหรือเปรียบเทียบเบี้ยประกันซึ่งมีอยู่มากกว่า 20 บริษัทชั้นนำของโลก รวมไปถึงการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์และยังมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษากับเราถึง 700 คน


 

ในช่วงที่สองจะเป็นเรื่อง Sharing Experience from Real Case จากผู้มีประสบการณ์ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่จาก StockRadars, ShopSpots, Digio และ Pay.SN

11866382_10153156054886298_2696098543155391583_n

คุณแม็ก ธีระชาติ ก่อตระกูล CEO StockRadars

คุณแม็กได้กล่าวถึงการเจริญเติบต่อของบริษัทในเครือข่าย FinTech ว่ามีการเติบโตไปสูงมาก ในปัจจุบันมีบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ FinTech ถึง 248 บริษัททั่วโลก เมื่อคำนวนจากผลวิจัยระหว่างปี 2010 ถึง 2014 จะเห็นได้ว่ามีเงินลงทุนในระบบจาก 3 พันล้านเหรียญเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่น 2 พันล้านเหรียญเลยทีเดียว คุณแม็กพูดถึงที่มาของแอปพลิเคชัน StockRadars ว่าตนนั้นพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เนื่องจากตนได้รู้ว่ามีเพียง 1 เปอร์เซ็นของประชากรไทยที่เล่นหุ้นดังนั้นมันยังมีช่องว่างของการเติบโตได้อีกมาก เพราะ 1 เปอร์เซ็นที่ว่าสามารถขยายตัวได้เป็นหลายเท่าเลยทีเดียว มีหลายๆคนที่ไม่เล่นหุ้นเพราะคิดว่ามันยาก StockRadars ก็เลยเข้ามาช่วยในตรงนี้ ผู้ใช้งานสามารถจะตั้งค่าให้แอปตัดผลกำไร ขาดทุน ณ จุดที่ตนต้องการ โดยเราไม่จำเป็นต้องมานั่งเฝ้าจอมือถือหรือคอมตลอดเวลา เปรียบเสมือนเครื่องมือประหยัดเวลาและสำหรับผู้เริ่มหัดเล่นหุ้นใหม่

11897008_10153121575586915_1707157580_n

คุณนัฏฐ์สกล เกียรติสุรนนท์ CEO ShopSpot

ShopSpot เป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายที่รักในสินค้าไลฟ์สไตล์ มีดีไซน์และความคิดสร้างสรรค์ได้มาพบเจอกัน สามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์หรือแอปก็ได้ คุณนัฏฐ์สกลได้กล่าวว่าเราช่วยเหลือทั้งผู้ขายและผู้บริโภค ทางด้านของผู้บริโภคเราเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดนักช้อปออนไลน์ ที่คอยแนะนำร้านค้า/สินค้าให้โดนใจ และ ส่วนของผู้ขายเราช่วยสร้างแบรนด์ หาลูกค้าเป้าหมาย เพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืนโดยมีการออกแบบที่สวยงามและใช้งานได้ง่าย ส่วนมากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าก็จะตั้งร้านขายของใน Facebook และ Instagram แต่ว่าการทำงานของมันไม่ได้ถูกออกแบบให้ขายของออนไลน์ หากแต่แอป ShopSpot นั้นถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์การซื้อ-ขายอย่างชัดเจน โดยรูปแบบธุรกิจก็จะประกอบไปด้วย Community Content Commerce อย่างแรก Community เราดึงเอาผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาอยู่ด้วยกัน เกิดเป็นชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้ซื้อ-ผู้ขายของออนไลน์ อย่างที่ 2 Content เรามีการนำเสนอในรูปแบบที่คล้ายกับ magazine ซึ่งช่วยให้ไอเดีย แนะนำ trend & style ต่างๆ รวมถึง brand story ที่หาที่อื่นไม่ได้ อย่างที่ 3 Commerce เราให้บริการชำระเงินผ่านหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นจ่ายเงินออนไลน์ mobile banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต ส่วนออฟไลน์ก็จะมีให้โอนจากตู้ ATM เป็นต้น

11885297_10153156055086298_7198480408364962216_n

คุณนพพร ด่านชัยนาม MD Digio

คุณนพพรได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ตัวเองไปเจอมาในฐานะนักลงทุนและนักพัฒนาคนหนึ่ง เขาได้กล่าวว่าตัวเองนั้นล้มเหลวมาหลายอย่าง จับสินค้าตัวไหนก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จ จนเขาได้มาให้ความสนใจเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านทางมือถือสมาร์ทโฟน คุณนพพรได้ยกตัวอย่างว่าถ้าเกิดเราเป็นร้านค้าและมีลูกค้าต้องการจะจ่ายเงินเป็นบัตรเครดิต เราต้องไปขอเช่าเครื่อง EDC เป็นเครื่องไว้สำหรับรูดบัตรเครดิตจากธนาคารโดยเราจะต้องเสียค่าเช่า แล้วทำไมเราถึงไม่ลองพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถชำระเงินบัตรเครดิตได้ผ่านทางมือถือสมาร์ทโฟนละ คุณนพพรก็เลยเริ่มศึกษาระบบนี้อยู่หลายเดือนด้วยกัน จนเมื่อโอกาสมาถึงตนได้จับมือกับธนาคารกสิกรในการพัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ให้สำเร็จ ในมุมมองของการเลือกคนเข้าทำงาน คุณนพพรกล่าวว่า ตนไม่ต้องการคนที่เก่ง ตนต้องการคนที่มีทัศนคติดีและพร้อมที่จะทำงาน เพราะความรู้ความสามารถมันสอนกันได้

11846742_10153156055216298_3308229864682193536_n

คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ Founder Pay.SN

Pay.SN เป็นเว็บไซต์ชำระเงินทุกรูปแบบครบวงจร ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในด้านออนไลน์รองรับทั้งบัตรเครดิต PayPal Bitcoin และอื่นๆ ส่วนออฟไลน์จะรองรับการจ่ายเงินผ่าน 7-11 ATM BigC Lotus และยังมีอีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เรียกได้ว่าเราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินของเราได้อย่างสบายใจ ได้ทั้งผลประโยชน์ต่อผู้ขายและผู้ซื้อของออนไลน์เป็นอย่างมาก คุณภาวุธได้พูดถึงวิธีที่จะเริ่มทำ Startups ให้ประสบผลสำเร็จมีหลายวิธี

  • ไอเดีย - ไอเดียจะมาจากการสร้างเสริมหรือเติมแต่งก็ได้ เก่าที่อื่นเอามาใหม่ที่นี้ แต่ไอเดียของเราต้องแตกต่าง ไม่แตกต่างไม่เติบโต
  • ทีม - อาจจะมาจากเพื่อนฝูงช่วยกันทำงาน จ้างคนอื่นหรือ outsource เป็นต้น หรือไม่ก็ทำคนเดียวเลยเป็นทั้งคนพัฒนา บริหารการเงินและโฆษณา
  • การวางแผน - ส่วนมากแล้ว Startups ที่ล้มเหลวก็เพราะไม่มีแผนธุรกิจที่ดี ไม่ได้คำนึงว่ารายได้จะมาจากไหน อีกทั้งยังมี cost of human ที่เป็น Fixed cost ในการจ่ายเงินให้พนักงาน ค่าน้ำค่าไฟและค่าเช่าที่ แม้กระทั้งพื้นฐานการทำการตลาดอย่าง 4P cash flow ก็สำคัญอย่างมาก
  • การดำเนินการ - เราต้องทำตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ อย่าคิดจะทำอะไรเพียงเพราะความรู้สึกของตัวเองบอกว่าเป็นไปได้ ตั้ง KPI ให้ชัดเจนเพราะ Startups ส่วนใหญ่ไม่มี KPI ที่แน่วแน่ ตัวเองคิดแต่จะทำยังไงให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จและเป็นที่รู้จัก หากแต่ไม่รู้ถึงวิธีทางเดินที่จะเดินไปสู่ความสำเร็จ
  • การขยาย - คุณภาวุธบอกว่าผลิตภัณฑ์บางตัวที่ออกมาสู่ตลาดนั้นบางชิ้นก็ไม่ได้ดีมาก หากแต่พวกเขามีทีม marketing ที่ดี เพราะฉะนั้นการขยายถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สินค้าของเราอยู่ในตลาดได้หรือไม่

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...