Huawei ต้องการแชร์ 5G ให้แก่บริษัทสัญชาติตะวันตก สืบจากถูกแบนจากสหรัฐฯ

Huawei ต้องการแชร์ 5G ให้แก่บริษัทสัญชาติตะวันตก สืบจากถูกแบนจากสหรัฐฯ

Huawei แชร์ 5G ถูกแบน

หัวเว่ยต้องการแชร์เทคโนโลยี 5G กับโลกตะวันตก ผลพวงสืบเนื่องมาจากการถูกแบนจากรัฐบาลสหรัฐฯ

Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Huawei กล่าวกับนิตยสาร The Economist เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า หัวเว่ยหวังที่จะช่วยโลกให้พัฒนา 5G ได้รวดเร็วขึ้นด้วยการขายสิทธิ์การเข้าถึงเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิต 5G ของบริษัท

“5G เป็นเทคโนโลยีเพื่อการเชื่อมต่อที่ให้ความเร็วสูง แบนด์วิดท์สูง และความหน่วงเวลา (Latency) ต่ำ เทคโนโลยี 5G เป็นตัวบ่งบอกถึงความเร็วของสังคมที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล  ประเทศที่มีความเร็วจะก้าวไปข้างหน้าได้เร็วกว่า”

“เราอยากช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศตะวันตก ดังนั้นเรากำลังคิดที่จะขายใบอนุญาตในการเข้าถึงเทคโนโลยี 5G ของเราทั้งหมดเพื่อช่วยให้กระบวนการพัฒนานี้ทำได้ง่ายขึ้น”

ด้วยการจ่ายค่าใบอนุญาตเพียงครั้งเดียว ผู้ซื้อจะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด อันได้แก่ สิทธิบัตร ใบอนุญาต โค้ด และบลูปรินท์ทางเทคนิคของ 5G ของบริษัท  โดยบริษัทที่ซื้อ 5G ของหัวเว่ยไปสามารถแก้ไขโค้ดเอง รวมถึงพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ของตัวเองได้โดยอาศัยเทคนิคการผลิตเทคโนโลยีที่ได้รับใบอนุญาตไป

“ความปรารถนาของเรา คือการให้บริการแก่มวลมนุษยชาติและไปให้ถึงจุดสุดยอดทางด้านวิทยาศาสตร์ การทำงานร่วมกันเป็นค่านิยมที่เรายึดมั่นมาตลอด เราจึงยินดีที่จะขายใบอนุญาตสำหรับอุปกรณ์ของเราให้แก่ประเทศตะวันตก” มร. เหริน กล่าว

“การส่งต่อเทคโนโลยี 5G ให้บริษัทอื่นไม่ได้แปลว่าเราจะหยุดพัฒนาเทคโนโลยีของเรา แต่หมายความว่าเงินก้อนที่เราได้จากการขายเทคโนโลยีจะช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ไกลขึ้น”

อีกทั้ง Ren Zhengfei ยังแสดงความมั่นใจในประสิทธิภาพของเทคโนโลยีขั้นกว่าอย่าง 6G ที่หัวเว่ยกำลังพัฒนาอยู่ “ผมคิดว่าหัวเว่ยจะเป็นผู้นำในการวิจัย 6G แต่เราคิดว่าการใช้งาน 6G ในเชิงพาณิชย์จะต้องใช้เวลาพัฒนาอีกอย่างน้อย 10 ปี”

ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยกล่าวว่าเทคโนโลยี 5G ไม่ควรถูกนำไปโยงกับการเมืองหรือถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อันตราย ประเทศต่าง ๆ ควรทำการตัดสินใจเกี่ยวกับ 5G โดยคำนึงถึงการพัฒนา มากกว่าวาระทางการเมือง “หากเราส่งต่อเทคโนโลยีของเราให้แก่สหรัฐฯ พวกเขาก็สามารถแก้ไขโค้ดเองได้ ไม่ว่าหัวเว่ยหรือใครก็ตามจะไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อีกต่อไป สหรัฐฯ จะได้มี 5G ที่เป็นอิสระ ความปลอดภัยจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปตราบเท่าที่สหรัฐฯ สามารถจัดการบริษัทของตนเองได้อย่างไร้ข้อบกพร่อง เช่นนั้นแล้ว มันก็จะไม่ใช่เรื่องเราขาย 5G ในสหรัฐฯ อีกต่อไป แต่สหรัฐฯ จะได้ขาย 5G ในประเทศของตนเอง”

“สำหรับหัวเว่ย ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัวเป็นสองสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุด หัวเว่ยมุ่งมั่นปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation: GDPR) ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ เรากำลังทุ่มงบมหาศาลไปกับการอัปเกรดเครือข่ายที่มีอยู่ พร้อม ๆ ไปกับสร้างเครือข่ายใหม่” Ren Zhengfei กล่าว

“ตลอดเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ให้บริการเครือข่ายครอบคลุมกว่า 170 ประเทศ รองรับผู้ใช้งานกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก เรามีสถิติด้านความปลอดภัยที่พิสูจน์ได้ และจริง ๆ แล้ว เราไม่เคยมีเหตุขัดข้องด้านความปลอดภัยครั้งใหญ่เลยแม้แต่ครั้งเดียว ผมคิดว่าผลงานที่ปรากฏอยู่จะเป็นตัวพิสูจน์เอง”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...