สจล. ตั้งโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยและหน่วยวิจัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารเสริมทัพเเพทย์ไทย | Techsauce

สจล. ตั้งโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยและหน่วยวิจัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารเสริมทัพเเพทย์ไทย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศจัดตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร เพื่อเป็นที่พึ่งพาของผู้ป่วย และเป็นที่สำหรับสร้างสรรค์งานวิจัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ฝีมือคนไทยระดับภูมิภาค โดย ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยผ่าน Facebook สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ Suchatvee Suwansawat ซึ่งระบุข้อความดังนี้ 

"สจล. ประกาศตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร!! โควิด19 พิสูจน์ แพทย์พยาบาลไทย เก่งไม่แพ้ใครในโลก แต่น่าเสียดายเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ต้องนำเข้าแทบ 100%  ถึงเวลา ไทยเป็นไท ต้องพึ่งพาตนเองทางสาธารณสุขให้ได้ จะไม่กินน้ำใต้ศอก ไม่ต้องง้อซื้อของจากต่างประเทศ ไทยต้องทำ ไทยได้ใช้ คนไทยรอด เศรษฐกิจไทยเจริญ"

พระจอมเกล้าลาดกระบัง มหาวิทยาลัยของชาวไทย จึงประกาศตั้ง โรงพยาบาลวิจัย พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร เพื่อเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้เจ็บป่วย เป็นที่สร้างสรรค์งานวิจัย และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับภูมิภาค มุ่งเป้าให้ไทย ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ครบวงจรอย่างแท้จริง ทั้งออกแบบ สร้าง รักษา ดูแล ติดตาม ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ลดการนำเข้า ประหยัดเงินคนไทยมหาศาล

" พี่เอ้ ขอกราบขอบพระคุณผู้ใหญ่ ทุกสายอาชีพ เห็นความตั้งใจ เข้ามาช่วยสุดหัวใจ จึงมั่นใจ #จะทำก็ทำได้ จะขอรายงาน ความก้าวหน้า แก่พี่น้องทุกท่าน เพื่อร่วมกันสนับสนุน เพื่อคนไทย ในโอกาสต่อๆไปนะครับ ภูมิใจสุดๆ ชีวิตนี้ ได้ทำตามฝัน ให้ไทยดูแลไทยได้ #โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร "

อย่างไรก็ตาม จากรายงานอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (เมษายน 2562) ที่จัดทำโดยธนาคารออมสิน พบว่า การนำเข้าเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยในปี 2561 มีการขยายตัวจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.68 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าที่ 66,548 ล้านบาท โดยประเทศที่ไทยนำเข้าเครื่องมือแพทย์มากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี

ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ ซึ่งหมายถึงวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาพยาบาลทั่วไป สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ถุงมือยาง หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา สายยาง หลอดสวน แกนสอด อุปกรณ์และวัสดุทางทันตกรรม อุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับนัยน์ตา เป็นต้น มีการนำเข้ามากที่สุด ในสัดส่วน ร้อยละ 43 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 28,551 ล้านบาท

รองลงมาคือกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี ครอบคลุมตั้งแต่เครื่องมือที่ไม่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ชุดปฐมพยาบาล รถเข็น ผู้ป่วย เตียงคนไข้รวมไปถึงอุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น เครื่องมือทางศัลยกรรม ทันตกรรม เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า และเครื่องเอกซเรย์เป็นต้น มีสัดส่วนร้อยละ 40 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 26,333 ล้านบาท

และกลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ในการวินิจฉัยโรค รวมถึงน้ำยาเคมีที่ใช้สำหรับเตรียมหรือเก็บตัวอย่างจากร่างกาย อาทิ น้ำยาทดสอบกรุ๊ปเลือด ชุดตรวจครรภ์ น้ำยาล้างไต ชุดตรวจการติดเชื้อ HIV เป็นต้น มีสัดส่วนการนำเข้าที่ร้อยละ 17 ซึ่งมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 11,664 ล้านบาท 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...