สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้วยความพร้อมในการให้คำปรึกษาและโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับพันธมิตรระดับโลก
iNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ โดยให้ความสำคัญ อย่างยิ่งกับการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัยให้ถูกนำไปสร้างเป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ในปัจจุบัน iNT มีเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ พร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ของตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ
บริการของ iNT ที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น
การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาและให้บริการด้านการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า พร้อมผลักดันและส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ Licensing Commercialization เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
การสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะธุรกิจ Startup : Entrepreneurial Ecosystem
ด้วยหลากหลายโครงการที่จะส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีแนวคิดในการเป็นเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Incubation Program บ่มเพาะ Startup โครงการ iNT Accelerate การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Technology) ผ่านกระบวนเร่งสปีดที่เรียกว่า Acceleration Program รวมไปถึงการให้บริการพื้นที่ Co-Working Space ภายใต้ชื่อ MaSHARES นอกจากนี้ทางสถาบัน iNT ยังมีการจัดหาทุนสนับสนุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม เพื่อนำทุนไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต อาทิ ทุน Innovation Fund เพื่อพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์, Youth Startup Fund, ทุน Talent Mobility ที่ให้อาจารย์นักวิจัยได้ไปทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรร
การเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ด้านบริการวิจัยและวิชาการ
โดยมีการจัดตั้งศูนย์ย่อยในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม คือ ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) เป็นศูนย์การในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม
โดย iNT มีพาร์ทเนอร์มากมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น และ หน่วยงานเอกชน อาทิเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, SCG เป็นต้น
เครือข่ายพาร์ทเนอร์เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบัน iNT สู่การเป็นศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนสนับสนุนต่อยอดนวัตกรรมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้าง Real World Impact สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมต่อไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด