เอชพี อิงค์ ประเทศไทย จัดเสวนา “HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” นำโดย คุณปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย ร่วมเสวนากับ ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของไทย และครอบครัวนักแสดง ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ พร้อมภรรยา สุนิสา เจทท์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เปิดมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กยุคเทคโนโลยี ตลอดจนแนวทาง และบทบาทของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกหลานสู่อนาคตที่มั่นคง
“ในฐานะพ่อแม่การให้การศึกษากับลูกหลานอย่างรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญ HP ตระหนักในข้อกังวลนี้จึงพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มารองรับสื่อดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยให้สนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลาน ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัย” คุณปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าว
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก และนำเทคโนโลยีมาผสมผสานในการเรียนรู้ HP ได้แสดงผลวิจัยโครงการ New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการสำรวจทัศนคติและบุคลิกลักษณะของ พ่อแม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
พบว่าความเชื่อและความคาดหวังที่แตกต่างกันไปนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการกำหนดการเรียนรู้ของลูก การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ ตลอดจนการเสียสละต่างๆ เพื่ออนาคตของลูก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงความมุ่งหวังของผู้ปกครองในการเตรียมลูกหลานสู่อนาคต ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจากผลของเทคโนโลยี ผู้ปกครองกังวลว่าลูกๆ จะไม่สามารถ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้ ซึ่งการสำรวจพบข้อมูลเชิงลึกดังนี้:
ผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ The Concerned, The Realist, The Typical, The Overachiever และ The Detached ซึ่งสะท้อนลักษณะวิธีการที่ผู้ปกครองให้ความหมายต่อการเรียนรู้ การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา บทบาทการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูก
กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned) - ผู้ปกครองกลุ่มนี้สนใจและกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของบุตรหลาน พวกเขากังวลไม่เฉพาะที่ลูกๆ ต้องเผชิญกับความหลากหลายของเทคโนโลยี แต่รวมถึงผลกระทบที่เทคโนโลยีมีอต่อการเรียนรู้และ ต่อการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคม ผู้ปกครองกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา
กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist) - ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียนและจะช่วยให้พวกเขาเป็นเลิศ กลุ่มพ่อแม่ลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ
กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical) - ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสมและให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ
กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever) - ผู้ปกครองลักษณะนี้เรียกอีกอย่างว่า Tiger Parents มีลักษณะแสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้และควบคุมเนื้อหาและเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached) - ผู้ปกครองกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขามีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ
กระบวนความคิดของผู้ปกครองไทยอยู่ในกลุ่มสัจนิยมมากที่สุด 31% รองลงมาคือกลุ่มกังวล 22% และพบว่า กลุ่มปลีกตัวและกลุ่มตามขนบเท่ากันที่ 17% ส่วนกลุ่มเน้นประสบความสำเร็จมีเพียง 15%
ผลการศึกษา New Asian Learning Experience โดยเอชพีช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตของเด็กในโลกที่กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เอชพีมุ่งสร้างการเรียนรู้ใหม่สำหรับเด็กวัยเรียน ด้วยนวัตกรรมอุปกรณ์และโซลูชั่นที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างทักษะควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะข้ามวัฒนธรรมและการเรียนรู้ที่เปิดกว้างขึ้น
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด