Huawei (หัวเว่ย) เปิดตัวโซลูชั่น Smart Airport 2.0 ในงาน CEBIT 2018 ครอบคลุมการใช้งานด้านต่างๆ เช่น กระบวนการปฏิบัติงานแบบ Visualized , ระบบความปลอดภัยแบบ Visualized Safety, บริการต่างๆ ด้วยภาพ (Visualized Services) และระบบ IoT ในสนามบิน ซึ่งประกอบด้วยแพลตฟอร์ม ICT อันล้ำสมัยครบวงจร ที่ทำงานประสานกันระหว่าง Cloud-Pipe-Device ช่วยลูกค้าเนรมิตสนามบินอัจฉริยะรองรับการใช้งานในอนาคต
เมื่อเทียบกับโซลูชั่น Smart Airport 1.0 ที่จัดการระบบภาคพื้นแบบ Visualized แล้ว โซลูชั่น Smart Airport 2.0 จะเน้นเรื่องการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีในกลุ่มวิดีโอเฝ้าระวังอัจฉริยะ, บิ๊กดาต้าและ AI และ IoT มากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ระบบธุรกิจแนวตั้งต่างๆ ในสนามบินสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ช่วยให้กระบวนการต่างๆ ในสนามบินมีความอัจฉริยะและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาของการตอบกลับด้านความปลอดภัย และมอบประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแก่ผู้โดยสาร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินพลเรือนทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งในแง่ของปริมาณผู้โดยสารและรายได้ของสายการบิน จากสถิติล่าสุดของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ความต้องการเดินทางสัญจรทางอากาศทั่วโลกในปี 2561 คาดว่าจะเติบโตราวร้อยละ 7.0 ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่พุ่งสูงถึง 4,360 ล้านคน ในปี 2561 กำไรสุทธิของสายการบินทั่วโลกจะมีมูลค่าราว 33,800 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางทางอากาศจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10.4 เป็น 794,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และอุตสาหกรรมการบินพลเรือนจะขยับขึ้นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก
รายงานหลายฉบับที่น่าเชื่อถือยังบ่งชี้ว่า การลงทุนด้าน ICT ของสนามบินทั่วโลกส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาด้านบริการผู้โดยสาร ความปลอดภัยในการเดินทาง การซื้อขายผ่านระบบโมบายล์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ สนามบินจึงต้องมีการพลิกโฉมด้านดิจิทัลสู่การดำเนินการและการพัฒนาเชิงอัจฉริยะ สำหรับศักยภาพการบริการและระบบ ICT สนามบินต่างๆ จะให้ความสำคัญมากขึ้นในด้านความต่อเนื่องของธุรกิจ ความน่าเชื่อถือ และความมั่นคง และเพื่อตอบโจทย์นี้ จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้าง ICT ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ รวมถึงโซลูชั่นที่สร้างสรรค์อย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ด้วยความกดดันในการดำเนินงาน ปัจจุบันสนามบินจึงต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น ปัญหาความปลอดภัยที่ซับซ้อน ทรัพยากรสำหรับปฏิบัติการที่มีอยู่จำกัด และความพึงพอใจของผู้โดยสารในระดับที่ต่ำ ผลก็คือ การสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างการเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านปริมาณการขนส่งทางอากาศและการขาดแคลนทรัพยากรที่รองรับการปฏิบัติการ ประกอบกับกระบวนการให้บริการที่ขาดความแม่นยำและความทันต่อเวลาในการปฏิบัติการ รวมถึงขาดการตรวจสอบทรัพยากรเพื่อสร้างความมั่นใจ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสาร การสั่งการผลิตและการจ่ายงานลดลง
นอกจากนี้ สนามบินต่างๆ ก็เต็มไปด้วยผู้ใช้บริการ แต่การบริหารด้านความปลอดภัยแบบเวอร์ชวลไลซ์ ในสนามบินและมาตรการด้านการควบคุมกลับซับซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ ศักยภาพด้านการตรวจจับ การวิเคราะห์ และการตอบรับทั่วสนามบินต้องได้รับการพัฒนาโดยเร็วที่สุด
ประสบการณ์ของผู้โดยสารเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับสนามบิน การสร้างสนามบินอัจฉริยะจึงต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าพึงพอใจ สะดวกสบายแบบครบวงจร สำหรับผู้โดยสาร ตั้งแต่วินาทีแรกที่ก้าวเข้ามาในสนามบินไปจนถึงการเช็คอิน โหลดกระเป๋า เช็คความปลอดภัย รอเที่ยวบิน การเปลี่ยนเครื่อง และการรับกระเป๋า
โซลูชั่น Smart Airport 2.0 ของหัวเว่ยที่เพิ่งเปิดตัวนี้ใช้เทคโนโลยี ICT ใหม่ล่าสุด เช่น การทำงานร่วมกันด้านดิจิทัล Cloud Computing เทคโนโลยี IoT และ Big Data เพื่อจัดโครงสร้างการถ่ายโอนข้อมูลของสนามบินใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์หลายอย่างกับสนามบินอัจฉริยะทั้งในด้านความมั่นใจด้านปลอดภัยเชิงปฏิบัติการ การเคลื่อนย้าย ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และคุณภาพของบริการสำหรับผู้โดยสารและองค์กรต่างๆ จากมุมมองด้านความปลอดภัยของอาคารผู้โดยสาร การบริหารลานจอดเครื่องบิน และประสบการณ์ของผู้โดยสาร โซลูชั่น Smart Airport 2.0 มีดีไซน์รองรับทุกรูปแบบสถานการณ์ ทุกขั้นตอนของการบินเข้าออกสนามบินของเครื่องบินและของผู้โดยสาร โซลูชั่นนี้ยังมอบประสบการณ์สำหรับผู้โดยสารด้วยระบบอัพเดทสถานการณ์ทั่วสนามบิน ฟังก์ชั่นความปลอดภัยอันทันสมัย และการทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาด
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด