HappyFresh เปิดตัวบริการในไทยหลังได้ Series A กว่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐ | Techsauce

HappyFresh เปิดตัวบริการในไทยหลังได้ Series A กว่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐ

IMG_9851

HappyFresh บริการผู้ช่วยซื้อและส่งสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มาแรงมากในอินโดนีเซียและมาเลเซียขยายตลาดด้วยการเข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยเป็นประเทศที่สามในแถบ SEA หลังการได้รับเงินทุน Series A 12 ล้านเหรียญสหรัฐ

HappyFresh มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จากาตาร์ อินโดนีเซีย เปิดเผยถึงการ Raise Fund Series A ที่นำโดย Vertex ในเครือ Temasek Holdings, Sinar Mas Digital Ventures (SMDV) ในเครือ Sinar Mas Group จากอินโดนีเซีย พร้อมกับ Asia Venture Group, BEENEXT, Ardent Capital, 500 Startups และ Cherry Ventures การเข้ามาในเมืองไทยจึงเป็นการขยายตัวพร้อมกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยคุณ Markus Bihler ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง HappyFresh และคุณศิริภา จึงสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแฮปปี้เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด

FullSizeRender

สำหรับ HappyFresh ที่มาเปิดตัวนี้เป็นบริการช่วยชอปปิ้งและ เร็วที่สุด 1 ชั่วโมง เป็นบริการแรกในประเทศไทยและใน SEA โดยมองถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีเวลามากขึ้น

สำหรับการใช้งานนั้นเมื่อเปิดเข้าไปในแอปพลิเคชันหรือบนหน้าเว็บไซต์ จะเป็นการเลือกสถานที่ส่งก่อน จากนั้นจะเห็นสินค้าว่าจะมีอะไรบ้างแล้วเลือกเวลาในการส่ง โดยในช่วงของการเปิดตัวนี้จะมีการครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล ในกรุงเทพฯ อยู่ประมาณ 60% และจะทำให้ครอบคลุมมากขึ้นถึง 90% ในสิ้นปีนี้

สำหรับ Partner ในการเปิดตัว คือ The Mall Group และทางตั้งฮั้วเส็ง โดยมี Gourmet Market ที่ตั้งอยู่ที่ Emquatier, Siam Paragon, The Mall บางกะปิ, บางแค ส่วนตั้งฮั้วเส็งจะครอบคลุมที่ บางลำพู ธนบุรี ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ กำลังอยู่ในช่วงเจรจา โดนตอนนี้มีสินค้ามากกว่า 10,000 ชิ้น ซึ่งปริมาณสินค้าจะขึ้นอยู่กับทางซูเปอร์มาร์เก็ต

ราคาที่ตั้งใน HappyFresh จะไม่ได้ตั้งเหมือนกับในซูเปอร์มาร์เก็ต จะเป็นราคาของ HappyFresh เอง ซึ่งอาจจะสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาในห้าง โดยส่วนใหญ่แล้วจะแพงกว่าเพียงเล็กน้อย

ความโดดเด่นของบริการคือจะมี Personal Shopper ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี ที่จะรอ standby ที่ ซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อรอรับคำสั่งซื้อและ Driver ที่เป็นจักรยานยนต์ในการส่งสินค้า โดยมีระยะทางครอบคลุมประมาณ 3-5 กิโลเมตร

การชำระเงินมีให้เลือกทั้งการจ่ายด้วยใช้บัตรเครดิต, เดบิต และมี Cash On Delivery ชำระเมื่อได้รับสินค้า

Business Model ของ HappyFresh จะเป็นการคิดการบริการ หากสั่งสินค้าให้ส่งภายใน 1 ชั่วโมงจะมีค่าบริการอยู่ที่ 150 บาท ส่วนหากเป็นเวลาอื่นจะอยู่ที่ 80 บาท แต่ในช่วงเปิดตัวจะมีโปรโมชันถึงสิ้นปี หากสั่งไม่ถึง 750 บาทจะคิดที่ 35 บาท เกิน 750 บาทจะไม่มีคิดค่าบริการ

กลุ่มเป้าหมายของทาง HappyFresh มองไว้คือคนรุ่นใหม่, อายุในช่วง 25-40 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ซื้อสินค้าบนออนไลน์มากที่สุด

การเข้ามาลุยในเมืองไทยครั้งนี้มองว่าเมืองไทยมีส่วนแบ่ง ecommerce 1-2% โดย Global อยู่ประมาณ 8% และเกาหลีอยู่ที่ 16% ดังนั้นยังมีพื้นที่อีกมากที่จะเข้ามาลุยด้าน ecommerce รวมทั้งตลาดด้าน Grocery ใหญ่กว่า Fashion ถึง 5 เท่า

ประเทศไทยคือประเทศที่สามในการเปิดให้บริการหลังจากที่เปิดในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย แล้ว ประเทศถัดไปในแผนคือไต้หวันและฟิลิปปินส์ โดยในการสัมภาษณ์ได้มีการพูดถึง 2 ประเทศแรกที่ให้บริการว่า มีอัตราการเติบโตแบบ Double ทุกๆ เดือน และเพิ่งจะเปิดตัวได้เพียง 8 เดือนเท่านั้น

การทำการตลาดในประเทศไทยจะเน้น Performance Marketing, Content Marketing เป็นหลัก

และถ้ามองถึงความแตกต่างแบรนด์อื่นที่มีบริการคล้ายๆ กัน มีการยกประเด็นขึ้นมา 2 อย่างคือ การมี Personal Shopper ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี และเรื่อง Logistic ความเร็วในการส่งที่ยังไม่มีใครสามารถทำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง

ทาง Techsauce ได้ถามคำถามไปเกี่ยวกับการเข้ามาในประเทศไทย 2-3 คำถามโดยได้คำตอบว่า สาขาในไทยจะมีส่วนนึง ไม่ได้ยกมาเหมือนกับที่มีในอินโดนีเซีย แต่จะมีการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายอยู่ตลอดอยู่แล้ว และคำถามสุดท้าย ถามว่าทำไมไม่ไปบุกตลาดสิงคโปร์ ทำไมถึงเลือกมาไทยก่อน ก็ได้คำตอบง่ายๆ ว่า ที่เลือกเมืองไทยเพราะมีความน่าสนใจมากกว่าสิงคโปร์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...