เคล็ดลับเพิ่มขีดความสามารถของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกให้กับฝ่ายการเงิน | Techsauce

เคล็ดลับเพิ่มขีดความสามารถของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกให้กับฝ่ายการเงิน

การเงิน ถือเป็นส่วนสนับสนุนการทำงานที่สำคัญขององค์กรทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับไปจนถึงการตัดสินใจที่เด็ดขาดเพื่อกำหนดทิศทางและลำดับสิ่งสำคัญของธุรกิจในอนาคต ข้อมูลการเงินถือเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนและมีความสำคัญที่สุด โดยต้องมีความแม่นยำและเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลึกเพื่อแสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ รวมถึงการยกระดับความสำเร็จของผู้บริโภคและลูกค้าขององค์กร

อย่างไรก็ดี การสำรวจทั่วโลกที่มีเนื้อหาครอบคลุม  กับผู้บริหารการเงินระดับอาวุโสมากกว่า 700 รายในมหานครของโลก รวมถึงสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 1 ใน 3 ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยองค์กรขนาดใหญ่กว่า 59% ระบุว่า “ความยากลำบากในการคัดกรองข้อมูลจากแพลตฟอร์มที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม” ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการบรรลุถึงเป้าหมายด้านการวิเคราะห์ข้อมูล 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าบรรดาผู้บริหารการเงินต่างกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของธุรกิจและความต้องการข้อมูลการเงินแบบเรียลไทม์ ผลลัพธ์ก็คือ พวกเขามีโอกาสสูงที่จะได้รับข้อมูลที่แม่นยำแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า

บางคนกล่าวว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินขององค์กรมักโยนอำนาจการตัดสินใจเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน อย่างไรก็ดี กรณีการรายงานผลการเงินคลาดเคลื่อนขององค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงแรงกดดันที่มีต่อฝ่ายสนับสนุนการทำงานเชิงกลยุทธ์ ก่อให้เกิดความจำเป็นที่เร่งด่วนในการพิจารณาค้นหาแนวทางการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคุมและตรวจสอบข้อมูลของทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

การปลดล็อกโอกาสทางกลยุทธ์สำหรับฝ่ายการเงิน

นับตั้งแต่การคาดการณ์ระยะยาวไปจนถึงการรายงานผลระยะสั้น ทีมการเงินจะต้องสามารถประเมินความเสี่ยงในการลงทุนและการดำเนินธุรกิจอย่างสม่ำเสมอโดยปราศจากข้อผิดพลาด ทว่า ไม่มีใครต้องการมาทำงานโดยต้องเป็นกังวลกับติดตามข้อมูลทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา พวกเขาเพียงต้องการตอบคำถามให้ได้เท่านั้นแล้วผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินจะสามารถทำให้ชุดข้อมูลทำงานให้กับพวกเขามากขึ้นและเร็วขึ้นได้อย่างไร? 

เรื่องนี้มีสิ่งที่จำเป็น 2 ประการ 

1.    ทีมการเงินสมัยใหม่ของทุกองค์กรจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แบบอัตโนมัติและสร้างชุดข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินสามารถเปลี่ยนจากธุรกิจที่ต้องพึ่งพาตารางข้อมูลเพื่อรวบรวมและรายงานผล ไปสู่ธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสร้างการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมฝ่ายการทำงานทั้งหมดได้ในทันที ยกตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดและการขายในภูมิภาค โดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น ซึ่งนับเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการดำเนินธุรกิจของทีมงานทุกฝ่าย รวมถึงฝ่ายบริหารจัดการและการเข้าถึงข้อมูล และที่สำคัญคือธรรมเนียมปฏิบัติในเรื่องการตัดสินใจขององค์กรนั่นเอง

2.    วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน ซึ่งต้องมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการทางการเงินที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องสามารถตั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (Key Performance Indicators: KPI) รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านการมองเห็นและการบอกเล่า และแบ่งปันผลที่ได้รับกับเพื่อนร่วมงานผ่านทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น ไลน์ หรือ แมสเซนเจอร์ บนสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อป

ในการก้าวล้ำไปอีกขั้นเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ข้อมูลระดับธุรกิจ ฟีเจอร์การวิเคราะห์ยังต้องเชื่อมต่อกับการทำงานประจำวันของพนักงานและกลุ่มงานของพวกเขาได้ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลสามารถถูกส่งไปยังผู้ใช้แทนที่ผู้ใช้จะต้องเข้าหาข้อมูล ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ทันสมัยที่สุดถูกสร้างบนแพลตฟอร์ม Software-as-a-Service (SaaS) ของระบบคลาวด์และติดตั้งอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ซึ่งมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบของผู้ใช้แต่ละคน ดังนั้น มันจึงสามารถจัดรูปแบบข้อมูลและกระบวนการทำงานหลักให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล ซึ่งมอบการมองเห็นตัวชี้วัดสมรรถนะหลักสำหรับแต่ละบุคคลที่แม่นยำที่สุด โดยวัดจากของความจำเป็นของผู้ใช้งานข้อมูลแต่ละราย ทั้งยังสามารถกำหนดค่าเทรชโฮลด์ของมาตรวัดของแต่ละบุคคล สร้างปฏิบัติการสถานการณ์จำลอง และติดตามความก้าวหน้าสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

เนื่องจากหัวหน้าฝ่ายการเงินและทีมการเงินมีบทบาทเชิงกลยุทธ์มากขึ้นในการขับเคลื่อนการลงทุนกับเทคโนโลยีที่กำลังอุบัติขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มข้อมูลเชิงลึกและความฉับไวในการดำเนินงาน  รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับบุคลากรเหล่านี้ที่ต้องรับหน้าที่ในขั้นตอนทางธุรกิจและการตัดสินใจที่สำคัญในองค์กร พวกเขาจึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทันที พร้อมตัวชี้วัดสมรรถนะหลักบนวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุดซึ่งขับเคลื่อนโดยการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)  ที่สามารถมอบข้อมูลเชิงลึกล่วงหน้าและช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตามาตรวัดต่าง ๆ ที่พวกเขากำหนดไว้ได้ โดยสามารถเจาะลึกลงในรายละเอียด และตรวจสอบแนวโน้มและมาตรการต่าง ๆ และในท้ายที่สุด ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างฉลาดและฉับไว

การควบคุมกระแสดิจิทัลในอาเซียน

สำหรับภูมิภาคอาเซียนซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมทุกประเภท ผู้ปฏิบัติงานหลายฝ่ายรวมถึงหัวหน้าฝ่ายการเงินและหัวหน้าฝ่ายข้อมูลจำเป็นต้องติดตามและมีความรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรหลายรูปแบบที่ก้าวล้ำไปสู่ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่ดียิ่งขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในภาพรวม

ตัวอย่างหนึ่งของการปฏิบัติงานรูปแบบนี้ในอุตสาหกรรมการเงินคือ บริษัทเงินติดล้อ ผู้นำด้านธุรกรรมการเงินรายย่อยในประเทศไทย ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเป็นธรรมและโปร่งใสเพื่อการแก้ไขปัญหาทางการเงินของลูกค้า เมื่อธุรกิจของบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ บริษัทเงินติดล้อซึ่งใช้โซลูชั่นด้านการเงินสำหรับองค์กรของออราเคิลมาเป็นเวลานาน จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้โซลูชั่นการวางแผนทรัพยากรองค์กรบนระบบคลาวด์ของออราเคิล ซึ่งทำให้บริษัทมีฟีเจอร์การทำงานใหม่มากมายพร้อมความสามารถขั้นสูงในการบริหารจัดการข้อมูลที่สมบูรณ์แบบด้วยการทำงานบนแพลตฟอร์มเดียว จึงช่วยลดต้นทุนในภาพรวมได้อย่างชัดเจน

“หลังจากใช้โซลูชั่นด้านการเงินสำหรับองค์กรของออราเคิลมาเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบคลาวด์ถือเป็นขั้นตอนตามปกติที่เราต้องดำเนินในขั้นต่อไปเมื่อต้องการขยายธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น เราพร้อมใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรบนระบบคลาวด์ของออราเคิล เพื่อให้สามารถบริหารความต้องการทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น และขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินงานของเรา” เบอร์นาร์ด โซ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ  บริษัท เงินติดล้อ จำกัด

วิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดรูปแบบใหม่ซึ่งมีการเชื่อมต่อและสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามต้องการอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรอย่างชัดเจน เนื่องจากองค์กรจะมีศักยภาพในการเป็นองค์กรธุรกิจยุคใหม่ที่มีการปรับตัวและประสานความร่วมมือจากทุกแผนก ทั้งยังมีรูปแบบการดำเนินงานที่ฉับไวและทันต่อยุคสมัยแห่งอนาคต

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

เมื่อมองไปข้างหน้า โดยเฉพาะในด้านการผลิตและการบริโภคข้อมูลเชิงลึกที่สร้างขึ้นโดยระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถคาดการณ์ได้ถึงอัตราส่วนที่ลดลงของการทำงานโดยมนุษย์ในด้านการสร้างข้อมูลเชิงลึกและการเข้าถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ผู้ใช้ข้อมูลขั้นปลายในธุรกิจ เมื่อทีมงานฝ่ายการเงินสามารถปฏิบัติงานในส่วนนี้ด้วยระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวและใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ถือเป็นการปูทางแห่งการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความก้าวหน้าต่อไป

บทความโดย : ลารส์ เฟเอสต์ หัวหน้าฝ่ายแอปพลิเคชัน ออราเคิล ประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...