จากกระแสของเทคโนโลยี 5G และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่แพร่หลายไปทั่วโลก องค์กรต่างๆ จึงต้องปรับระบบเครือข่ายหลังบ้าน (Back-end) เพื่อให้สามารถเป็นผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรม และชิงความได้เปรียบทางธุรกิจให้เหนือคู่แข่งท่ามกลางการแข่งขันในตลาดอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน และเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ
ในตลาดโซลูชันระบบเครือข่าย หัวเว่ยจึงเปิดตัว Liquid OTN โซลูชันสำหรับการส่งผ่านข้อมูลด้วยสายใยแก้ว นำแสงแบบเหลวตัวแรกของโลก, ผลิตภัณฑ์ซีรีส์ AirEngine Wi-Fi 6 กับโซลูชัน HiCampus, และเราเตอร์ซีรีส์ “NetEngine 8000” ซึ่งเป็นเราเตอร์ E2E 400GE รุ่นแรกและมาพร้อมกับข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ที่พร้อมใช้งาน มุ่งเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของทุกองค์กรในทุกแวดวงอุตสาหกรรม
หลังจากประกาศกลยุทธ์ Intelligent OptiX Network ไปเมื่อปี 2019 หัวเว่ยก็ได้เปิดตัว Liquid OTN โซลูชันสำหรับการส่งผ่านข้อมูลด้วยสายใยแก้วนำแสงแบบเหลวตัวแรกของโลก, AirPON โซลูชันสำหรับ การเข้าถึงข้อมูลด้วยสายใยแก้วนำแสง (optical access solution) และผลิตภัณฑ์เทอร์มินัลสายใยแก้วนำแสงที่ฝัง AI (embedded AI (eAI) ONT optical terminal products) โซลูชันเหล่านี้ได้ยกระดับกลยุทธ์ Intelligent OptiX Network อย่างรอบด้าน ด้วยการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงที่ครอบคลุมทุกหนแห่ง มอบประสบการณ์ระดับพรีเมียมให้กับผู้ใช้ทั้งในครัวเรือน องค์กร และภาคอุตสาหกรรมในยุค 5G
คุณเควิน หวง (Kevin Huang) รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์การส่งผ่านข้อมูลและเครือข่ายของหัวเว่ย ระบุว่า “นวัตกรรมระบบเครือข่ายกำลังเปลี่ยนจากเดิมที่เคยขับเคลื่อนโดยแบนด์วิดท์ มาเป็นการขับเคลื่อนโดยประสบการณ์การใช้งาน ดังนั้น นวัตกรรมของเราจะมุ่งเน้นที่การเชื่อมต่อ แบนด์วิดท์และค่าความหน่วง เพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริง (immersive experience) ให้กับผู้ใช้ และจะเป็นอีกก้าวที่ช่วยให้ผู้ให้บริการ องค์กร และอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมของหัวเว่ยอย่าง OptiXtrans, OptiXaccess และ OptiXstar หัวเว่ยยังมุ่งสร้างการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงที่ครอบคลุมทุกหนแห่ง และวางรากฐานอันแข็งแกร่งเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงให้กับผู้ใช้ปลายทาง วันนี้ ผลิตภัณฑ์และโซลูชัน Liquid OTN, AirPON และ eAI ONT จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลยุทธ์ Intelligent OptiX Network อย่างมหาศาล เพื่อมอบประสบการณ์ระดับพรีเมียมให้กับทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร"
หัวเว่ยยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi สำหรับ Wi-Fi 6 ทั้งหมด 10 โมเดลใหม่ พร้อมทั้งเปิดตัวโซลูชัน HiCampus พร้อมกันทั่วโลก
ผลิตภัณฑ์ AirEngine 8700, AirEngine 6700 และ AirEngine 5700 สามารถครอบคลุมพื้นที่การใช้งานเป็นบริเวณกว้างทั้งในอาคารและนอกอาคาร ผลิตภัณฑ์ชุดนี้จะยกระดับประสบการณ์การใช้งานระบบเครือข่ายอย่างมีนัยสำคัญในการใช้งานรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงพื้นที่ใช้งานปลายทางที่มีอัตราการใช้งานอย่างหนาแน่น เช่น อาคารสำนักงาน ห้องประชุม สเตเดียม อาคารผู้โดยสาร และสถานีรถโดยสารต่างๆ, การนำไปใช้กับสื่อวิดีโอความละเอียดสูง เช่น การสอนผ่านเทคโนโลยี VR/AR (Virtual Reality / Augmented Reality) และการประชุมผ่านวิดีโอด้วยความละเอียดระดับ 4K หรือ 8K, การผลิตแบบเคลื่อนที่ทั่วทั้งแคมปัส (Campus-wide mobile production) เช่น หุ่นยนต์ลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV), การใช้งานร่วมกันระหว่าง IoT และ Wi-Fi เช่น ในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และสมาร์ทแคมปัส, การใช้บริการระบบเครือข่ายสาธารณะนอกอาคาร เช่น ย่านการค้าและตามท้องถนนต่างๆ เป็นต้น
คุณชิว เหิง ประธานฝ่ายการตลาดระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เสริมว่า “หัวเว่ย ยังได้เปิดตัวโซลูชัน HiCampus พร้อมกันทั่วโลก เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายแคมปัสอย่างก้าวกระโดดผ่านศักยภาพด้านนวัตกรรมของเรา ไม่ว่าจะเป็น AirEngine Wi-Fi 6 ที่สนับสนุนโดยเทคโนโลยี 5G ซึ่งช่วยให้เข้าถึงเทคโนโลยีไร้สายทั่วแคมปัสได้อย่างสมบูรณ์ หรือโซลูชัน Campus OptiX ที่มอบการเชื่อมต่อผ่านสายใยแก้วนำแสงได้อย่างทั่วถึงทั้งแคมปัส รวมไปถึง AI และ Horizon Digital Platform ที่เสริมให้การจัดการด้านปฏิบัติการ (O&M) และบริการอื่นๆ มีความอัจฉริยะอย่างแท้จริง โซลูชันดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไวไฟความเร็ว 100Mbps ที่พร้อมออนไลน์ตลอดเวลาได้ทุกที่ทุกเวลาภายในแคมปัส ทั้งยังลดอัตราการใช้พลังงานตลอดทั้งเครือข่ายได้ถึง 30% ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประสานกันได้มากขึ้นถึง 30% จึงสามารถเร่งขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในด้านแคมปัสขององค์กรได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น”
ในยุคที่ 5G และคลาวด์กำลังจะมาถึงนี้ พร้อมด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของบริการอย่างคลาวด์ VR/AR, การถ่ายทอดสดบนความละเอียดแบบ 4K/8K, และเครือข่าย Private Line แบบ site-to-cloud จึงคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการใช้งานข้อมูลบนเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่า ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ การที่เทคโนโลยี 5G เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับหลากหลายภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมเครือข่าย IP (Internet Protocol) จากเดิมที่เป็นเครือข่ายสาธารณะที่เหมาะกับการให้บริการแบบ B2C สู่เครือข่ายการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแนวดิ่งแบบ B2B ซึ่งมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเครือข่ายที่เข้มงวดมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการรับประกันเกี่ยวกับข้อตกลงระดับการบริการ (SLA) ซึ่งรวมถึงการรับประกันด้านแบนด์วิดท์ ความหน่วง และความพร้อมในการใช้งานอย่างเต็มที่
คุณแดเนียล ถัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายด้านเครือข่ายในยุค 5G และคลาวด์ หัวเว่ยจึงได้พัฒนานวัตกรรมเราเตอร์ 400GE สำหรับการใช้งานระหว่างองค์กรด้วยกัน (E2E) ชื่อว่า NetEngine 8000 ขึ้นเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม รวมไปถึงโซลูชันที่การันตีข้อตกลงระดับการบริการ (SLA) ในการส่งมอบเทคโนโลยี 400GE และเครือข่าย IP ได้”
เราเตอร์ NetEngine 8000 มีฟีเจอร์การใช้งานเด่นทั้งหมด 3 ฟีเจอร์ ได้แก่ การการันตีแบนด์วิดท์ได้ 100% สำหรับบริการหลัก, การการันตีความหน่วงต่ำสำหรับบริการหลัก, และการนำเทคโนโลยี In-situ Flow Information Telemetry (iFIT) และ iMaster NCE มาใช้เพื่อระบุจุดผิดพลาดในระบบเครือข่ายภายในไม่กี่นาที ทำให้สามารถรับประกันความพร้อมในการใช้งานได้ในระดับสูง
ด้านความสำเร็จของผลิตภัณฑ์เราเตอร์ หัวเว่ยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันถึงสองปีซ้อน โดยมีผลิตภัณฑ์และโซลูชันพร้อมให้บริการในกว่า 130 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งหัวเว่ยวางแผนพัฒนาและสร้างเครือข่าย IP อัลตร้าบรอดแบนด์อัจฉริยะ และโซลูชันข้อตกลงระดับการบริการ (SLA) ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความท้าทายในยุค 5G และคลาวด์ที่กำลังมาถึง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด